การสื่อสารนโยบายการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพโดยผู้นำท้องถิ่นในยุคดิจิทัล
คำสำคัญ:
การสื่อสาร, นโยบายการเมือง, ยุคดิจิทัลบทคัดย่อ
ปัจจุบันการสื่อสารการเมืองได้เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ในยุคที่การสื่อสารสามารถไปถึงกันโดยง่ายจากการแพร่กระจายของแพลตฟอร์มดิจิทัล และพัฒนาการทางเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด การเลือกที่จะสื่อสารอะไรออกไปก็ยิ่งทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น อย่างการเมืองในระดับท้องถิ่นที่มีความสำคัญกับประชาชนเป็นอย่างมาก เพราะมีความใกล้ชิด และประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมมากที่สุดในการตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญต่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้นำท้องถิ่นที่เปรียบเสมือนหัวใจหลักในการสื่อสารเพื่อประสานงาน การสื่อสารนโยบายการเมืองโดยผู้นำท้องถิ่นจึงได้กลายเป็นส่วนสำคัญในระบบการเมืองการปกครอง เนื่องจากนโยบายการเมืองที่ดี และตรงใจประชาชนจะเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ประชาชนสนใจ และตัดสินใจเลือก ผู้นำท้องถิ่นที่รู้ว่าควรนำเสนอนโยบายทางการเมืองในเรื่องใด และรู้ว่าประชาชนในท้องถิ่นต้องการอะไรมากที่สุด ก็จะสามารถเข้าไปนั่งอยู่ในใจของประชาชนได้ไม่ยาก ดังนั้นการสื่อสารนโยบายทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่น เพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายว่าจะแก้ปัญหาและพัฒนาให้ท้องถิ่นเป็นอย่างไรในอนาคตได้อย่างชัดเจน รวมถึงมีความสามารถที่สื่อถึงวิธีการที่จะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย สามารถเลือกใช้ช่องทางการสื่อสารที่มีอย่างหลากหลายในยุคดิจิทัลมาใช้งานอย่างกลมกลืน จะนำไปสู่การโน้มน้าวจิตใจให้ประชาชนหันมาเลือกตนเองได้แม้จะอยู่ในยุคที่การพัฒนาทางเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
References
คมกริช หาญกล้า. (2562). การสื่อสารโดยใช้โซเชียลมีเดียเพื่อการเคลื่อนไหวทางการเมือง: กรณีศึกษาพรรคอนาคตใหม่. [วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].
ปธาน สุวรรณมงคล. (2552). การเมืองท้องถิ่น: การเมืองของใคร โดยใคร เพื่อใคร. กรุงเทพฯ : พิมพ์อักษร.
พระครูวินัยธรอธิษฐ์ สุวฑฺโฒ (สุขพานิช). (2566). การสื่อสารทางการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพของนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี. วารสารมณีเชษฐาราม. 6(2), 243-262.
วิทยาธร ท่อแก้ว, กานต์ บุญศิริ, ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์, สุภาภรณ์ ศรีดี, ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน, จุมพล หนิมพานิช. (2563). แนวการศึกษาชุดวิชาหลักและทฤษฎีการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่นขั้นสูง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เสน่ห์ จุ้ยโต. (2558). แนวคิดเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สโรจ เลาหศิริ. (2560). 5 ยุคสมัยของดิจิทัล ประเทศไทยอยู่ไหน? ต่างประเทศอยู่ไหน?.https://positioningmag.com/1114251?fbclid=IwAR1RQM2WTbyRukzRimimRVCT5PPKkGS7OUCy3jgmg_QZksdw12D2XO584bk
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2566). การสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย Thailand Internet User Behavior 2565. https://www.etda.or.th/th/Our-Service/statistics-and-information/IUB2022.aspx
เอกรินทร์ ต่วนศิริ. (2563) การหาเสียงทางการเมืองในโลกออนไลน์ : กรณีศึกษาพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้. วารสารสถาบันพระปกเกล้า.18(3), 36-57.
Carl J. Friedrich (1942). The New Belief in the Common Man. Boston: Little, Brown and Company.