การปรับตัวทางการสื่อสารและวัฒนธรรม ของนักศึกษาจีนระดับชั้นปีที่ 1 หลักสูตรนิเทศศาสตร์ นานาชาติมหาวิทยาลัยรังสิต
คำสำคัญ:
การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม, การปรับตัว, นักศึกษาจีน, นานาชาติบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การปรับตัวทางการสื่อสารและวัฒนธรรม ของนักศึกษาจีนระดับชั้นปีที่ 1 หลักสูตรนิเทศศาสตร์ นานาชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ผู้วิจัยจะดำเนินการสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus Group) กับนักศึกษาจีน รวมถึงการสังเกตการณ์ (Observation) พร้อมทั้งตีความวิเคราะห์ข้อมูลให้ตรงตามประเด็นวัตถุประสงค์ในการศึกษา ซึ่งจะนำเสนอข้อมูลและสรุปผลการวิจัยเป็นเชิงบรรยายหรือพรรณนา (Descriptive)
ผลการศึกษา ด้านการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาจีนที่เข้ามาศึกษาต่อหลักสูตรนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต พบว่า แรงจูงใจในการเข้ามาศึกษาที่ประเทศไทยและมหาวิทยาลัยรังสิตมาจากความประทับใจจนนำมาสู่ความสนใจเข้ามาศึกษาต่อในประเทศไทย สำหรับแนวโน้มและทิศทางในการปรับตัวของนักศึกษาจีน พบว่า อยู่ในเชิงบวก พร้อมเรียนรู้และยอมรับวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างกับวัฒนธรรมเดิมที่เคยเป็นอยู่ โดยความคาดหวังต่อการเข้ามาศึกษาต่อข้ามวัฒนธรรม พบว่า คาดหวังประกอบอาชีพในประเทศไทยได้ สามารถศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และคาดหวังการมีครอบครัวอยู่ที่ประเทศไทย ซึ่งนักศึกษาจีนกลุ่มตัวอย่างใช้รูปแบบการสื่อสารในการปรับตัวข้ามวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารระหว่างเพื่อน หรือการทำกิจกรรมต่างๆ ในคณะ การดำรงชีวิตประจำวัน รวมถึงการเรียนรู้วัฒนธรรมผ่านสื่อมวลชนด้วยการดูละครไทย ฟังเพลงไทย โดยลักษณะการสื่อสาร และปัจจัยด้านอื่นๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของนักศึกษาจีน คือ ลักษณะการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ ทั้งด้านกายภาพ และด้านสังคม ปัญหาหรืออุปสรรคที่พบในการปรับตัวข้ามวัฒนธรรม คือ ความไม่เข้าใจเกี่ยวกับภาษาที่ต่างกัน ด้วยความต่างวัฒนธรรมด้านภาษา ปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม พบว่า นักศึกษาจีนมีการปรับตัวข้ามวัฒนธรรมได้ดี โดยมีความพึงพอใจต่อปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
References
กมลรัฐ อินทรทัศน์ และ พรทิพย์ เย็นจะบก. (2566). หลักและทฤษฎีการสื่อสาร. pirun.ku.ac.th/~agrpct/envelop/com%20theory.doc.
กุลนรี นุกิจรังสรรค์ และคณะ. (2564). การศึกษาเบื้องต้นว่าด้วยนักศึกษาจีนในไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).
ธิดาพร บุญเม่น. (2022) การปรับตัวด้านภาษาและวัฒนธรรม ของนักศึกษานานาชาติในมหาวิทยาลัยมหิดล.
วารสารวิพิธพัฒนศิลป์, 2(1), 52-66.
ฝ่ายทะเบียนมหาวิทยาลัยรังสิต.(2565). รายชื่อนักศึกษาใหม่ที่ขึ้นทะเบียน. https://staffintranet.rsu.ac.th/SUWeb/Main.aspx,
พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2556). การปรับตัวของนักศึกษาจีนที่เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต].
พรพะเยาว์ ก๋งเม่ง. (2557). ความสามารถทางการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมและการปรับตัวของนักศึกษาจีนมหาวิทยาลัยรังสิต. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต].
เมตตา วิวัฒนานุกูล. (2548). การสื่อสารต่างวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มัญชรี โชติรสฐิติ. (2556). การปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนักเรียนไทยในต่างประเทศ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารประยุกต์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์].
ศูนย์สารสนเทศอุดมศึกษา. (2565). สถิติอุดมศึกษา นักศึกษาใหม่ 2565. https://info.mhesi.go.th/stat_std_new.php,
สุนทรียา ไชยปัญหา. (2561). การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมและการปรับตัวของนักศึกษาต่างชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. research.rmu.ac.th/rid-mis//upload/fullreport/1632637155.pdf
Kantima Kunjara. (1982). Communication Patterns of Thai Students in the Process of Acculturation. University of Oklahoma.
Kim, Y.Y., 1995. Intercultural Adaptation.” In Asante, M.K. & Gudykunst, W.B.(ed.), Handbook of International and Intercultural Adaptation. California: Sage Publications.
Soriana,F.I.(1995).Conducting Needs Assessments : A Multidisciplinary Approach. Thousand Oaks, CA : Sage Publications.