ความพึงพอใจและความต้องการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ ด้านนิเทศศาสตร์ ของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

ผู้แต่ง

  • มัติกร บุญคง วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ความต้องการ, พัฒนาศักยภาพ, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจและความต้องการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีต่อกิจกรรมพัฒนาศักยภาพด้านนิเทศศาสตร์ ของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มีการกำหนดตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 300 คน ใช้แบบสอบถามออนไลน์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ซึ่งผลการวิจัยพบว่า

 

        1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กำลังศึกษาในโรงเรียนที่อยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นส่วนใหญ่ โดยรู้จักกิจกรรมนี้จากการแนะนำของรุ่นพี่หรือเพื่อน สำหรับเหตุผลที่เข้าร่วมกิจกรรม คือ เพื่อเปิดมุมมองและสร้างประสบการณ์การทำงานด้านนิเทศศาสตร์/สื่อสารมวลชน และส่วนใหญ่มีความรู้และทักษะพื้นฐาน คือ การเล่าเรื่องและการสร้างสรรค์คอนเทนต์ สำหัรบการสร้างสรรค์ผลงานในกิจกรรมครั้งนี้

 

        2. ความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรม พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจด้านผลผลิตมากที่สุด พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเกิดทักษะในงานด้านนิเทศศาสตร์ เช่น การเล่าเรื่อง การสร้างสรรค์สื่อ การถ่ายทำและตัดต่อ การใช้งานแอพพลเคชั่น การนำเสนอผลงาน ฯลฯ รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ พบว่า วิทยากรมีความรู้และประสบการณ์ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ และด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างสรรค์ให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจงานด้านนิเทศศาสตร์

 

        3. ความต้องการที่มีต่อกิจกรรม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามต้องการให้กิจกรรมนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านนิเทศศาสตร์/สื่อสารมวลชน ต้องการประเด็นในการอบรม คือ การสร้างสรรค์สื่อหรือผลงานด้านนิเทศศาสตร์หรือสื่อสารมวลชน โดยต้องการให้เน้นการฝึกปฏิบัติในทุกขั้นตอน (ลงมือปฏิบัติจริง) และให้มีระยะเวลาในการอบรม 1 วัน และเป็นวันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) ในช่วงภาคการศึกษาที่ 2 (มีนาคม-พฤษภาคม) และต้องการให้มีประกาศนียบัตรเพื่อรับรองการเข้าร่วมกิจกรรม

References

กฤษณา ศักดิ์ศรี. (2539). มนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร : อักษรพิทยา.

กรกฎ จำเนียร. (2565). การพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิตสื่อจากห้องเรียน สู่ชุมชนของนักศึกษานิเทศศาสตร์ กรณีศึกษา สื่อโฆษณาสินค้าชุมชนตำบลกะหรอ อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารรัชตภาคย์,16(4). 338-352.

กันตยา เพิ่มผล. (2551). การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน. กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

ฐิตินันท์ ดาวศรี และคณะ. (2564). แนวทางการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,11(1). 59-74.

ฐิติรัชต์ สุดพุ่ม. (2562). ปัจจัยและพฤติกรรมที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการวิชาการประเภทการฝึกอบรมสัมมนาของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี : สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณีรนุช นรินทร์. (2557). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการผู้สอนกลุ่มโรงเรียนศรีเมือง สังกัดสำนักเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา].

ธิราภรณ์ กลิ่นสุคนธ์. (2562). การประเมินประสิทธิผลโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “สร้างนักคิดจิตอาสา” วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปีการศึกษา 2561. ปทุมธานี : เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2562. 1052-106.

_______. (2566, กุมภาพันธ์).รองคณบดีฝ่ายบริหาร วิทยาลัยนิเทศศาสตร์. การสื่อสารประชาสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย. สัมภาษณ์.

ไพศาล หวังพานิช. (2551). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

สมคิด บางโม. (2549). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : บริษัทจูนพับลิชชิ่ง จํากัด.

สมคิด พรมจุ้ย. (2552). เทคนิคการประเมินโครงการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี : จตุพร ดีไซน์.

สมหมาย เปียถนอม. (2551). รายงานการวิจัยเรื่องความพึงพอใจของนักศึกษาในการได้รับการบริการจากมหาวิทยาลัย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ม.ป.ป.). แนวทางในการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

_______. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๖๘๐ (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา). กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

โสพิณ ปั้นกาญจนโต. (2550). การศึกษาการดำเนินงานกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียนบ้านเหล่ากกหุ่งสว่าง ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. [ การศึกษาอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ , มหาวิทยาลัยแม่โจ้].

ศิรินิรันดร์ ปัญญาพูนตระกูล. (2555). หลักสูตรฝึกอบรม. https://www.gotoknow.org/posts/397821.

ศูนย์ฝึกอบรมและแพทยศาสตรศึกษา. (2561). รายงานการประเมินโครงการการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การวิจัยเพื่อประยุกต์ใช้ในการทำงานด้านสาธารณสุขสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสังกัดภายใต้สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดราชบุรี. ราชบุรี : ศูนย์ฝึกอบรมและแพทยศาสตรศึกษาศูนย์อนามัยที่ 5 จังหวัดราชบุรี.

Von Haller Gilmer,B. (1966). Industrial Psychology. New York : McGraw-Hill Book Company, Inc.

Deniz, E. (2002). Approaches to Evaluation Training : Theory & Practice. Syracuse University : USA.

Hornby, A. F. (2000). Advance Learner’s Dictionary. (6th ed.). Oxford University : England: London.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., and Berry, L. L. (1988). SERVQUAL : A Multi-item Scale for Measuring Consumer Perception of Service Quality. Journal of Retailing. 64(1) : 12-40.

The North Central Regional Education Laboratory & Metiry Group. (2003). enGauge 21st Century Skills: Literacy in Digital Age. http://www.ncrel.org/engauge.

Tony,W. (2010). The global achievement gap: Why even our best schools don’t teach the new survival skills our children need and what we can do about it. http://www.amazon.com/The-Global-Achievement-GapNeed/dp/0465002307.

World Economic Forum. (2020). The Future of Jobs Report 2020. http://www3.weforum.org/ docs/WEF_Future_of_Jobs_2020.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-20