คุณค่า ความหมายผ้าทอไทลื้อจากทุนทางวัฒนธรรมโดยการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการของกลุ่มผ้าทอบ้านกล้วยหลวงพัฒนา ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
ทุนทางวัฒนธรรม, คุณค่า ความหมายผ้าทอไทลื้อ, การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง คุณค่า ความหมายผ้าทอไทลื้อจากทุนทางวัฒนธรรมโดยการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการของกลุ่มผ้าทอบ้านกล้วยหลวงพัฒนา ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคติภูมิปัญญาและความเชื่อเรื่องผ้าทอในคัมภีร์พระพุทธศาสนาของชาวไทลื้อบ้านกล้วยหลวงพัฒนา ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 2) เพื่อสืบสานรูปแบบผ้าทอที่ใช้ในพระพุทธศาสนาของชาวไทลื้อบ้านกล้วยหลวงพัฒนา ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 3) เพื่อการผลิตซ้ำกระบวนการสืบสานและการอนุรักษ์ของผ้าทอไทลื้อบ้านกล้วยหลวงพัฒนา ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง และ 4) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้จำนวน 2 โครงการในด้านการสืบสานเพื่อการอนุรักษ์ผ้าทอในคัมภีร์พระพุทธศาสนาและการส่งเสริมการตลาดแบบบูรณาการของชาวไทลื้อบ้านกล้วยหลวงพัฒนา ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ กลุ่มผ้าทอบ้านกล้วยหลวงพัฒนา บ้านกล้วยหลวงพัฒนา ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 20 คน ประกอบด้วย ครูภูมิปัญญา 2 คน, ปราชญ์ชุมชน 3 คน, ผู้อาวุโส 5 คนและสมาชิกกลุ่มผ้าทอ 10 คน เครื่องมือวิจัยใช้กระบวนการเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดเวทีสนทนากลุ่ม การประชุมกลุ่มย่อย การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม
ผลการวิจัยพบว่า 1) คติภูมิปัญญาและความเชื่อเรื่องผ้าทอในคัมภีร์พระพุทธศาสนาของชาวไทลื้อมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตน ซึ่งมีหลักพุทธธรรมทางศาสนาสังคหวัตถุ 4 คือ ทาน การให้ การเสียสละ การแบ่งปันเพื่อประโยชน์แก่คนอื่น ช่วยปลูกฝังให้เป็นคนที่ไม่เห็นแก่ตัว เอื้อเฟื้อแบ่งปันกัน และโภควิภาค 4 คือ การจัดสรรทรัพย์ในการใช้จ่ายออกเป็น 4 ส่วน 2) มีการสืบสานรูปแบบผ้าทอที่ใช้ใพระพุทธศาสนา โดยการถ่ายทอดผ่านการเล่าเรื่องทางศาสนาและชุดความรู้ทางภูมิปัญญาด้านวิถีชีวิตการทอผ้า 3) มีกระบวนการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมผ่านประเพณี 12 เดือนและจัดทำเป็นแผนการตลาดแบบบูรณาการแบบออฟไลน์และออนไลน์ผ่านเพจเฟซบุ๊กและแอปพลิเคชั่นไลน์ 4) องค์ความรู้ที่ได้รับจากการสืบทอดและการดำรงอยู่ผ่านกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน และผลักดันหลักสูตรท้องถิ่นผ่านการสอนหลักสูตรระยะสั้นแบบมีส่วนร่วมกับบ้าน วัด โรงเรียน ร่วมสืบสานภูมิปัญญาวิถีชีวิตได้อย่างยั่งยืนสืบไป
References
ทรงศักดิ์ ปรางวัฒนากุล และแพทรีเซีย ชีสแมน. (2530). ผ้าล้านนา ยวน ลื้อ ลาว. เชียงใหม่: โครงการศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทรงศักดิ์ ปรางวัฒนากุล. (2551). มรดกวัฒนธรรมผ้าทอไทลื้อ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นุสรา เตียงเกตุ ([ม.ป.ป.]). เมืองแจ่ม: วิถีแห่งต้นธาร ตำนานแห่งล้านนา. โครงการสืบสานล้านนา.
นพพร พวงสมบัติ. (2547). กระบวนการเรียนรู้ของผู้ผลิตผ้าซิ่นตีนจก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่เพื่อรักษาและสืบทอดเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ท่ามกลางบริบทสังคมบริโภคนิยม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
ประไพ ทองเชิญ. (2548). นี้คือผ้าทอพื้นบ้าน โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการการกำหนดมาตรฐานผ้าทอพื้นบ้านเพื่อสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยิ่งยง เทาประเสริฐ และอรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. (2552). ภูมิปัญญาล้านนาในมิติวัฒนธรรม.เชียงใหม่:คณะอนุกรรมการการวิจัยวัฒนธรรมภาคเหนือ.
วิถี พานิชพันธุ์. (2547). ผ้าและสิ่งถักทอไท. กรุงเทพมหานคร: โอ เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.
อัษฎากรณ์ ฉัตรานันท์. (2559). ผ้าทอที่ใช้ในพระพุทธศาสนาของชาวไทลื้อเชียงคำ. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 2560, 2(1),11-20.