การจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลที่แสดงผลบนมาตรวัดเพื่อประสบการณ์การขับขี่รถยนต์ไฟฟ้า ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ภูมิ ทิพย์อาภากุล ภาควิชาออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วัฒนพันธุ์ ครุฑะเสน ภาควิชาออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

รถยนต์ไฟฟ้า, การลำดับข้อมูล, ประสบการณ์ผู้ใช้งาน, ข้อมูล, ออกแบบ

บทคัดย่อ

        การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลที่แสดงผลบนมาตรวัดดิจิทัลจากประสบการณ์การขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย และ 2) การใช้ประโยชน์จากการจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลที่แสดงผลบนมาตรวัดดิจิทัลเพื่อประสบการณ์การขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย

 

        การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลและเก็บข้อมูลแบบวัดครั้งเดียว ประชากรในการวิจัยนี้คือผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าที่จำหน่ายในประเทศไทย ที่มีราคาจำหน่ายไม่เกิน 1,500,000 บาท ที่มีพฤติกรรมการใช้รถต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 6 เดือน แบ่งเป็นผู้ที่เป็นเจ้าของรถ จำนวน 17 คน กับผู้ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของรถ จำนวน 3 คน ทำการสุ่มตัวอย่างด้วยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่างมาสรุปรวบรวมความคิดเห็น และนำเสนอตามประเด็นข้อคำถามด้วยการสร้างข้อสรุป

 

        ผลการวิจัยพบว่า 1) ระหว่างที่รถยนต์เคลื่อนที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะมองข้อมูลแต่ละประเภทบนมาตรวัดสลับกับพื้นผิวจราจรเป็นระยะ ประเภทของข้อมูลที่มาจากการจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลที่แสดงผลบนมาตรวัดที่ผู้ขับขี่ให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ความเร็ว (2) ผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้ามีการใช้ประโยชน์จากการจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลที่แสดงผลบนมาตรวัดดิจิทัลเพื่อประสบการณ์การขับขี่ จะมองข้อมูลที่แสดงผลบนมาตรวัดในรถยนต์ทุกครั้งที่เดินทาง เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสถานะความปลอดภัยในการขับขี่รถยนต์ รองลงมาคือเพื่อหาแนวทางในการวางแผนการเดินทางแต่ละครั้ง โดยปัญหาและอุปสรรคในการใช้งานข้อมูลที่แสดงผลบนมาตรวัด คือ รายละเอียดของข้อความ การเลือกใช้สัญลักษณ์ สี และขนาดของตัวอักษรที่แสดงผล มีข้อมูลที่ไม่ชัดเจน   

References

กลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก. (2020.). การศึกษายานพาหนะประเภทรถยนต์สี่ล้อที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบก. https://web.dlt.go.th/statistics/

ธเนศนิรัตศัย ธนเทพ. (การสื่อสารส่วนบุคคล,10 กรกฎาคม 2565). การออกแบบห้องโดยสารรถยนต์ที่มีการวางจำหน่ายในประเทศไทย.

สุธาภุชกุล, จ. (2008). การติดต่อสื่อสารระหว่างรถยนต์เพื่อการขับขี่ปลอดภัยในอนาคต. Excutive Journal, 28(3), 77–80. https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/july_sep_08/pdf/Excutive%20Journal_77-80.pdf

Nanaki, E. A. (2021). Electric vehicles. https://www.sciencedirect.com. https://www.sciencedirect.com/topics/social-sciences/electric-vehicles

Nonaka, I & Takeuchi, H. (1995). The knowledge-creating Company: How Japanese companies create the dynamics of innovation. Oxford: Oxford University Press.

Nielsen, J. (1994, September 1). Usability Engineering. https://doi.org/10.1604/9780125184069

Vetturi, David & Tiboni, Michela & Maternini, Giulio & Bonera, Michela. (2020). Use of eye tracking device to evaluate the driver’s behaviour and the infrastructures quality in relation to road safety. Transportation Research Procedia. 45. 587-595. 10.1016/j.trpro.2020.03.053.

Toshimi, A., & Yoshinobu, S. (2015). The Origin of Japanese Omotenashi in Man-yo-shu. Business & Accounting Review, 16, 103–122.

Manu,K.and Teamie,K.(2005). Dynamic Speedmeter : Dashboard Redesign to discourage Drivers from Spreeding. ACM , NewYork, USA, 1573-1576

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31