ความเป็นประพันธกรในภาพยนตร์ของหม่อมหลวง พันธุ์เทวนพ เทวกุล
คำสำคัญ:
ประพันธกร, ภาพยนตร์, วรรณกรรม, การดัดแปลงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีวิจัยเชิงตีความ (Interpretive Analysis) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นประพันธกรในภาพยนตร์ของหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล โดยภาพยนตร์ที่นำมาศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 6 เรื่อง โดยผ่าน 3 หัวข้อคือ 1)วิเคราะห์ตระกูลภาพยนตร์ในภาพยนตร์ของหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล 2)วิเคราะห์เทคนิคในภาพยนตร์ของหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล 3)วิเคราะห์ความหมายและสัญลักษณ์ในภาพยนตร์ของหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลเอกสาร,บทสัมภาษณ์และอัตชีวประวัติ มาประกอบการวิจัย
ผลกการวิจัยพบว่า 1)ตระกูลที่โดดเด่นที่พบในภาพยนตร์ คือ ดราม่า/อีโรติก/ปรัชญาชีวิต ภาพยนตร์ ส่วนใหญ่จะดัดแปลงมาจากวรรณกรรมทั้งของไทยและต่างประเทศ โดยนำมาวิเคราะห์และตีความใหม่แต่ยังคงแก่นของบทประพันธ์เดิม 2) เทคนิคเด่นที่พบ คือ การเล่าเรื่องด้วยภาพ เล่าเรื่องอย่างมีศิลปะ ภาพมีความงดงาม มีความเป็น Cinematic แบบภาพยนตร์และโดดเด่นเรื่อง Color Grading ในหนึ่งเฟรมภาพเดียวกันแต่มีสีขาวดำ และค่อยๆไล่เฉดตามอารมณ์ของตัวละคร 3)ความหมายและสัญลักษณ์ที่พบในภาพยนตร์ คือ การซ่อนนัยยะสำคัญ หรือ Symbol ไว้ในฉาก หรือในตัวละคร
อิทธิพลและปัจจัยที่มีผลต่อการรังสรรค์ผลงาน 1)ศาสนา หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล พบว่าการปฏิบัติธรรม การศึกษาพระธรรม และการแสดง เป็นสิ่งเดียวกัน จึงนำสิ่งที่เรียนรู้มาผสมผสานกันเพื่อสร้างสรรค์หลักสูตรใหม่และทดลองในการสอน 2)ศิลปะ หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล มีความความสนใจศิลปะตั้งแต่ยังเยาว์ มีทักษะความสามารถด้านการวาดภาพ เมื่อโตขึ้นด้วยประสบการณ์และความรู้ที่สะสมมา ทำให้ท่านรังสรรค์ผลงานออกมาได้อย่างละเมียดละไม 3)แนวคิด แนวคิดที่โดดเด่นที่พบในภาพยนตร์ของคือ “ความเป็นมนุษย์” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้ผลงานของหม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล แตกต่างจากผู้รังสรรค์ผลงานท่านอื่น
References
กาญจนา แก้วเทพ.(2541).การวิเคราะห์สื่อ แนวคิด และเทคนิค.กรุงเทพฯ,บริษัท อินฟินิตี้เพรส จำกัด.
กาญจนา แก้วเทพ.(2553).แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา.กรุงเทพฯ,ภาพพิมพ์
ก้อง พาหุรักษ์.(2548).ฐานะประพันธกรในภาพยนตร์ของอิงก์มาร์เบิร์กแมน.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา.(2553).ศิลปะแขนงที่เจ็ด:เพื่อวัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์ภาพยนตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คบไฟ.
ภูริทัต ว่องวุฒพงศ์.(2563).ทฤษฎีโครงสร้างการเล่าเรื่อง.สืบค้นจาก. https://pharmconnection.blospot.com
Freud, S.(1964).Group Psychology and Analysis of the Ego Sigmund Freud. New York : Books
Sarris,Andrew.(2013).Condensed Notes to “Note on the Auteur Theory In 1962”. https://alexwinter.com/media/pdfs/andrew-sarris-notes-on-the-auteur-theory-in-1962.pdf