แนวทางการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานในรายวิชา RSU 111 สังคมธรรมาธิปไตย วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

ผู้แต่ง

  • ธิราภรณ์ กลิ่นสุคนธ์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน, สังคมธรรมาธิปไตย

บทคัดย่อ

        การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ในรายวิชา RSU 111 สังคมธรรมาธิปไตย ของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษากับผู้สอนประจำภาคการศึกษาที่ S/2564 จำนวนทั้งสิ้น 10 คน ใช้การสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ให้โครงงานเป็นฐานของการเรียนรู้ มีขั้นตอนของการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า

 

        1. ขั้นเตรียมความพร้อมโครงงาน พบว่า มีการเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน กล่าวคือ เน้นการเรียนรู้ร่วมกัน พิจารณาประเด็นสำหรับการทำโครงงานจากสถานการณ์ปัจจุบันและระดมสมองเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากนั้นชี้แจงแนวทางการจัดโครงงานภายใต้แนวคิด “Chang in Diversity Culture” เน้นความเป็นสังคมธรรมาธิปไตย และการสร้างสรรค์สื่อ

 

         2. ขั้นการศึกษาความเป็นไปได้ พบว่า ผู้สอนมีการศึกษาความเป็นไปได้ หาข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการจัดโครงงาน และให้ผู้เรียนได้ค้นคว้า เรียนรู้ และศึกษาความเป็นไปได้ในการทำโครงงาน และมีการกำหนดการทำงานร่วมให้กับผู้เรียน ทั้งนี้ผู้สอนมีหน้าที่สนับสนุนและแนะนำให้เป็นไปตามกรอบและทิศทางที่วางแผนไว้

 

        3. ขั้นการกำหนดหัวข้อและรายละเอียดต่าง ๆ พบว่า ผู้สอนมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้เรียน โดยทำหน้าที่กระตุ้นเพื่อให้ผู้เรียนแสดงศักยภาพ ทั้งนี้เมื่อกำหนดประเด็นได้แล้ว จะมอบหมายให้ไปค้นคว้าข้อมูลเชิงลึก นำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการทำโครงงาน โดยผู้สอนทำหน้าที่เป็นโค้ช และสอดแทรกแนวคิดต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนบูรณาการร่วมกับการดำเนินโครงงาน และให้มีอิสระในการคิดและการตัดสินใจในการทำงาน

 

        4. ขั้นการดำเนินงานโครงงานและสร้างสรรค์ชิ้นงาน พบว่า ผู้สอนให้ผู้เรียนได้ลงมือดำเนินโครงงานจากรายละเอียดที่ได้มีการเตรียมการมาตั้งแต่ต้น ซึ่งดำเนินการกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นชุมชนละแวกใกล้เคียงมหาวิทยาลัย ประชาชนในจังหวัดปทุมธานี หรือผู้เรียนและบุคลากรมหาวิทยาลัยรังสิต โดยประเด็นที่ผู้เรียนเลือกทำโครงงานมีความหลากหลายและมีการผลิตสื่อในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อประกอบกับการดำเนินโครงงาน

 

        5. ขั้นการสรุปสิ่งที่เรียนรู้และการนำเสนอ พบว่า การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในด้านทักษะต่าง ๆ โครงงานส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จทุกกลุ่มและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงงานที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งทำให้ผลงานที่ปรากฏดสะท้อนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

References

กิตติศักดิ์ ไตรพิพัฒพรชัย. (มปป.). การจัดการเรียนการสอน Project Based Learning ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป : RSU 101 ธรรมาธิปไตย. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.mua.go.th/users/he-commission/t-visit%20project/t-visit%20book%202/17--g2--10-1.pdf.

ชาตรี เกิดธรรม. (2547). เทคนิคการสอนแบบโครงงาน. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

ดุษฎี โยเหลา และ คณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน : จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพมหานคร : หจก. ทิพยวิสุทธิ์.

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2550). ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลัดดา ศิลาน้อย และอังคณา ตุงคะสมิต. (2556). ยกระดับครูสังคมศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ขอนแก่น : สาขาวิชาสังคมศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วรวุฒิ อ่อนน่วม. (2564). การจัดการเรียนการสอนรายวิชาสังคมธรรมาธิปไตย ปีการศึกษา 2564. สัมภาษณ์,

มิถุนายน 2564.

วิจารณ์ พานิช. (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น.

วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยาฬ. (2544). การพัฒนาการเรียนการสอนทางการอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยรังสิต. (2556). ปณิธานสังคมธรรมาธิปไตย มหาวิทยาลัยรังสิต. https://www2.rsu.ac.th/news/news-rsu101.

หวน พินธุพันธ์. (2555). การเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : ปฏิรูปการศึกษาที่สำคัญยิ่ง. https://www.gotoknow.org/posts/448354.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). คุณภาพผู้เรียน เกิดจากกระบวนการเรียนรู้. สระแก้ว : คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.

สมหมาย อ่ำดอนกลอย. (2556). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 7(1), 6-7.

สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2554). หลักการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนและการประเมินตามสภาพจริง. กรุงเทพมหานคร : ดวงกมลพับลิชชิ่ง.

สิทธิญา รัสสัยการ. (2551). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

อรรถญา พิกุลพารุ่งโรจน์. (2564). แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิทยาลัยนิเทศศาสตร์. สัมภาษณ์.

KM CHILD-PBL. (2015). Project-based Learning. (Online). Retrieved from http://www.vcharkarn.com/vcafe/202304. June 2021.

Tony Wagner. (2010). The global achievement gap: Why even our best schools don't teach the new survival skills our children need--and what we can do about it. http://www.amazon.com/The-Global-Achievement-GapNeed/dp/0465002307. January 2021.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-23