การรับรู้และประสิทธิผลการอบรมเชิงปฏิบัติการค่ายพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารสำหรับคนรุ่นใหม่ภายใต้โครงการขยายเครือข่ายภาคี 10 สถาบันการศึกษารู้เท่าทันสิทธิของผู้บริโภค สำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค

ผู้แต่ง

  • อรรถญา พิกุลพารุ่งโรจน์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การรับรู้, ประสิทธิผล, การอบรมเชิงปฏิบัติการ, รู้เท่าทันสิทธิของผู้บริโภค, สำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้เท่าทันสิทธิผู้บริโภคของสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค และประสิทธิผลการอบรมเชิงปฏิบัติการค่ายพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารสำหรับคนรุ่นใหม่ ภายใต้โครงการขยายเครือข่ายภาคี 10 สถาบันการศึกษารู้เท่าทันสิทธิของผู้บริโภค สำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค โดยเป็นการศึกษาในรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ จากการใช้แบบสอบถาม ในการเก็บข้อมูลจากผู้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 400 คน ผลการวิจัย พบว่า

 

        ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ศึกษามหาวิทยาลัยรังสิตมากที่สุด รองลงมา คือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตามลำดับการรับรู้การเท่าทันสิทธิผู้บริโภคสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภคของผู้เข้าร่วมการอบรม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ ไม่เคยรู้จักสภาองค์กรของผู้บริโภค เหตุผลในการเข้าร่วมการอบรม เพราะมีความสนใจในเรื่องสิทธิของผู้บริโภค ก่อนการเข้าร่วมการอบรมประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิผู้บริโภคที่ผู้เข้าร่วมให้ความสนใจ คือ ด้านการขนส่งและยานพาหนะ มากที่สุด หลังการเข้าร่วมโครงการประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิผู้บริโภคที่ผู้เข้าร่วมให้ความสนใจและผลิตสื่อ คือ ด้านการขนส่งและยานพาหนะ มากที่สุด หลังจากการอบรมผู้เข้าร่วมทุกคนรู้เท่าทันสิทธิของผู้บริโภค รู้จักสำนักงานสภาองค์กรผู้บริโภค และมีความรู้และทักษะเพื่อใช้ในการผลิตสื่อสำหรับการขับเคลื่อนสิทธิผู้บริโภคทุกคน

 

        ประสิทธิผลการอบรมเชิงปฏิบัติการค่ายพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารสำหรับคนรุ่นใหม่ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ด้านผลผลิต มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านบริบท ด้านกระบวนการ และด้านปัจจัยนำเข้า ตามลำดับ

 

        ด้านผลผลิต พบว่า  ผู้เข้าร่วมอบรมฯ ตระหนักรู้ถึงสิทธิของผู้บริโภคมากขึ้น มากที่สุด ที่ รองลงมา คือ สามารถนำความรู้และทักษะไปใช้ประโยชน์ในการใช้ชีวิตได้ในอนาคต และสามารถสื่อสารในประเด็นสิทธิผู้บริโภคได้อย่างถูกต้องไปยังสาธารณะ ตามลำดับ

 

        ด้านบริบท พบว่า  เป้าหมายของการฝึกอบรมฯ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมโครงการ  มากที่สุด รองลงมา คือ การฝึกอบรมฯ ครั้งนี้มีความจำเป็นและความสำคัญต่อผู้เข้าร่วมโครงการ ที่ และวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมฯ มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้เข้าร่วมโครงการ ตามลำดับ

 

        ด้านกระบวนการ พบว่า  วิทยากรมีความรอบรู้ในหัวข้อการฝึกอบรมฯและความสามารถในการถ่ายทอดความรู้เป็นอย่างดี มากที่สุด คือ วิทยากรให้ความเป็นกันเองกับผู้เข้าร่วมอบรมฯ และวิทยากรตอบคำถามตรงประเด็นและเข้าใจได้ง่าย ตามลำดับ

 

        ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ความพร้อมของทีมวิทยากร มากที่สุด รองลงมา คือ ความเหมาะสมของหัวข้อในการฝึกอบรม เช่น การบรรยายเรื่อง รู้สิทธิของผู้บริโภค, การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการและกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “เพื่อ(น)ผู้บริโภค”,ระดมสมอง แชร์ความคิด...ผลิตไอเดีย, การสร้างสรรค์คอนเทนต์ ด้วย Storytelling Canvas และความพร้อมของคณะกรรมการดำเนินงาน ตามลำดับ

References

นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2542). การสื่อสารรณรงค์เชิงยุทธศาสตร์เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมนุษย์เน้นการเจาะจงกลุ่ม. เชียงใหม่ : สำนักพิมพ์เขียว.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2557).เทคนิคการประเมินโครงการ. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ : เฮ้าส์อ๊อฟเคอร์มีสท์.

ผ่องพรรณ จรัสจินดารัตน์.(2556).การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมรูปบบของระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการอาชีวะศึกษา.[วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ].

สภาองค์กรของผู้บริโภค.(2565). รายงานประจำปี 2565 สภาองค์กรของผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : สภาองค์กรของผู้บริโภค.

สมชาติ กิจยรรยง. (2554). เทคนิคการเป็นวิทยากรที่ประสบความสำเร็จ. กรุงเทพฯ : บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.

สุรีรัตน์ วิชัย (2555). การประเมินผลโครงการการพัฒนาศักยภาพชมรมสายใยรักแห่งครอบครัวองค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี. [วิทยานิพนธ์รัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยบูรพา].

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี. (2561) .รายงานการวิจัย ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภคตามที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2550). การประเมินผลการฝึกอบรม. เอกสารประกอบการฝึกอบรม เรื่องการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

อรรถญา พิกุลพารุ่งโรจน์. (2561). ประเมินโครงการ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับภาครัฐโดยการจัดอบรมการผลิตสื่อสร้างสรรค์ด้วยการบรรยายและฝึกปฏิบัติตามโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มเครือข่ายผู้บริโภคกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมืองในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2560 (หน้า 736-747). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยรังสิต.

Samuel L.Becker. (1972). Discovering Mass Communication. Illinois : Scott Foresman and Company Glenview.

Stufflebeam and Shinkfield. (2007). Evaluation Theory, Models and Applications. San Fracisco : John Wiley and Son, Ine.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-02