พัฒนารูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงโรคและภัยสุขภาพที่เป็นปัญหาในพื้นที่ตลาดค้าขายช่องจอม ชายแดน ไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์ ปี พ.ศ.2557-2558
คำสำคัญ:
รูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed Methods Research) ระหว่างวิจัยเชิงสำรวจและวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยการประยุกต์ทดสอบทฤษฎีการสื่อสาร2 จังหวะ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทในตลาดช่องจอม สภาพปัญหา และการสื่อสารที่ใช้ผู้นำทางความคิด เพื่อการพัฒนารูปแบบการใช้สื่อแบบมีส่วนร่วมของผู้นำทางความคิดเป็นช่องทางการสื่อสารด้านโรคและภัยสุขภาพ โดยการดำเนินงานมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่1 ขั้นสำรวจ ระยะที่2 ขั้นพัฒนารูปแบบ ระยะที่3 นำรูปแบบไปใช้ ระยะที่4 ประเมินผลและขยายรูปแบบ ถ้าหากไม่มีการพัฒนารูปแบบการสื่อสารดังกล่าวจะเกิดความเสี่ยงในการแพร่กระจายโรคจากตลาดตามแนวชายแดนสู่กลุ่มประชาชนคนไทยได้อย่างรวดเร็ว
ผลลัพธ์ของการพัฒนารูปแบบที่สำคัญคือ รูปแบบการสื่อสารความเสี่ยงผ่านผู้นำทางความคิดที่เป็นผู้มีอิทธิพลในตลาดค้าขายตามแนวชายแดน มีการสื่อสารจังหวะแรกโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขส่งสารไปยังผู้นำทางความคิดที่เป็นผู้รับสารด้านโรคไข้เลือดออก โรคมือเท้าปาก วัณโรค โรคเอดส์ ไข้หวัดใหญ่ อุจจาระร่วง ไข้หวัดนก โรคเรื้อน และสื่อสารจังหวะที่2 โดย ผู้นำทางความคิดส่งสารต่อไปยังผู้รับสารประชาชนในพื้นที่ตลาดค้าขายช่องจอม ชายแดน ไทย-กัมพูชา ตามการสื่อสาร2 จังหวะ จากการมีส่วนร่วมออกแบบการสื่อสาร โดยการจัดทำสื่อ 2ภาษา ที่เป็นเนื้อหาสั้นๆ เจ้าใจง่ายๆ ที่เป็นสิ่งพิมพ์ และ แผ่น ซีดีสปอต เป็นสื่ออุปกรณ์เดินให้ความรู้ประชาชน ของผู้นำทางความคิด พบว่าก่อนดำเนินการประชากรกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื้องโรค เฉลี่ยร้อยละ48.2 โดยหลังดำเนินการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ54.6 และมีทัศนคติการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคและภัยสุขภาพที่อยู่ในระดับดีมากและดีร้อยละ71.7 โดยหลังดำเนินการเพิ่มขึ้นร้อยละ97.4 และในรอบ1ปีที่ผ่านมาการปฏิบัติตัวในเรื่องโรคและภัยสุขภาพก่อนดำเนินการเฉลี่ยร้อยละ23.0 โดยหลังดำเนินการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ32.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นควรผลักดันให้ตลาดค้าขายตามแนวชายแดนต่างๆ ได้นำรูปแบบการสื่อสารความเสี่ยง โดยผู้นำทางความคิดที่เป็นผู้มีอิทธิพลในตลาดค้าขายตามแนวชายแดน ที่เป็น 2 ภาษาคือภาษาไทยและภาษาของประเทศเพื่อนบ้านที่เข้ามาค้าขาย ป้องกันการแพร่เชื้อโรคในตลาดตามแนวชายแดน สู่ประชาชนคนไทยที่เข้าไปจับจ่ายชื้อของ ลดการเกิดโรคติดต่อที่เป็นปัญหาตามแนวชายแดนต่อไป
References
สํานักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข . (2551). รายงานเฝ้าระวังประจำปี 2551. http://www.boe.moph.go.th/Annual/Annual%202551/Part2_51/Annual_MenuPart2_51 .html
สํานักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข . (2552). รายงานเฝ้าระวังประจำปี 2552.
http://www.boe.moph. go.th/Annual/Annual%202552/AESR52_Part2/Month%2052/Month%2052%20ds84.pdf
สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข . (2557). รายงานเฝ้าระวังประจำปี 2557.
http://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/disease.php? dcontent=old&ds=84