การรับรู้การสื่อสารการป้องกันโรคและพฤติกรรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ กิตตินราภรณ์ คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ธนาภรณ์ วงษา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจรเข้สามพัน
  • วาริศา พลายบัว คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การรับรู้การสื่อสารการป้องกันโรค, พฤติกรรมการป้องกันโรค, ไวรัสโคโรนา2019

บทคัดย่อ

        การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าปัจจัยด้านช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความรู้เรื่องการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019  ปัจจัยส่วนบุคคลในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019  และปัจจัยการใช้ประโยชน์จากสื่อเพื่อป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 มีประสิทธิภาพในการร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการป้องกันไวรัสโคโรนา 2019

 

        ผลการศึกษาจากผลการทดสอบการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยวิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบขั้นตอนเข้าสมการทีละปัจจัย (Stepwise) พบว่า 1) ปัจจัยด้านช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความรู้เรื่องการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 2) ปัจจัยส่วนบุคคลในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา  2019 และ 2) ปัจจัยด้านการใช้ประโยชน์จากสื่อเพื่อป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001, .01 และ .05 เมื่อพิจารณาในรายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละปัจจัย พบว่า มีทั้งหมด 5 ปัจจัย ที่สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ตามลำดับความสำคัญ คือ 1) ปัจจัยส่วนบุคคลในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (ด้านการสืบค้นข้อมูล) 2) การใช้ประโยชน์จากสื่อเพื่อป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (ด้านการรู้เหตุการณ์) 3) ปัจจัยส่วนบุคคลในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (ด้านการตีความ) 4) ปัจจัยด้านช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับความรู้เรื่องการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019  (ด้านประเภทเนื้อหาที่เคยเปิดรับเกี่ยวกับการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019) และ 5) การใช้ประโยชน์จากสื่อเพื่อป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (ด้านการมีส่วนร่วม) ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 5 ปัจจัยสามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 43.8

 

        ทั้งนี้ ปัจจัยส่วนบุคคลในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (ด้านการสืบค้นข้อมูล) เป็นปัจจัยที่สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยสามารถพยากรณ์พฤติกรรมการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุได้ร้อยละ 30.9 และมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐาน (β) = .202

References

กิติมา สุรสนธิ. (2541). ความรู้ทางการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เขตสุขภาพที่ 5. (14 เม.ย. 2565). รายงานการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2564 เขตสุขภาพที่ 5. https://apps.hpc.go.th/dl/web/upFile/2021/08-10169-20210830145242/03525b8e3e5682df81dc68e0b72865b5.pdf

คีรีบูน จงวุฒิเวศย์. (2553). รูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมในการจัดสวัสดิการสังคมโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับผู้สูงอายุ (รายงานการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนวรรธณ์ อิ่มสมบูรณ์. (2546). พฤติกรรมสุขภาพและการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. เอกสารการสอนชุดวิชาสุขศึกษาและการประชาสัมพันธ์งานสาธารณสุข. หน่วยที่ 1-8 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร :บริษัทประชุมช่างจำกัด.

ธนิดา มีต้องปัน. (2540). พฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ปรมะ สตะเวทิน. (2539). การสื่อสารมวลชน: กระบวนการทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุพดี ฐิติกุลเจริญ. (2537). ทฤษฎีการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร : บริษัทชวนพิมพ์.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2541). การวิจัยเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ษมาพร รักจรรยาบรรณ และศิริณา จิตต์จรัส. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสุขภาพของผู้สูงอายุในองค์กรธุรกิจเอกชน. วารสารสหศาสตร์, 19(2), 99-110.

สราลี สนธิ์จันทร์ และวิรัตน์ สนธิ์จันทร์. (2565). การเปิดรับสื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19). วารสารชุมชนวิจัย, 16(1), 64-77.

สมรักษ์ ชัยสิงห์กานานนท์. (ม.ป.ป.) ความชรา ภาพร่าง (Body Image) และการใช้ชีวิตในเมือง. ใน ชีวิตชายขอบ ตัวตนกับความหมาย, ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกุล, บรรณาธิการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

สุรกุล เจนอบรม. (2541). วิสัยทัศน์ผู้สูงอายุและการศึกษานอกระบบสําหรับผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพมหานคร : นิชินแอดเวอร์ไทชิ่งกรุ๊ฟ.

อุบลรัตน์ เพ็งสถิต. (2551). จิตวิทยาการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อรชา สื่อสุวรรณ. (2543). การเปิดรับ การจดจำ และทัศนคติของผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสที่มีต่อสื่อโฆษณาทางรถไฟฟ้าบีทีเอส. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72464

BBC NEWS ไทย. (2563). ไวรัสโคโรนา : อนามัยโลกประกาศให้โควิด-19 เป็น “การระบาดใหญ่” ทั่วโลก. สืบค้นเมื่อ 19 พ.ค. 2565, จากเว็บไซต์: https://www.bbc.com/thai/international-51838536

Becker,M.H. (1990). Theoretical models of adherence and strategies for improving adherence. In the Handbook of Health Behavior Change. New York: Springer Publishing Company.

Gochman, D.S. (1988). Health Behavior: Emerging research perspectives. New York: Plenum Press.

McCombs, M.E. & Becker, L.B. (1979). Using mass communication theory. New York: Prentice-Hall.

Mowen, Jhon C. & Michael Minor. (1998). Consumer behavior (5th ed.). Upper Saddle Rover, New Jersey: Prentice – Hall.

Pander, N.J. (1987). Health Promotion in Nursing Practice (2nd ed.).Stamford, CT: Appleton & Lange.

Shiffman, L.G., & Kanuk, L.L. (2007). Consumer behavior (9th ed.). New Jersey: Prentice – Hall.

Schermhorn, J.R., Hunt, J.G., & Osborn, R. N. (2003). Organizational Behavior (9th ed.). New York: Jhon Wiley & Sons, Inc.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31