การสะท้อนสังคมในซีรีส์ Black Mirror และงานสร้างสรรค์บทภาพยนตร์เรื่อง“The Writer”

ผู้แต่ง

  • ปณตคุณ กิรณะวัฒน์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การสะท้อนสังคม, ซีรีส์, ภาษาภาพยนตร์

บทคัดย่อ

        การศึกษาเรื่อง “การสะท้อนสังคมในซีรีส์ Black Mirror”  มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) วิเคราะห์การสะท้อนสังคมที่ปรากฎในซีรีส์ Black Mirror และ 2) วิเคราะห์ภาษาภาพยนตร์ในซีรีส์ Black Mirror   โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่านการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis)  โดยมีแนวคิดสำคัญในการศึกษาดังนี้  1 ภาพยนตร์กับการสะท้อนสังคม 2โครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ 3 ภาษาภาพยนตร์ 4 สัญวิทยา  สำหรับซีรีส์ที่นำมาใช้ศึกษาประกอบด้วยซีรีส์เรื่อง Black Mirror จำนวน 5 ตอน ได้แก่ 1. Fifteen Million Merits (2011),  2. Nosedive (2016), 3. San Junipero (2016), 4. Arkangel (2017) และ 5. Black Museum (2017)  ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1 ซีรีส์เรื่อง Black Mirror สะท้อนปัญหาสังคมใน 4 มิติ ดังนี้ 1.1) ด้านเศรษฐกิจ 1.2) ด้านการเมือง 1.3) ด้านสังคม และ 1.4) ด้านสภาวะแวดล้อมเป็นพิษ 2 ซีรีส์เรื่อง Black Mirror มีการใช้ภาษาภาพยนตร์ในลักษณะดังนี้ 1.1) ระยะของภาพ พบระยะของภาพหลัก ๆ อยู่สองขนาดคือ ภาพระยะปานกลาง (Medium Shot) และภาพระยะใกล้ (Close-Up)  1.2) การเคลื่อนกล้อง เป็นการตั้งกล้องบนขาตั้ง และเคลื่อนกล้องในแนวราบ (Pan) หรือเคลื่อนกล้องในแนวดิ่ง (Tilt) เป็นหลัก 1.3) มุมกล้อง ใช้ภาพระดับสายตา (Eve-Level Shot) และภาพมุมสูง (High Angle) เป็นหลัก 1.4) การจัดแสง ใช้การจัดแสงในโทนมืดและโทนสว่าง 1.5) การตัดต่อและลำดับภาพ มีการใช้เทคนิคการตัดต่อและลำดับภาพโดยดำเนินเรื่องตามเวลาจริงในเรื่อง (Universal Time) 1.6) ฉากและสถานที่ มีความแตกต่างกันไปในแต่ละตอน 1.7) สัญญะ พบว่ามักจะสอดคล้องกับประเด็นสะท้อนสังคม และ 1.8) เสียง ประกอบด้วยเสียงพูด เสียงดนตรี และเสียงประกอบ

 

        จากผลการศึกษาก่อให้เกิดผลงานสร้างสรรค์บทภาพยนตร์เรื่อง “The Writer” โดยมีขั้นตอนการสร้างสรรค์ 4 ขั้นตอนสำคัญ คือ 1) วางแนวคิดหลักของเรื่อง 2) กำหนดรายละเอียดตัวละคร 3) เขียนโครงเรื่องขยาย 4) เขียนบทภาพยนตร์

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2545). สื่อสารมวลชน ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ศาลาแดง.

กาญจนา แก้วเทพ. (2552). การสังเคราะห์องค์ความรู้เรื่องการใช้และการเสริมความเข้มแข็งแก่การสื่อสารเพื่อการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คมชัดลึก. (2553). มองละครสะท้อนสังคม. https://www.komchadluek.net/entertainment/67960

จิรภัทร บุณยะกาญจน. (2562). Black Mirror Striking Vipers: การสร้างสวนอีเดนแห่งใหม่ในนามของโลกเสมือนจริง. https://themomentum.co/black-mirror-striking-vipers/

นริสรา เติมชัยธนโชติ. (2561). การสะท้อนสังคมไทยที่ปรากฏในภาพยนตร์ไทยร่วมสมัยรางวัลสุพรรณหงส์ พ.ศ. 2550-2559. การประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับ บัณฑิตศึกษาครั้งที่ 13 ปีการศึกษา 2561.

ภัทราวดี เสนา. (2564). การเล่าเรื่องและการสะท้อนสังคมในภาพยนตร์ไทยที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ พ.ศ. 2553 – 2562. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ 25(1), 110-128

ไรวินทร์ ทันอินทรอาจ. (2561). การสะท้อนปัญหาสังคมผ่านภาพยนตร์ของ บง จุนโฮ. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต].

วรพล พรหมิกบุตร. (2534). การสื่อสารสัญลักษณ์: ธรรมชาติ พัฒนาการ ผลกระทบ. กรุงเทพฯ: อาร์ตไลน์.

สมภพ เพ็ญจันทร์. (2534). บทบาทในการอนุรักษ์ และพัฒนานาฏศิลป์พื้นบ้าน ของอาจารย์ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Monaco, James. (1981). How to Read Film : The Art Technology, Language, History and Theory of Film and Media. Revised Edition. New York : Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-23