การศึกษาวิเคราะห์ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาว่าด้วยความรุนแรง

ผู้แต่ง

  • วิสุทธิ์ ชลธาร นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชานิเทศศาสตร์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • กฤษดา เกิดดี วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ภาพยนตร์, ความรุนแรง

บทคัดย่อ

        บทความวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับการแสดงความรุนแรงจากความ อยุติธรรม ทั้งหมด 5 เรื่อง ได้แก่ 1) Taxi Driver 2) The Brave One 3) Law Abiding Citizen 4) Death Wish 5) Joker โดยใช้แนวความคิดเรื่ององค์ประกอบของภาพยนตร์เล่าเรื่อง (Storytelling element) เป็นกรอบในการศึกษา เป็นการวิเคราะห์ตัวบท (Textual analysis) ผลการศึกษาพบว่า ภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับการแสดงความรุนแรงจากความอยุติธรรม ซึ่งตัวละครหลักมักเป็นผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงทางกายและทางใจ แต่ไม่ได้รับความเป็นธรรม เมื่อไม่สามารถพึ่งพาระบอบความยุติธรรมได้ ตัวละครจึงต้องหันมาพึ่งตนเอง ส่วนมากจะเป็นภาพยนตร์ประเภท Drama และรองลงมาเป็นภาพยนตร์ประเภท Thriller และ Crime ตามลำดับ ความขัดแย้งของตัวละครส่วนมากจะเป็นความขัดแย้งระหว่างตัวละครกับสังคม หรือกับบุคคล โดยเกือบทุกเรื่องจะเป็นการจบแบบปลายปิด และมีการวางโครงเรื่องแบบเรียงลำดับเหตุการณ์ (Linear Narrative Film) โดยฉากภาพยนตร์มักจะอยู่กลางเมืองใหญ่ ส่วนมากอยู่ในยุคปัจจุบัน แต่ก็มีบางเรื่องที่เป็นยุคอดีต บทสนทนาของตัวละครหลักมักจะแสดงออกถึงความอัดอั้นภายในใจผ่านทางคำพูดและน้ำเสียง โดยส่วนมากเป็นน้ำเสียงที่เรียบเฉยที่แสดงให้เห็นถึงความบอบช้ำภายในจิตใจ ภาพยนตร์จะใช้เทคนิคด้านภาพโดยการใส่เทคนิคพิเศษ (Special effect) เพื่อเพิ่มความสมจริง

References

กฤษดา เกิดดี. (2559). ภาพยนตร์วิจารณ์. กรุงเทพฯ : เดอะไรท์เตอร์ซีเคร็ท.

รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. (2558). การเขียนบทภาพยนตร์บันเทิง. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Beaver, Kevin M. (2006).The Gene Monoamine oxidase A (MAOA). https://www.fsu.edu/news/2009/06/05/warrior.gene/.

Bednarik, R. (2013). The Psychology of Human Behavior. UK: Nova Science Pub Inc.

Karofsky, A and Litch, Mary M. (2015).Philosophy through Film. NewYork : Routledge.

Perreault, T. (2015). The Rise of The Anti-Hero: Comparison of Moral Ambiguity in Action Films. https://www.researchgate.net/publication/374789653_Rise_of_the_Anti-Hero_Comparison_of_Moral_Ambiguity_in_Films

Syd, F. (2005). Screenplay: The Foundations of Screenwriting. NewYork : A deltabook.

Towers, S. (2015). Contagion in Mass Killings and School Shootings.https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0117259

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-02