การปรับตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรังสิตในสถานการณ์โควิด 19

ผู้แต่ง

  • ดวงทิพย์ เจริญรุกข์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การปรับตัว, นักศึกษาปริญญาตรี, COVID-19

บทคัดย่อ

        การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การปรับตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรังสิตในสถานการณ์โควิด 19 ผู้วิจัยได้กำหนดระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล (Questionnaire) ซึ่งการรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลเพียงครั้งเดียว (One-Short Descriptive Study) ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 ส่วนใหญ่ศึกษาอยู่คณะวิชาสายสังคมศาสตร์ และปกครองมีรายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 30,001 – 50,000 บาท นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรังสิต มีการปรับตัวในสถานการณ์โควิด 19 โดยรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.32 อยู่ในระดับปานกลาง โดยการปรับตัวด้านการเรียน Online ด้านอารมณ์ ด้านสังคม อยู่ในระดับปานกลาง มีเพียงด้านการเข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย อยู่ในระดับมาก

 

        การทดสอบความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรังสิต ระหว่างเพศ ชั้นปี และคณะวิชาที่กำลังศึกษา กับการปรับตัวในสถานการณ์โควิด19 ได้ว่า ลักษณะทางประชากร ด้านเพศ และคณะกับการปรับตัวในสถานการณ์โควิด19 ของนักศึกษาไม่แตกต่างกัน มีเพียงคุณลักษณะด้านชั้นปี ที่มีความแตกต่างกันในด้านสังคม เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างมีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ต้องมีการปรับตัวมากกว่าชั้นปีอื่นๆ โดยเฉพาะด้านสังคม ที่ส่วนใหญ่ต้องสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนในลักษณะการสื่อสารออนไลน์ อาจทำให้เกิดความกังวลในการสื่อสาร ความไม่คุ้นชิน เนื่องจาก เพื่อนๆ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มาจากหลากหลายพื้นที่

References

กนกวรรณ สภุาราญ. (2564). ทักษะครูกับการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ยุคใหม่. https://www.educathai.com/knowledge/articles/372.

กรรณิการ์ แสนสุภา และคณะ. (2563). การปรับตัวของนักศึกษาในสถานการณ์โควิด-19. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ ปริทรรศน์, 6(2), 83-97.

คณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา. (2563). รายงานการวิจัย เรื่อง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเร่งด่วนว่าด้วยการบริหารจัดการศึกษาในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เหมาะสมกับสังคมไทย. www.senate.go.th/assets/portals/132/fileups/241/files/รายงาน%20COVID-19%20เอกชน.pdf

จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2563). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์: วีถีที่เป็นไปทางการศึกษา (Online Learning Management: New Normal of Education).https://slc.mbu.ac.th/wp-content/uploads/2020/06/pd

ธเนศ อังคศิริสรรพ. (2564). การปรับตัวฝ่าวิกฤตของผู้เรียนและผู้สอน ใน ‘การเรียนออนไลน์’ ที่มีเทคโนโลยีเป็นสื่อกลาง https://www.salika.co/2021/09/15/lenovo-education-solution/

สุธิดา ขุนพิลึก และ จีระนันท์ กลิ่นถือศิล. (2550). การปรับตัวของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.งานวิจัยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. ผู้จัดการออนไลน์. คนไทยติดเชื้อติดเชื้อโควิด-19 ในไทยครั้งแรก. https://mgronline.com/infographic/detail/9640000002424

ภัทรานี ไพบูลย์. (2537). ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม กับการปรับตัวของหญิงตั้งครรภ์ ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์ ศึกษาเฉพาะกรณี โรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. th.wikipedia.org/wiki/โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา_2019

อวาทิพย์ แว. (2563). COVID-19 กับการเรียนรู้สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในวันนี้. วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา. 35 (1), 24-106.

The standard team. จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการศึกษาโลก . https://thestandard.co/the-important-change-of-world-education/

Tindall, R.H. (1959). Relationship Among Measures of Adjustment Reading in the Psychology Adjustment. New York : McGraw-Hill.

Rogers. (1967). Client-Centered Therapy. Boston Houghton Miffin.

Zamira H. (2020). The Impact of COVID-19 on higher education: A study of interaction among students’ mental health, attitudes toward online learning, study skills, and changes in students’ life. https://www.researchgate.net/publication/341599684

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-23