การสร้างสรรค์เนื้อหาตลกขบขันเพื่อการเล่าเรื่องแบรนด์ในเพจ “พี่เอ็ด 7 วิ”

ผู้แต่ง

  • กฤษณีกร เจริญกุศล วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ตลกขบขัน, การสร้างสรรค์เนื้อหา, กลวิธีทางภาษา, การเล่าเรื่องแบรนด์

บทคัดย่อ

        บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเนื้อหาตลกขบขัน และ 2) ศึกษากลวิธีการสร้างเนื้อหาตลกขบขันที่ใช้ในการเล่าเรื่องแบรนด์ผู้สนับสนุนในเพจ “พี่เอ็ด 7 วิ”เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพในการวิเคราะห์ตัวบทที่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงตามประเด็นวิจัย โดยการเก็บข้อมูลประเภทวิดีโอที่มีการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับแบรนด์ผู้สนับสนุนในเพจ "พี่เอ็ด 7 วิ” ตั้งแต่วันแรกของการเผยแพร่เนื้อหาของเพจ วันที่ 7 เมษายน 2560 จนถึงวันที่ 7 เมษายน 2565 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 194 คลิป

 

        ผลการศึกษาพบว่า เพจ “พี่เอ็ด 7 วิ” มีการสร้างเนื้อหาตลกขบขันในการเล่าเรื่องแบรนด์ 4 ลักษณะ ประกอบไปด้วย การสร้างเนื้อหาตลกขบขันเพื่อให้ข้อมูล เพื่อสร้างการรับรู้ เพื่อสร้างความสัมพันธ์และเพื่อสร้างอิทธิพลต่อพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย ส่วนกลวิธีการสร้างสรรค์เนื้อหาตลกขบขันเพื่อเล่าเรื่องแบรนด์ผู้สนับสนุนพบ 7 รูปแบบได้แก่ การใช้กลวิธีการแต่งกลอนคำคล้องจอง การแต่ง Rhyme การเล่นคำ การเลียนแบบ การสร้างเรื่องเกินจริง การ Cover เพลงดังและการแต่งเพลงใหม่เพื่อนำเสนอแบรนด์ผู้สนับสนุน

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2544). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : เอดิสันเพรสโพรดักส์.

กรชนก ชิดไชยสุวรรณ. (2550). ภาพที่มีอิทธิพลโน้มน้าวใจในงานโฆษณาสำหรับเด็กอายุ 9-14 ปี วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กันยารัตน์ มะแสงสม (2562). กลวิธีการสร้างอารมณ์ขันในการให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพในเพจหมอแล็บแพนด้า. ภูพานสาส์นวารสาร ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 : กรกฎาคม-ธันวาคม. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เกษศิรินทร์ ศรีวราพิพัฒน์กุล. (2554). อารมณ์ขันยุคไฮเท็ค: กรณีศึกษารูปแบบการนำเสนอมุกตลกแนวใหม่ในเรื่องขำขันผ่านทางด้านเนื้อหาและการใช้ภาษาในเว็บไซด์. วิทยานิพนธ์ ปริญญามนุษยศาสตรบัณฑิต. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิตยา พ่วงดี. (2557). ประสบการณ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการใช้อารมณ์ขันเพื่อการจัดการสถานการณ์ตึงเครียดในหอผู้ป่วย. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปวริส มินา. (2561). กลวิธีการสร้างสรรค์ความตลกในรายการโทรทัศน์ไทย. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย ภาควิชานาฏยศิลป์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปองปรารถน์ สุนทรเภสัช. (2563). การสื่อสารอารมณ์ที่สะท้อนการเลือกปฏิบัติในสังคมไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ราชภัฏลำปาง ปีที่ 38 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน 2563.

ภาวดี สายสุวรรณ (2553). ค่านิยมที่สะท้อนในมุขตลกในการ์ตูนช่องของไทย. ดำรงวิชาการ 9(2) : 135-163.

วรรณนิภา วงค์ปัญญา.(2558). มิติบริบทในการกระตุ้นอารมณ์ขันในการแสดงตลกเดี่ยว. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร คณะศิลปะศาสตรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์และคณะ. (2542). จินตทัศน์ทางสังคมในภาษาสื่อมวลชน. กรุงเทพมหานคร : โครงการสื่อสันติภาพ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุมาภรณ์ สังขมาน. (2559). กลวิธีทางภาษาในวัจนกรรมเสียดสีเพื่อสร้างความตลกขบขันของไทย. วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2559). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Alden, D. L., Hoyer, W. D., & Lee, C. (1993). Identifying global and culture-specific dimensions of humor in advertising: A multinational analysis. Journal of Marketing, 57(2), 64–75. https://doi.org/10.2307/1252027

Baldwin, H. (1989). How to create effective TV. Commercials (2nd ed.). Lincolnwood, IL : NTC Business Book.

Keller, K,L. (2013). Strategic brand management : Building, measuring and managing brand equity (4th ed.). Horlow, UK : Pearson Education.

Martin, R., and Ford, T. (2008). The Psychology of Humor : An integrative pproach. Burlington, Ma : Elsevier Academic Press.

Norrick, N.R. (2000). Conversational Narrative. USA : John Benjamins Publishing Company.

Norrick, N.R. (2003). Issues in conversational joking. Journal of Pragmatics, 35, 1333-1359.

Thiher, A.Words in Reflection (1985). Modern Language Theory and Postmodernist Fiction. Chicago&London : U.Chicago Press,.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28