กลยุทธ์การสื่อสารออนไลน์ และปัจจัยที่ส่งเสริมความเชื่อมั่น ของศูนย์บริหารสถานการณ์ Covid-19

ผู้แต่ง

  • ปาณิสรา จันทร์แจ้ง นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชานิเทศศาสตร์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • สรพงษ์ วงศ์ธีระธรณ์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การสื่อสารออนไลน์, ความเชื่อมั่น, ศูนย์บริหารสถานการณ์ Covid-19

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารออนไลน์ของศูนย์บริหารสถานการณ์ Covid-19 และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมความเชื่อมั่นของประชาชนของศูนย์บริหารสถานการณ์ Covid-19 เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์จากเอกสาร (Document Analysis) คือ สื่อออนไลน์ที่เผยแพร่ผ่าน Facebook ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ในช่วงล็อคดาวน์ระลอก 1 ระหว่างวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2563 - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2563 จำนวน 513 ชิ้นงาน และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการเผยแพร่ข้อมูลผ่าน Facebook ศูนย์ข้อมูล covid-19 ของศูนย์บริหารสถานการณ์ Covid-19 ผลการวิจัยพบว่า

 

        กลยุทธ์การสื่อสารออนไลน์ของศูนย์บริหารสถานการณ์ COVID-19 มี 6 ประเด็น ได้แก่  1) การกำหนดสื่อออนไลน์ในการบริหารข้อมูล 2) การสื่อสารเพื่อให้ความรู้ 3) การสื่อสารด้วยสื่อบุคคล 4) การสื่อสารโดยใช้คุณค่าความเป็นข่าว 5) เทคนิคการออกแบบสื่อ 6) Text Quote Content

 

        ปัจจัยที่ส่งเสริมความเชื่อมั่นของประชาชนของศูนย์บริหารสถานการณ์ Covid-19 มี 13 ประเด็น ได้แก่ 1) บทบาทของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-192) การกำหนดเป้าหมายทางการสื่อสารในช่วงที่เกิดภาวะวิกฤต 3) การจัดคณะทำงานเพื่อสื่อสารในภาวะวิกฤต 4) กระบวนการการดำเนินงานการสื่อสารข้อมูล 5) การทำความเข้าใจกับความหลากหลายของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤต 6) คุณสมบัติของผู้ให้ข่าวสาร และวิธีการชี้แจงข้อมูลข่าวสาร 7) กระบวนการกลั่นกรองข้อมูลเพื่อนำเสนอผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ 8) วิธีเลือกประเด็นในการนำเสนอข่าวสารในสถานการณ์ Covid-19 9) ช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการนำเสนอข้อมูลของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 10) การจัดการวาระการเผยแพร่ข่าวสารเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน 11) การประเมินสถานการณ์และติดตามผลในภาวะวิกฤต 12) วิธีการสร้างความเข้าใจในภาพรวมที่มีต่อภาวะวิกฤติ 13) วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนตามแนวทางของรัฐบาล

References

ดวงทิพย์ วรพันธุ์. (2545). คู่มือการปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤต. กรุงเทพฯ: กรมประชาสัมพันธ์.

นภาภรณ์ อัจฉริยะกุล และรุ่งนภา พิตรปรีชา. (2544). สื่อในการสื่อสาร หลักและทฤษฎีการสื่อสาร สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุโขทัยธรรมาธิราช.

พรทิพย์ พิมลสินธุ์. (2551). การวิจัยเพื่อการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิภาวิน โมสูงเนิน. (2553). การสื่อสารสุขภาพของกระทรวงสาธารณะสุข กรณีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต การสื่อสารประยุกต์ คณะภาษาและการสื่อสาร].

ศิรินทร มหามนตรี. (2547). แผนกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ภาวะวิกฤต:ศึกษากรณีโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (โรคซาร์ส) ของกระทรวงสาธารณสุข. [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

อภิสิทธิ์ เหมาะสมสกุล. (2547). การสื่อสารภาวะวิกฤต กรณีศึกษาเปรียบเทียบโรคซาร์สและโรคไข้หวัดนกของกระทรวงสาธารณสุข. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Cutlip, Scott M. Allen H. Center and Glen M. Broom (1994).Effective Public Relation. Englewood Cliffs: Prentice-Hall, Inc

Grant S. E. and Powell D. (2000). Cris is response and communication planning manual, Prepared for the Ontario Ministry of Agriculture, Food and Public Affairs, Ontario, Canada.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31