อินโฟกราฟิกกับองค์ประกอบศิลป์ที่ส่งผลต่อการรับรู้ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ผู้แต่ง

  • สุวิมล อาภาผล วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

อินโฟกราฟิก, องค์ประกอบพื้นฐานทางศิลปะ, การจัดองค์ประกอบศิลป์

บทคัดย่อ

        การวิจัยเรื่อง อินโฟกราฟิกกับองค์ประกอบศิลป์ที่ส่งผลต่อการรับรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบศิลป์ของสื่ออินโฟกราฟิกมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และเพื่อศึกษาองค์ประกอบศิลป์ของสื่ออินโฟกราฟิกที่ส่งผลต่อการรับรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาแขนงวิชาวิทยุโทรทัศน์ ชั้นปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2/2562 โดยมีจำนวนประชากรทั้งหมด 72 คน ซึ่งผู้วิจัยจึงกำหนดให้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ จำนวนประชากรทั้งหมด โดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย

 

        ผลการวิจัยพบว่า

 

        1. ผลจากศึกษาองค์ประกอบศิลป์ของสื่ออินโฟกราฟิกมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารตามกรอบแนวคิดของเรื่องราวที่มีเนื้อหาจำนวนมาก และทำการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของภาพกราฟิกเพื่อให้สามารถสื่อสารกับผู้รับสารให้เข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว โดยการใช้องค์ประกอบพื้นฐานทางศิลปะ (Elements of Art) โดยมีการใช้เส้นตรงแนวระนาบ (Horizontal Line) เส้นตรงแนวตั้ง (Vertical Line) เส้นตรงแนวเฉียง (Diagonal Line) การจัดวางน้ำหนักกระจายทั่วทั้งภาพให้เป็นเอกภาพ การใช้แสงเงาทำให้ภาพมีมิติ การใช้สีวรรณะร้อน เน้นความอ่อน-แก่ของสี และการใช้สีแบบสมดุลรูปสามเหลี่ยม (Triadic Colors) เพื่อดึงดูดสายตา การใช้ตัวอักษรเพื่อบอกเล่าเรื่องราวและขั้นตอนต่าง ๆ การใช้จุดนำสายตาเพื่อเน้นการสร้างภาพและการเล่าเรื่อง รวมถึงการถ่วงน้ำหนักขององค์ประกอบส่วนต่าง ๆ ให้มีความสมดุล ด้วยการจัดวางตำแหน่งที่ตั้งภาพและกราฟิกจนเกิดเป็นเอกภาพเดียวกัน

 

        2. ผลจากศึกษาองค์ประกอบศิลป์ของสื่ออินโฟกราฟิกที่ส่งผลต่อการรับรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยภาพรวมในแต่ละด้านมีระดับการรับรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ( XBar = 4.53, S.D.= 0.59) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หัวข้อด้านเนื้อหามีระดับการรับรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ( XBar = 4.59, S.D. = 0.53) รองลงมาคือหัวข้อด้านการจัดองค์ประกอบศิลป์มีระดับการรับรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ( XBar = 4.37, S.D.= 0.72) และหัวข้อด้านการรับรู้มีระดับการรับรู้อยู่ในระดับมาก ( XBar = 4.12, S.D.= 0.97) ตามลำดับ

References

กุลนิดา เหลือบจำเริญ. (2556). องค์ประกอบศิลป์. สำนักพิมพ์สกายบุ๊กส์.

จุติพงศ์ ภูสุมาศ. (2560). Principles infographic. สำนักพิมพ์ไอดีซี พรีเมียร์.

บล็อก โอแจ๊สซี. 2557. ทำไม Infographies จึงเป็นอนาคตของ Online Marketing. Tumblr. http://ojazzy.tumblr.com/tagged.

วัฒนาพร เขื่อนสุวรรณ. (2547). หลักการทัศนศิลป์. Watkadarin. http://watkadarin.com/E-(new)1/index.htm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31