แนวทางการพัฒนาการสื่อสารยุคการหลอมรวมสื่อเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบเศรษฐกิจดิจิทัลของจังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • ประพจน์ ณ บางช้าง วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วิโรจน์ ศรีหิรัญ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การสื่อสาร, การท่องเที่ยว, สมุทรสงคราม, การหลอมรวมสื่อ, เศรษฐกิจดิจิทัล

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของแนวทางการพัฒนาการสื่อสารยุคการหลอมรวมสื่อเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบเศรษฐกิจดิจิทัลของจังหวัดสมุทรสงคราม โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงเจาะลึกกับกลุ่มตัวอย่างประชาชนสมุทรสงคราม ตัวแทนหรือแกนนำชุมชน นักท่องเที่ยว นักวิชาการสื่อสารและการท่องเที่ยว รวมจำนวน 50 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การตีความเพื่อนำเสนอในลักษณะของการบรรยายเชิงพรรณนาหรือพรรณนาวิเคราะห์

 

     ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มองว่าลักษณะทั่วไปของแนวทางฯ ควรเน้นการสื่อสารเกี่ยวกับการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทางการท่องเที่ยว ทั้งแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ กิจกรรมการท่องเที่ยวใหม่ๆ เพื่อตอบสนองตลาดนักท่องเที่ยวใหม่ และสามารถเสนอผลิตภัณฑ์ได้อย่างรวดเร็วก่อนคู่แข่งขัน  ส่วนลักษณะเฉพาะของแนวทางฯ ควรเน้นการบูรณาการการสื่อสารทุกสื่อทุกแพลตฟอร์มที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้การท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสงครามอย่างเป็นรูปธรรม โดยการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวทุกเดือนตลอดปี เน้นการเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว เน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการท่องเที่ยว เปลี่ยนจาก“จังหวัดเล็กคนน้อย เป็นจังหวัดคุณภาพคนเที่ยวมาก”

References

กิตติมา สุรสนธิ.(2557). ความรู้ทางการสื่อสาร. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักส์.

ณิชมน ภมร และพัชรี ตันติวิภาวิน.(2564).การจัดการแหล่งชุมชนเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสถึงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม: กรณีศึกษาชุมชนท้องถิ่นตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. ใน วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยรังสิต ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2564.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา (2548).การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เพรสแอนด์ ดีไซด์.

ปนัสยา สิระรุ่งโรจน์กนก.(2559).พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยว กรณีศึกษา: ตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. [ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].

สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์.(2558). การพัฒนาการสื่อสารภาพลักษณ์และตราสินค้าแหล่งท่องเที่ยว อำเภอบางคนทีจังหวัดสมุทรสงคราม บนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน. รายงานการวิจ้ย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.).

สุทธิชัย หยุ่น.(2555). 15 ปี สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ยุคสื่อหลอมรวม. กรุงเทพฯ : สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ.

สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล และจักรกฤษ เพิ่มพูล,บรรณาธิการ.(2557).หลักและแนวคิดวารสารศาสตร์คอนเวอร์เจนซ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร.(2556). ทฤษฎีการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: ระเบียงทอง.

Gale,R.(2005).Sustainable Tourism: The Environmental Dimensions of Trade Liberalization in China. D. Shrubsole and N. Watson (Eds.), Sustaining Our Futures : Perspectives on Environment, Economy and SocietyUniversity of Waterloo , Waterloo, Ontario.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31