ความเข้าใจและความรอบรู้ทางสุขภาพในบริการโทรเวชกรรม เรื่องโรคเฉพาะด้านที่ยุ่งยากซับซ้อนของประชาชน
คำสำคัญ:
โทรเวชกรรม, สโตรก, มะเร็ง, ยาเสพติด, พีเอ็ม2.5, ความรอบรู้ทางสุขภาพบทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความเข้าใจและความรอบรู้ทางสุขภาพในบริการโทรเวชกรรมของประชาชน โดยเน้นที่โรคเฉพาะด้านที่ซับซ้อน คือ โรคหลอดเลือดสมอง มะเร็ง การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด เวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมด้านฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) การสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่าง 1,000 คน จากภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ และการสัมภาษณ์เชิงลึก 29 คน
ผลการวิจัยแสดงว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับโทรเวชกรรม และรับรู้ประโยชน์หลายประการ เช่น ประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และสะดวกในการรับบริการทางการแพทย์ จำนวนร้อยละ 56.10 ของกลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์ใช้บริการโทรเวชกรรมมาเป็นเวลามากกว่า 8 เดือน โดยใช้จองคิวนัดหมายล่วงหน้า มีความรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับโรคเฉพาะด้านที่ซับซ้อนอยู่ในระดับมาก และการเข้าถึงข้อมูลและการสื่อสารกับแพทย์และพยาบาลอยู่ในระดับปานกลาง
ผลการสัมภาษณ์เชิงลึกแสดงให้เห็นความเข้าใจต่อโรคและโทรเวชกรรม ในกรณีของโรคเฉพาะด้านที่ยุ่งยากซับซ้อนแต่ละโรค คือ เข้าใจว่าโรคหลอดเลือดสมองมีอาการนำแต่ไม่ทราบว่ามีอาการอย่างไร โรคมะเร็งต้องอดทนและรักษาต่อเนื่อง การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดที่เริ่มต้นจากการตัดสินใจเด็ดเดี่ยว และโรคที่มีผลจากสิ่งแวดล้อมที่มีการรับรู้ไม่มากนัก ทั้งนี้มีความเข้าใจว่าโทรเวชกรรมสามารถใช้สนับสนุนการรักษาโรคเหล่านี้ได้
References
กรมการแพทย์. (2564). ยุทธศาสตร์กรมการแพทย์. https://www.dms.go.th/backend
กรมการแพทย์. (ม.ป.ป.). แผนปฏิบัติราชการระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 – 2565). กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข.
กรมควบคุมโรค. (2559). ข้อเสนอ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์บูรณาการการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อในประเทศไทยที่ตอบสนองต่อ ๙ เป้าหมาย ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๘. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
กรมสุขภาพจิต. (2564). คู่มือแนวทางการดำเนินงานด้านบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดสุรา/ยา/สารเสพติดที่มีอาการทางจิตและโรคร่วมทางจิตเวช.กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิตกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
กองสุขศึกษา. (2556). ความฉลาดทางสุขภาพเส้นทางสู่….:หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง ความดันโลหิตสูงหัวใจและหลอดเลือด. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กระทรวงสาธารณสุข.
ชลธิชา แก้วอนุชิต, ขวัญศิริ ทองพูน, และ อัมมาดา ไชยกาญจน์. (2558). เอกสารประกอบการพิจารณา สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. สำนักวิชาการ, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ชินตา เตชะวิจิตรจารุ (2561). ความรอบรู้ทางสุขภาพ:กุญแจสำคัญสู่พฤติกรรมสุขภาพและผลลัพธ์สุขภาพที่ดี. วารสารพยาบาลทหารบก. 19, น. 1-11.
แพทยสภา. (2563). ประกาศแพทยสภา ที่ 54/2563 เรื่อง แนวทางปฏิบัติการแพทย์ทางไกลหรือโทรเวช (telemedicine) และคลินิกออนไลน์. https://tmc.or.th/
ภัทรวินฑ์ อัตตะสาระ (2564) เอกสารบรรยายเรื่อง “DMS Virtual Hospitals, DMS Telemedicine: A Way to Personal based Medicine https://ict.dmh.go.th/events/events/files/Telemed%20กรมจิต_ผอ.ภัทรวินฑ์.pdf
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (2562). Innovation for the Future: นวัตกรรมเพื่ออนาคต. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ.
อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2560) รายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การสร้างและพัฒนาเครื่องมือความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.
Bandura, A. (1982). Self-efficacy mechanism in human agency. American Psychologist, 37(2), 122-147.
Chuttur M.Y. (2009). “Overview of the Technology Acceptance Model: Origins, Developments and Future Directions,” Indiana University, USA. Sprouts: Working Papers on Information Systems, 9(37). Retrieved from http://sprouts.aisnet.org/9-37
Davis, F.D.x(1985). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use,and User Acceptance of Information Technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340.
Davis, F. D., Bagozzi, Davis, F. D., Bagozzi, Davis, F. D., Bagozzi, (1989). User Acceptance of Computer Technology: A Comparison of Two Theoretical Models.Management Science, 35(8) 982-1003.
Rogers, E. M. (2003). Diffusion of innovations (5th ed.). New York: Free Press.
Swanson, E.B. (1982). Measuring user attitudes in MIS research: A review. Omega International Journal of Management Science, 10(2), 157-165.