กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจของผู้บรรยายกีฬามวยไทย กับการรับรู้และทัศนคติที่มีต่อ การอนุรักษ์กีฬามวยไทยของผู้รับชมที่เป็นแฟนมวยในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สโมสร อูบคำ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ฐิติ วิทยสรณะ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ, ผู้บรรยายกีฬามวยไทย, การอนุรักษ์กีฬามวยไทย, แฟนมวย

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจที่ผู้บรรยายกีฬามวยไทยนำมาใช้บรรยายกีฬามวยไทย 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจที่ผู้บรรยายกีฬามวยไทยนำมาใช้บรรยายกีฬามวยไทย กับการรับรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์กีฬามวยไทยของผู้รับชมที่เป็นแฟนมวยในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์กีฬามวยไทย กับทัศนคติที่มีต่อการอนุรักษ์กีฬามวยไทยของผู้รับชมที่เป็นแฟนมวยในเขตกรุงเทพมหานคร โดยในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้รับชมที่เป็นแฟนมวย ในเขตกรุงเทพมหานคร 5 สนาม จำนวน 400 คน และเป็นผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวน 5 คน

 

        ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจที่ผู้บรรยายกีฬามวยไทยนำมาใช้ในการบรรยายกีฬามวยไทย อยู่ในระดับมากที่สุด 2) กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้การอนุรักษ์กีฬามวยไทยในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับรับรู้มากที่สุด และ 3) กลุ่มตัวอย่ามีทัศนคติที่มีต่อการอนุรักษ์กีฬามวยไทย ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมีทัศนคติทางบวกมาก       

 

        ผลการวิจัยตามสมมติฐาน พบว่า กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจที่ผู้บรรยายกีฬามวยไทยนำมาใช้บรรยายกีฬามวยไทย มีความสัมพันธ์กับการรับรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์กีฬามวยไทยของผู้รับชมที่เป็นแฟนมวยในเขตกรุงเทพมหานคร และการรับรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์กีฬามวยไทยมีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่มีต่อการอนุรักษ์กีฬามวยไทยของผู้รับชมที่เป็นแฟนมวยในเขตกรุงเทพมหานคร

References

กรมพลศึกษา. (2556). ศิลปะมวยไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เอสใออฟเซ็ทกราฟฟิคดีไซน์.

กรมพลศึกษา. (2562). หนังสือประวัติศาสตร์กีฬามวยไทย. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์เอสใออฟเซ็ทกราฟฟิคดีไซน์.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2556). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกียรติศักดิ์ แสงชัยศรี. (2550). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจโดยใช้สื่อบุคคลกับการตัดสินใจเข้าเป็นนักกีฬาตัวแทนของโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยรังสิต].

จินตนา ตันติศิริรัตน์. (2556). กลยุทธ์การจูงใจผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตแฟนคลับนักร้อง เกาหลีทำความดีเพื่อสังคม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2556). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นวิยา สามนปาล. (2564). การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันกับทัศนคติและพฤติกรรมการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 25(3): 79-90.

มาลินี มาลีคล้าย. (2554). การรับรู้การสื่อสารการตลาดของผู้บริโภคที่มีผลภาพลักษณ์ ตราสินค้าอิชิตันในเขตกรุงเทพมหานคร. [ปริญญาธุรกิจมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี].

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : บริษัท ธรรมสารจำกัด.

สุธาทิพย์ เพื่องาม. (2563). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจโดยสื่อบุคคลกับพฤติกรรมเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมของเกษตรกรในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารมนุษย์กับสังคม คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(2): 27-46.

โสพิศ ทุยเวียง. (2557). คุณสมบัติและการสื่อสารของผู้บรรยายกีฬามวยไทยผ่านทางโทรทัศน์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2554). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-02