การบริหารจัดการเนื้อหาข่าวสารของสื่อมวลชนในสถานการณ์ข่าวปลอม (Fake News)
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการข่าวสาร, เนื้อหาข่าวสาร, ข่าวปลอมบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “การบริหารจัดการเนื้อหาข่าวสารของสื่อมวลชนในสถานการณ์ข่าวปลอม (Fake News)” มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาการบริหารจัดการด้านเนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาข่าวสารของสื่อมวลชนในสถานการณ์ข่าวปลอม ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก โดยกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มบริหารระดับสูง กลาง และระดับปฏิบัติ ในการกำหนดรายการข่าวเพื่อนำเสนอต่อสาธารณชนของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ออนไลน์ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ออนไลน์ และหนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์
ผลการศึกษา พบว่า ด้านการบริหารจัดการด้านเนื้อหาของสื่อมวลชนในสถานการณ์ข่าวปลอม องค์กรสื่อมวลชนซึ่งมีบทบาทในการกำหนดวาระข่าวสาร ต้องมีวิธีการคัดกรองข่าวปลอมของทางสื่อออนไลน์ ที่สามารถประเมินข่าวสารที่ได้รับมาวิเคราะห์อย่างระมัดระวัง แยกแยะข้อเท็จจริงออกจากความคิดเห็นมีทักษะวิธีการตรวจสอบข้อมูลก่อนการนำเสนอ ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ประเมินเนื้อหาเพื่อตั้งข้อสังเกตเบื้องต้น 2) ตรวจสอบหาต้นตอ แหล่งที่มาของข่าว 3) ตรวจสอบแหล่งข้อมูลประกอบ และ 4) สอบถามหน่วยงานหรือผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
ทางด้านการนำเสนอเนื้อหาข่าวสาร พบว่า องค์กรสื่อมวลชนต้องมีการบริหารจัดการในเชิงกลยุทธ์ โดยต้องบริหารองค์กรให้สัมพันธ์และเข้ากันได้กับสภาพแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลง ทั้งปัจจัยภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรายการข่าวของสื่อมวลชนมาใช้วิเคราะห์ เพื่อให้องค์กรสามารถบริหารจัดการและสามารถดึงดูดความสนใจ
นอกจากนี้ สื่อมวลชนจะต้องตระหนักถึงผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในสังคม โดยการเพิ่มและลดช่องว่างของการสื่อสาร ตลอดจนปลูกฝังให้ผู้รับสารได้มีการรู้เท่าทันสื่อ ไม่ให้เปิดรับและหลงเชื่อกับเนื้อหาข่าวปลอม
References
กสทช. (2562). เอกสารประกอบการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะร่างประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่องแผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2565 - 2569). สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.
กาญจนา แก้วเทพ. (2547). สื่อสารมวลชน ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : แบรนด์เอจ.
เจิด บรรดาศักดิ์. (2562). ข่าวปลอม จากมุมมองนักปรัชญา เหตุผลของการมีอยู่และการรับมือให้ได้. https://themomentum.co/philosophy-of-fake-news/.
พิณ พัฒนา. (2560). รู้เขาหลอกแต่เต็มใจให้หลอก รู้จัก 'Fake News' ข่าวปลอมออนไลน์ที่เราชักเจอจริงบ่อยขึ้นทุกวัน. https://adaymagazine.com/global-7.
สำนักข่าวอิศรา. (2562). การตรวจสอบข่าวปลอม. https://www.isranews.org/content-page/item/75870-fakenews.html.
อลงกรณ์ เหมือนดาว และแอนนา จุมพลเสถียร. (2558). กระบวนการนำข้อมูลจากโซเชียลมีเดียมาใช้ในการนำเสนอข่าวโทรทัศน์. วารสารบัณฑิตศึกษา คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน. (1)19.
ไอลดา งามพิเชษฐ์. (2547). การบริหารเชิงกลยุทธ์แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ : สูตรไพศาลบิวเดอร์.
ETDA. (2562). Fake News ลวงให้เชื่อ หลอกให้แชร์. https://www.etda.or.th/en/newsevents/pr-news/etc/Fake-News.
Jame W.Dearing and Everett M. Roger. (1997). Agenda-Setting. 1st Edition. SAGE Publications.
Lewin, K. (1947). Frontiers in group dynamics. Human relations, 1, 5-41.
McCombs, M.E. and Shaw, D, L. (1972). The Agenda-Setting Function of Mass Media. The Public Opinion Quarterly. 30(2) 176-187.
Pariser, Eli. (2011). The Filter Bubble, London: Penguin Books.
Potter, W. J. (2004). Theory of media literacy: A cognitive approach. Thousand Oaks, CA: Sage.
Potter, W. J. (2021). Media Literacy Tenth Edition. University of California.
Sunstein, R. (2007). Republic.com 2.0. Princeton University Press.
UNESCO. (2013). Global media and information literacy assessment framework: Country readiness and competencies. http://uis.unesco.org/sites/default/files/documents.