การจัดเวทีสาธารณะแนวทางการกำกับดูแลการโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการโทรทัศน์ดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • บุหงา ชัยสุวรรณ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • ชัชญา สกุณา วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • พรรณพิลาศ กุลดิลก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ฐิติรัตน์ เจนศิริรัตนากร คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

การโฆษณาแฝง, สื่อโทรทัศน์ดิจิทัล, เทคนิคเดลฟาย

บทคัดย่อ

        วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาแนวทางการกำกับดูแลการโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการโทรทัศน์ดิจิทัลสื่อโทรทัศน์โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) ในการเก็บข้อมูลกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการโฆษณาทางโทรทัศน์ จำนวน 30 ท่านผ่านการจัดเวทีสาธารณะ ค่าสถิติที่ใช้แสดงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญโดยสรุปรวมแสดงด้วยค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และร้อยละเพื่อแสดงความคิดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงค่าสถิติที่แสดงการกระจายของความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแสดงระดับความสอดคล้องของความคิดของผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ หรือการแจกแจงความถี่หรือร้อยละในแต่ละกลุ่มคำตอบ ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการโฆษณาแฝงที่เหมาะสมในรายการแต่ละประเภท ประกอบด้วย รายการนำเสนอข้อเท็จจริง, รายการสาระความรู้ และรายการเด็กและเยาวชน ไม่ควรมีโฆษณาแฝงทุกประเภท ในส่วนของรายการบันเทิง และรายการจำหน่ายสินค้ามีแนวโน้มในการมีโฆษณาแฝงได้อย่างเหมาะสม โดยพิจารณาประเด็นความเหมาะสม แนวทางการกำกับดูแลภายใต้ความสมดุลระหว่างการคุ้มครองผู้บริโภคและการอยู่รอดของผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ ควรมีการกำกับดูแลในรูปแบบความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ประเด็นเรื่อง ตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียควรหารือกัน โดยแนวทางในการโฆษณาทุกรูปแบบต้องไม่ละเมิดกฎหมาย คำนึงถึงจริยธรรมและความรับผิดชอบทางวิชาชีพ รวมถึงไม่ละเมิดสิทธิของผู้บริโภค 

References

กรรณิการ์ สุวรรณมณี. (2562). การให้บริการทีวีชอปปิง: เครื่องมือในการแข่งขันของผู้ประกอบการจริงหรือ?. รายงานวิเคราะห์พฤติกรรมการแข่งขันในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์, Q1-2019, 09-13.

ธาม เชื้อสถาปนศิริ. (2552). รู้เท่าทันโฆษณาแฝง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ออฟเซ็ท ครีเอชั่น.

นลิศา เตชะศิริประภา. (2565). โฆษณาสื่อดั้งเดิมกำลังกลับมา ส่องผลสำรวจต่างประเทศ อะไรคือปัจจัยที่นักการตลาดหันมาใช้สื่อเก่า. ไทยรัฐออนไลน์. https://plus.thairath.co.th/topic/money/101470

บดินทร์ เดชาบูรณานนท์. (2561). รูปแบบของโฆษณาแฝงและการรับรู้ของผู้ชมในคลับฟรายเดย์เดอะซีรีส์ 7.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 4 (ฉบับเสริม). 71-80.

แบรนด์บุฟเฟต์. (2565). 5 เหตุผล “ทีวีโฮมช้อปปิ้ง” ยังไปต่อได้ ในวันที่ใครๆ ก็ซื้อของออนไลน์. https://www.brandbuffet.in.th/2022/05/5-keys-for-the-growth-of-tv-home-shopping/

พรรณพิลาศ กุลดิลก. (2554). จริยธรรมของนักวิชาชีพต่อการวางสินค้าในรายการโทรทัศน์ประเภทละครซิทคอม. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา].

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. (2556). โครงการวิจัยการส่งเสริมการกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบและการจัดความเหมาะสมของรายการในกิจการโทรทัศน์. https://broadcast.nbtc.go.th/data/academic/file/600500000001.pdf

วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. (2562). โครงการศึกษารูปแบบและวิธีการโฆษณาเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อการกำกับดูแลการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์. http://bcp.nbtc.go.th/uploads/items/attachments/a1d33d0dfec820b41b54430b50e96b5c/_402373557f9d12b0df24cb8e59ccc3a6.pdf

วลีทิพย์ นันทเอกพงศ์. (2549). การโฆษณาแฝงในละครซิทคอม ของบริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน). [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต].

วีรพงษ์ พวงเล็ก. (2547). การสำรวจทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อการโฆษณาสินค้าแฝงในละครโทรทัศน์. [วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

สถาพร อารักษ์วทนะ. (2565). โฆษณาอาหารเสริมเกินจริง: ควรแก้ปัญหาอย่างไร?. https://www.thaihealthreport.com/th/articles_detail.php?id=110

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. (2551). สิทธิของผู้บริโภค. https://www.ocpb.go.th/news_view.php?nid=9764

หัสยา วีระสมวงศ์. (2560). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

อาภาพร อุดมพืช. (2553). วิเคราะห์ลักษณะโฆษณาแฝงที่ปรากฏในรายการโทรทัศน์ไทย. วารสารวิชาการฟาร์อีสเทอร์น. 3(2). 82 – 90.

ASA and CAP. n.d. https://www.asa.org.uk/about-asa-and-cap/about-regulation/about-the-asa-and-cap.html.

Bartle, I., & Vass, P. (2005). Self-regulation and the regulatory state: A survey of policy and practice (Research Report). http://www.bath.ac.uk/management/cri/pubpdf/Research_Reports/17_Bartle_Vass.pdf

Belch, G. E., & Belch, M. A. (2007). Advertising and Promotion: An Integrated Marketing Communications Perspective. U.S.A.: Irwin, Inc.

d'Astous, A., & Seguin, N. (1999). Consumer reactions to product placement strategies in television sponsorship. European Journal of Marketing, 33(9),896-910.

Drumwright, E. M., & Murphy, E. P. (2009). How advertising practitioners view ethics. Journal of Advertising, 33(2), 7-24.

Edwards, S.M., & Joo-Hyun Lee (2002), Forced Exposure and Psychological Reactance: Antecedents and Consequences of the Perceived Intrusiveness of Pop-Up Ads. Journal of Advertising, 31(3): 83-95.

Fitzgerald, D. (1998). Comparative Advertising in the United Kingdom. European Intellectual Property Review, 19(12): 709–14.

Giannarou, L. & Zervas, E. (2014). Using Delphi technique to build consensus in practice. Journal of Business Science and Applied Management. 9 (2): 65-82.

Hawkes, C. Lobstein, T. (2010). Regulating the commercial promotion of food to children: A sur-vey of actions worldwide, International Journal of Pediatric Obesity, 24(5):403–420.

Karrh, A. J., Mckee, B. K., & Pardun, J. C. (2003). Practitioners’ Evolving Views on Product Placement Effectiveness. Journal of Advertising Research, 43, 138-147.

Kaplan, B. M. (1985). Zapping-the real issue is communication. Journal of Advertising Research, 25(2): 9-12.

Kelly, L., Kerr, G., & Drennan, J. (2010). Avoidance of advertising in social networking sites: the teenage perspective. The Journal of Interactive Advertising, 10(2): 66 – 79.

Lee, M., Kim, K. & King, K. W. (2012). Audience Responses to Product Placement and Its Regulations: Focusing on Regulatory Conditions in the United States and Korea. Journal of International Consumer Marketing, 24(4):275-290.

Mittal, B. (1994). Public Assessment of TV Advertising: Faint Praise and Harsh Criticism. Journal of Advertising Research, 34(1): 35-53.

Potter, W. J. (2011). Media literacy. 3rd ed. Thousand Oaks, CA: Sage

Shimp, T.A. (2000). Advertising & promotion (5th ed.). Fort Worth, TX: The Dryden Press.

Smit, E., Reijmersdal, V.E., & Neijens, P. (2009). Today’s Practice of Brand Placement and the Industry Behind it. International Journal of Advertising; 28(5): 761-782.

Speck, P. S., & Elliott, M. T. (1997). Predictors of advertising avoidance in print and broadcast Media. Journal of Advertising, 26(3): 61-76. DOI:10.1080/00913367.1997.10673529

Tiwsakul, R., Hackley, C., & Szmigin. (2005). Explicit, Non-Integrated product placement In british television programmes. International Journal of Advertising, 24(1): 95-111.

Van Reijmersdal EA, Neijens PC, Smit EG. (2007). Effects of TV Brand Placement on Brand Image. Psychology & Marketing. 24(5): 403–420.

Wenner, L.A. (2004). On the Ethics of Products Placement in Media Entertainment. Journal of Promotion Management; 10 (1/2): 101-132.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31