การสื่อสารเพื่อรื้อฟื้นและสืบทอดวัฒนธรรมไทยอง ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
การสื่อสาร, การรื้อฟื้นและสืบทอดวัฒนธรรม, วัฒนธรรมไทยอง, การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
การวิจัยการสื่อสารเพื่อรื้อฟื้นและสืบทอดวัฒนธรรมไทยอง ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสถานภาพของวัฒนธรรมไทยองใน ตำบลมะกอก ช่วงก่อน และหลัง การรื้อฟื้นและสืบทอดวัฒนธรรมไทยอง 2) เพื่อศึกษาการสื่อสารในการรื้อฟื้นและสืบทอดวัฒนธรรมไทยองใน ตำบลมะกอก และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการรื้อฟื้น และสืบทอดวัฒนธรรมไทยองใน ตำบลมะกอก งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) เป็นกลไกในการดำเนินงาน ร่วมกับการใช้กระบวนการ และเครื่องมือบางส่วนของ “งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” (Community Based Research : CBR) ในการวิจัย โดยศึกษาผ่านประเด็นที่ชุมชนเลือกคือ “การห้อยโคมยี่ปิง” ของคนไทยอง บ้านมะกอก
ผลการวิจัยพบว่าสถานภาพของวัฒนธรรมไทยองประเด็น “การห้อยโคมยี่ปิง” ช่วงก่อนการวิจัยอยู่ในสภาพ “กำลังพิการหรือกำลังบกพร่อง” และคาบเกี่ยวกับ “ใกล้สูญหาย” กลยุทธ์ที่ทำคือ “ฟื้นฟูหรือรื้อฟื้นประเพณีนี้” โดย ค้นหาคุณค่าและความหมาย ฝึกทำโคม สื่อสารคุณค่าและความหมายของวัฒนธรรมแก่คนในชุมชนได้รับรู้และเข้าใจ หลังกระบวนการวิจัยพบว่า ในหมู่บ้านมีคนทำโคมเป็น 11 คน และสามารถทำขายได้ และเข้าใจความหมายของวัฒนธรรมมากขึ้น ทำให้สถานภาพของวัฒนธรรมขยับเป็น “ดำรงอยู่อยู่แบบเดิมไม่ได้” ต้องปรับประยุกต์ให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยและสืบทอดโดยการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง
การสื่อสารเพื่อรื้อฟื้นและสืบทอดวัฒนธรรมไทยองในประเด็น “การห้อยโคมยี่ปิง” พบว่าต้องใช้กลยุทธ์ “อนุรักษ์/รื้อฟื้น/ฟื้นฟู” โดยการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วม คือ 1) ร่วมกันสืบค้นข้อมูลคุณค่าและความหมาย 2) ร่วมผลิตสื่อโดยเป็นผู้แสดงในสื่อนั้น 3) ร่วมตรวจสอบเนื้อหาและรูปแบบสื่อ 4) ร่วมวางเผยการเผยแพร่และเลือกสื่อในชุมชนให้เหมาะสม
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรื้อฟื้นและสืบทอดวัฒนธรรมไทยอง ได้แก่ 1) ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเกิดการรื้อฟื้นและสืบทอดวัฒนธรรมไทยอง คือ 1.1) ปัจจัยในกระบวนการสื่อสาร 1.2) ปัจจัยนอกมิติการสื่อสาร ได้แก่ “บริบทชุมชน” คือ ผู้นำชุมชน และ การสื่อสารภายในชุมชน อีกทั้งมี “ต้นทุนทางวัฒนธรรม” ที่เป็นทุนบุคคล รวมถึง “การเมืองและนโยบายท่องเที่ยวภาครัฐ” และ “เทคโนโลยีการสื่อสาร” ซึ่งปัจจัยด้านเทคโนโลยีทางการสื่อสารเป็นทั้งปัจจัยด้านบวกและด้านลบ อีกทั้งมีปัจจัยทางด้านศึกษาด้วย 2) ปัจจัยด้านศักยภาพการต่อสู้ของวัฒนธรรม เนื่องจาก “โคมเป็นสื่อวัตถุ” ต้องขับเคลื่อนด้วยคนที่เข้าใจ จึงต้องสร้างศักยภาพ ความรู้ความเข้าใจ รวมถึงศักยภาพการสื่อสาร ให้แก่ “คนในชุมชน” ให้เกิดการถ่ายทอดไปยังคนรุ่นหลังได้
อีกประการหนึ่งคือ “ความยาก-ง่าย” ของวัฒนธรรม
นอกจากนี้ยังพบว่า ในกระบวนการวิจัยมี “นวัตกรรมทางสังคม” เกิดในชุมชนบ้านมะกอก 3 รูปแบบ คือ 1) นวัตกรรมกระบวนการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาภายในชุมชน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นกลไกในการขับเคลื่อน ประสานกับการใช้กระบวนการและเครื่องมือการเก็บรวมรวมข้อมูลของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น 2) นวัตกรรมการสร้างการเรียนรู้กระบวนการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมภายในชุมชน และ 3) นวัตกรรมการสร้างสรรค์เส้นทางการเรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ด้วยการกระบวนการวิจัยอย่างมีส่วนร่วมของคนในชุมชนบ้านมะกอก
References
กาญจนา แก้วเทพ, กำจร หยุยยะพงศ์, รุจิรา สุภาษา และวีระพงษ์ พลนิกรกิจ. (2542). รายงานการวิจัยเพื่อประมวลองค์ความรู้ เรื่อง ระบบการสื่อสารเพื่อชุมชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
กาญจนา แก้วเทพ. (2549). ยึดหลักปักแน่นกับงานสื่อพื้นบ้านสื่อสารสุขภาวะ. โครงการสื่อพื้นบ้านสื่อสารสุข (สพส.). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กาญจนา แก้วเทพ, พระณรงค์ฤทธิ์ ขตติโย, กนก กาคำ, สุวัฒน์ ญาณะโค และขนิษฐา นิลผึ้ง. (2551). การจัดการความรู้เบื้องต้นเรื่อง "การสื่อสารชุมชน." สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน. (2553). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับการสื่อสารศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
กาญจนา แก้วเทพ, สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ และทิพย์พธู กฤษสุนทร. (2554). สื่อพื้นบ้านศึกษาในสายตานิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
กุลธิดา อู่บูรณกุล. (2555). กระบวนการสื่อสารเพื่อสืบทอดประเพณีถือศีลกินผัก จ. ภูเก็ต. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย].
ทองคำ จอมขันเงิน. (2558, 8 พฤษภาคม). รองประธานสภาพวัฒนธรรมตำบลมะกอก. การสัมภาษณ์.
ทิพย์พธู กฤษสุนทร. (2552). การวิเคราะห์การปรับตัวของสื่อพื้นบ้าน: ศึกษากรณีเพลงโคราช จ.นครราชสีมา. วารสารนิเทศศาสตร์, ปีที่ 28 : (1), 453-461.
เทศบาลตำบลมะกอก. (2558). ข้อมูลสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง เทศบาลตำบลมะกอก ณ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558.
ปาริชาต สถาปิตานนท์ สโรบล. (2542). การสื่อสาร : กลไกสำคัญในการก้าวสู่ประชาสังคมในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สาขาวิชานิเทศศาสตร์พัฒนาการ ภาควิชาการประชาสัมพันธ์, คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัตนาพร เศรษฐกุล. (2537). การคงอยู่และการปรับเปลี่ยนทางสังคม และวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไท: กรณีศึกษาหมู่บ้านยอง ตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
สถาบันวิจัยสังคม. ไทยอง ชีวิต ศรัทธา สล่าแผ่นดิน. (2551). เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
แสวง มาละแซม. (2544). คนยองย้ายแผ่นดิน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2.).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อภินันท์ ธรรมเสนา (2553) . การประกอบสร้างอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของกลุ่มคนยองในจังหวัดลำพูน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.