การสร้างความจริง แก่นคุณค่าข่าว และอุดมการณ์ ผ่านการรายงานข่าวกีฬาโอลิมปิกเกมส์ในหนังสือพิมพ์ไทย

ผู้แต่ง

  • นฤนาถ ไกรนรา นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชานิเทศศาสตร์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • กฤษณ์ ทองเลิศ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การสร้างความจริงทางสังคม, อุดมการณ์, แก่นคุณค่าข่าว, โอลิมปิกเกมส์, หนังสือพิมพ์

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างความจริงทางสังคม แก่นคุณค่าข่าวและวิธีการประกอบสร้างความหมาย อุดมการณ์และปฏิบัติการทางสังคมและวัฒนธรรมในการรายงานข่าวกีฬาโอลิมปิกเกมส์ในหนังสือพิมพ์ไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ภาพข่าว คำบรรยายภาพ และพาดหัวข่าว จากหนังสือพิมพ์และเว็บไซต์ของไทยรัฐ เดลินิวส์ และข่าวสด และการสัมภาษณ์เชิงลึกหัวหน้าข่าว ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการสร้างความจริงทางสังคม ประกอบด้วย กรอบการทำงานด้านข่าวในการคัดเลือกประเด็น กรอบความคิดส่วนบุคคลในการคำนึงถึงจริยธรรมวิชาชีพ กรอบนโยบายของสถาบัน และกรอบความคิดทางสังคมและวัฒนธรรม 2) แก่นคุณค่าข่าว ประกอบด้วย การเชิดชูวีรบุรุษ ความภูมิใจในชนชาติ ความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ความเชื่อและความศรัทธาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สัมพันธภาพในครอบครัว อัตลักษณ์ความเป็นชาย อัตลักษณ์ความเป็นหญิง และการอุปถัมภ์ค้ำชู มีวิธีการประกอบสร้างความหมาย ประกอบด้วย ความหมายแบบคู่ตรงข้าม สัมพันธบท นามนัย อุปลักษณ์ การใช้สัญลักษณ์สี ภาษาภาพเชิงเทคนิค และโวหารภาพพจน์แบบอติพจน์ และ 3) อุดมการณ์และปฏิบัติการทางสังคมและวัฒนธรรม ประกอบด้วย ชาตินิยม ประชาธิปไตย ทุนนิยม ศักดินา ศาสนาและความศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ความสมานฉันท์ในครอบครัว และคุณค่าของเรือนร่างในฐานะทุนทางวัฒนธรรม

References

กฤษณ์ ทองเลิศ. (2559). แก่นคุณค่าข่าวในการรายงานข่าวออนไลน์การค้นพบโบราณวัตถุทองคำ “สุวรรณลิงคะ” จ.นครศรีธรรมราช. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 19(3), 90-101.

ชญานิศวร์ กุลรัตนมณีพร และคณะ. (2555). รายงานการวิจัยเรื่องการเสริมสร้างค่านิยม: การทบทวนองค์ความรู้และแนวทางการวิจัยด้านค่านิยมไทยในอนาคต. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.

ธีรยุทธ บุญมี. (2547). ชาตินิยมและหลังชาตินิยม (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สายธาร.

ฤทธิณัณฑ์ เชื้อทอง, และรุจิระ โรจนประภายนต์. (2559). ค่านิยม อุดมการณ์ และรูปแบบการสื่อสารที่แสดงถึงลักษณะทางวัฒนธรรมของคนไทย. วารสารนิด้าภาษาและการสื่อสาร, 21(29), 110-143.

สมสุข หินวิมาน. (2535). แนวทางการวิเคราะห์ความหมายและอุดมการณ์ในงานสื่อมวลชน. นิเทศศาสตรปริทัศน์, 1(1), 45-55.

สรพงษ์ วงศ์ธีระธรณ์. (2554). การสร้างความหมายทางสังคมผ่านการรายงานข่าวอุทกภัย พ.ศ. 2554 ในหนังสือพิมพ์ไทย (Unpublished Doctoral dissertation). มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี.

สายชล สัตยานุรักษ์. (2551, ธันวาคม). ชาตินิยม วัฒนธรรมและความขัดแย้ง. การประชุมวิชาการชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน. เชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อภิภู กิติกำธร. (2562). การกำหนดวาระข่าวสารในบริบทสื่อดิจิทัล: สถานภาพองค์ความรู้และทิศทางงานวิจัยในอนาคต. วารสารการสื่อสารมวลชน, 7(1), 99-132.

อัลธูแซร์, หลุยส์. (2557). อุดมการและกลไกทางอุดมการของรัฐ [Ideology and ideological state apparatuses] (พิมพ์ครั้งที่ 2) (กาญจนา แก้วเทพ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: เท็กซ์.

Anderson, B. (2006). Imagined communities: Reflections on the origin and spread of nationalism (3rded.). London: Verso.

Billings, A.C., Brown, K.A., & Brown, N. A. (2013). 5,535 Hours of Impact: Effects of Olympic Media on Nationalism Attitudes. Journal of Broadcasting & Electronic Media, 57(4), 579-595.

Fairclough, N. (1989). Language and power. London: Longman.

Fairclough, N. (1995). Critical discourse analysis: The critical study of language. London: Longman.

Garnham, Nicholas. 1979. Contribution to a Political Economy of Mass Communication. Media, Culture & Society 1 (2): 123-146.

Gilchrist, P. (2005). Local heroes and global stars. In L. Allison (Ed.), The Global Politics of Sport (pp.118-139). London: Routledge.

Hall, S. (1977). Culture, the media and the ideological effect. In J. Curran, M. Gurevitch, & J. Woollacott (Eds.), Mass communication and Society (pp. 315-348). London: Edward Arnold.

Hannerz, U. (1990). Cosmopolitans and locals in world culture. Theory, culture and Society, 7(2-3), 237-251.

International Olympic Committee. (2013). Olympic Charter. Lausanne: DidWeDo S.a.r.l.

Ramon, X. and Miragaya, A. (2016). Olympic Idea nowadays: unravelling major themes and approaches from selected Olympic scholars. In D. Chatziefstathiou, X. Ramon, & A. Miragaya (Eds.), Olympic Idea Nowadays: perceptions and insights. Retrieved from https://ceo.uab.cat/en/b/olympic-idea-nowadays/

Scheufele, D. (1999). Framing as a theory of media effects. Journal of Communication, 49(1), 103-122. doi:10.1111/j.1460-2466.1999.tb02784.x

Van Dijk, T. A. (2000b). New(s) racism: A discourse analytical approach. In S. Cottle (Ed.), Ethnic Minorities and the Media (pp. 211-226). Milton Keynes: Open University Press.

Whannel, G. (1992). Field in vision: Television sport and cultural transformation. London: Routledge.

Woods, R. B. (2011). Social issues in sport (2nded.). Illinois: Human Kinetics.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28