ปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

ผู้แต่ง

  • ธิราภรณ์ กลิ่นสุคนธ์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การสื่อสารการตลาด, การตัดสินใจ, การศึกษาต่อระดับอุมศึกษา

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ทำการศึกษากับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ S/2566 กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายซึ่งมีจำนวน 312 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ และใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยผลการวิจัยพบว่า

 

        1. กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทย์-คณิตมากที่สุด เหตุผลที่กลุ่มตัวอย่างตัดสินใจเลือกศึกษาต่อวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เพราะมีสาขาวิชาที่ตรงกับความต้องการ

 

        2. การเปิดรับสื่อของกลุ่มต้วอย่างเกี่ยวกับวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างได้รับข้อมูลข่าวสารของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์เพื่อประกอบการตัดสินใจเข้าศึกษาผ่านเว็บไซต์ของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ในระดับมากที่สุด เคยเข้าร่วมกิจกรรม OPEN HOUSE และกิจกรรมแนะแนวการศึกษาของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มีการใช้ข้อมูลหลักสูตรสำหรับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าสื่อสังคมออนไลน์ที่เหมาะสำหรับการสื่อสาร คือ เฟซบุ๊กของวิทยาลัย และรูปแบบสื่อที่สร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร คือ ภาพยนตร์สั้นและภาพยนตร์โฆษณา

 

        3. ปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ 1 วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 4.04 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า 3.1) ด้านการสื่อสารโดยการส่งเสริมการขายมีอิทธิพลมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.24 โดยกลุ่มตัวอย่างเห็นว่า นักศึกษาสามารถผ่อนชำระค่าเทอมได้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจการที่สุด 3.2) ด้านการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ที่ค่าเฉลี่ย 4.04 พบว่า วิทยาลัยนิเทศศาสตร์และมหาวิทยาลัยรังสิตมีการสื่อสารผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ติ๊กต็อก อินสตาแกรม หรือ ยูทูบ ที่เข้าใจได้ง่าย สามารถติดตาม และหาข้อมูลได้ 3.3) ด้านการสื่อสารโดยกิจกรรมที่ค่าเฉลี่ย 4.02 พบว่า กิจกรรม Open House ทำให้รู้จักวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ เห็นอุปกรณ์ ห้องปฏิบัติการ และสถานที่จริง และ 3.4) ด้านการสื่อสารโดยบุคคลที่ค่าเฉลี่ย 3.85 พบว่า ทีมต้อนรับและทีมรับสมัครนักศึกษาของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์และมหาวิทยาลัยรังสิตดูแลและแนะนำนักศึกษาใหม่ ทั้งการสมัครออนไลน์และสมัครด้วยตนเอง

References

กาญจนา แก้วเทพ และนิคม ชัยขุนพล. (2556). คู่มือสื่อใหม่ศีกษา. กรุงเทพมหานคร : โครงการเมธีวิจัยอาวุโส ฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

กัญญา ศิริสกุล และคณะ. (2552). หลักการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เกรียงไกร กาญจนะโภคิน. 2555. Event Marketing. กรุงเทพมหานคร : กรุงเทพธุรกิจ.

ขวัญฤทัย สายประดิษฐ์. (2551). บทบาทนักประชาสัมพันธ์กับการประชาสัมพันธ์ในสื่อใหม่. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

จุไรรัตน์ ศิริมั่งมูล และคณะ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเภทโควตาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2562. ขอนแก่น : รายงานการวิจัย สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท วี.พริ้นท์.

ณัฐธยาน์ ถวิลวงษ์. (2562). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดและภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณีที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี].

ทิพย์วัลย์ สีจันทร์ และคณะ. (2548). การคิดและการตัดสินใจ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.

ธิดาพร ชนะชัย. (2550). New Media Challenges : Marketing Communication Through New Media.

http://commarts.hcu.ac.th/images/academic_article/nok/new_media_newchal lenges.pdf.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร : บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

ปรัชญนันท์ นิลสุข (2546). การประเมินคุณภาพเว็บข้อมูลสารสนเทศ. วารสารรังสิตสารสนเทศ,ปีที่ 9(1), http://www.prachyanun.com/artical/webevaluation.html.

พรทิพย์ วรกิจโภคาทร. (2546). ผู้รับสาร. เอกสารชุดวิชาหลักและทฤษฎีการสื่ออสารมวลชน. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทยธรรมาธิราช.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2550). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. (2565). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ. 2565 – 2569. ปทุมธานี : เอกสารอัดสำเนา วิทยาลัยนิเทศศาสตร์.

ศิริวรรณ สุวินท์. (2548). องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนสาขางาน คอมพิวเตอร์ธุรกิจของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษา สิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. [ปริญญานิพนธ์,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].

สาวิตรี แก้วมณี. (2560). สื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสำหรับผู้บริหารระดับต้น วิทยาลัยพาณิชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. [ วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].

สิงโต เพ็ชรไพโรจน์. (2548). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจศึกษาในโปรแกรมวิชาอุตสาหกรรม ศิลป์ของนักศึกษาสถาบันราชภัฎอีสานใต้. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร].

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. (2556). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. www.mua.go.th/users/tqf/hed/news/FilesNews/.../News328072552.pdf.

สำนักงานประชาสัมพันธ์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2561). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการใช้เฟซบุ๊ก. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

สุจจินตนา ศรีรัตนกุล และคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประจำปีการศึกษา 2560. กรุงเทพมหานคร : รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุธีรา อาจเจริญ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำงานป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชำญด้านความงามของผิวพรรณ. [การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

สุวิมล แม้นจริง. (2546). การจัดการการตลาด. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บริษัท เอส. เอ็น. กรุ๊ป จำกัด.

อิสรา บุญรัตน์. (2558). แนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้. ปีที่ 8(1),

เอกชัย เทียนเงิน และนพดล อำนวยพรเลิศ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาระดับอุดมศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมปลาย. พะเยา : รายงานการวิจัยภายใต้โครงการวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำ.

Andy Williamson.(2013).Social Media Guidelines for Parliaments. http://archive.ipu.org/PDF/publications/SMG2013EN.pdf.

Hawkins, Dell. and Mother Sbaugh, David L. (2010). Consumer behavior : Build Marketing Strategy. Boston : McGraw-Hill, Inc.

Kast, F. E. & Rosenzweig, J. E. (1985). Organization and Management : A System and Contingency Approach (4th ed.). New York : McGraw Hill.

Kotler, P. and Keller, P. (2009). Marketing Management (13th ed.). NJ : Prentice-Hall.

Rogers, E. M., & Shoemaker, F. F. (1971). Communication of innovations: A cross-cultural approach (2nd ed.). Free Press.

Schiffman, L. G. and Kanuk, L. L. (2000). Consumer Behavior (7th ed.). NJ : Pearson Prentice Hall.

Taro Yamane. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. New York: Harper. & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-06