การสื่อสารภาพลักษณ์เชิงวัฒนธรรม และปัจจัยการมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
การสื่อสารภาพลักษณ์, ปัจจัยการมีส่วนร่วม, การส่งเสริมการท่องเที่ยวบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการสื่อสารภาพลักษณ์เชิงวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้สัมภาษณ์ที่มีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับการสื่อสารภาพลักษณ์ ผู้ที่มีส่วนร่วมต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนท่าฉลอม โดยแบ่งกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ตัวแทนชุมชนท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 1 คน ตัวแทนภาคประชาชน จำนวน 2 คน และตัวแทนหน่วยราชการ ที่ส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวชุมชนท่าฉลอม จำนวน 2 คน รวมผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์ มีจำนวน 5 คน
ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารภาพลักษณ์เชิงวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร คือ การนำเสนอภาพลักษณ์ที่โดดเด่นของชุมชนท่าฉลอม 5 ด้าน ประกอบไปด้วย 1) ภาพลักษณ์ด้านสถาปัตยกรรม 2) ภาพลักษณ์ด้านศิลปกรรม 3) ภาพลักษณ์ด้านศาสนา 4) ภาพลักษณ์ด้านวัฒนธรรมและประเพณี 5) ภาพลักษณ์วิถีชีวิตชุมชน ผ่านการสื่อสารแบบปากต่อปาก (Word – of – mouth) ของผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชน และสื่อมวลชนผ่านช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายรูปแบบ ส่วนปัจจัยส่งเสริมการมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องของชุมชนท่าฉลอม ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมและการสร้างเป้าหมายของชุมชน 2) การกำหนดนโยบายร่วมกันของกลุ่มผู้นำและคนในชุมชน 3) ระบบการจัดการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
References
ธัญย์ชนก ช่างเรือ (2561). การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน : ชุมชนท่าพรุ - อ่าวท่าเลน จังหวัดกระบี่
ประชาชาติธุรกิจ. (2561). ททท.ติดสปีด "เมืองรอง" ดัน "รายได้" โตกระจายทั่วประเทศ. ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นจาก https:/www.prachachat.net/tourism/news-263966
อภิชญา สุขประเสริฐ. (2563). การสื่อสารภาพลักษณ์และการมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนริมน้ำจันทบูร จังหวัดจันทบุรี. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต.