ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษา ระดับอุดมศึกษาของเด็ก Generation Z

ผู้แต่ง

  • ณัฐสิมา นครกัณฑ์ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • พัชนี เชยจรรยา คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, การแสวงหาข้อมูลข่าวสาร, รูปแบบการดำเนินชีวิตการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อและการตัดสินใจ

บทคัดย่อ

        งานวิจัยเรื่องปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของเด็ก Generation Z มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจ การแสวงหาข้อมูลข่าวสาร รูปแบบการดำเนินชีวิต และการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อกับการพยากรณ์การตัดสินใจเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของเด็ก Generation Z

 

        งานวิจัยนี้เป็นการใช้การวิจัยแบบเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นวิธีการเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเด็กที่เกิดในช่วง Generation Z ซึ่งจะอยู่ในช่วงอายุ 15-19 ปี จำนวน 400 คน และใช้การวิจัยแบบเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interview) กับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ได้แก่นักเรียนสายวิทย์-คณิต นักเรียนสายศิลป์-คำนวณ และนักเรียนสายศิลป์-ภาษา รวมทั้งหมดจำนวน 8 คน  

 

        ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า แรงจูงใจ การแสวงหาข้อมูลข่าวสาร รูปแบบการดำเนินชีวิต และการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ สามารถพยากรณ์การตัดสินใจเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของเด็ก Generation Z โดยเมื่อพิจารณาแล้ว แรงจูงใจสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 67.2 ซึ่งมีค่า R2 = 0.672 เมื่อนำไปรวมกับการแสวงหาข้อมูลข่าวสารจะสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 73.9 ซึ่งมีค่า R2 = 0.739 ซึ่งจะสามารถพยากรณ์ได้ดีกว่า นอกจากนี้หากเพิ่มตัวแปรการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจะสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 75.9 ซึ่งมีค่า R2 = 0.759 และเมื่อเพิ่มตัวแปรตัวสุดท้าย คือรูปแบบการดำเนินชีวิตจะทำให้ได้ค่าพยากรณ์สูงสุดที่ร้อยละ 76.5 ซึ่งมีค่า R2 = 0.765

 

        ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญส่วนใหญ่ระบุว่ามีความชอบและสนใจส่งผลตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ ค้นหาข้อมูลจากสื่อสังคมออนไลน์หลายๆแหล่งที่มา และต้องการให้มีสื่อประชาสัมพันธ์ที่ทันสมัยของข้อมูลเพื่อประกอบในการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ

References

กอแก้ว จันทร์กิ่งทอง. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบแรงจูงใจในการเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาชั้นปีที่ 1: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา. ในการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8 (น. 948-959). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พุทธศักราชิ 2545. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2556) การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพลิน บรรพโต. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการเลือกประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมบริการของนักศึกษา. สาขาการจัดการการโรงแรม ระดับชั้นปริญญาตรีในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.]

ภาณุวัฒน์ สว่างแสง. (2562). แรงจูงใจในการตัดสินใจเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีประจำปีการศึกษา 2561. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารสารคามม (TCAS61), 12(1): 154-170.

ณฐวัฒน์ คณารักสมบัติ. (2560). การรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ของนักศึกษาที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี สมุทรปราการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

วลัย วัฒนะศิริ. (2553). พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อที่ประเทศไทยในระดับอุดมศึกษานานาชาติของนักศึกษาประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง. วารสารสุทธิปริทัศน์, 24(73), 129-152.

Burns, N., & Grove, S.K. (1993). The Practice of Nursing Research: Conduct, Critique & Utilization.(4th ed.). Philadelphia: W.B.Saunders Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-20