การพัฒนาการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนลาวเวียง ตำบลเนินขาม อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท

ผู้แต่ง

  • วิโรจน์ ศรีหิรัญ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ประพจน์ ณ บางช้าง วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สุวิมล อาภาผล วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สิริพร มีนะนันทน์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม, การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, ชุมชนลาวเวียง, ชัยนาท

บทคัดย่อ

        การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและค้นหาสภาพการณ์ปัจจุบันด้านการท่องเที่ยวของชุมชนลาวเวียง ตำบลเนินขาม อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาและสร้างการสื่อสารแบบมี     ส่วนร่วมของชุมชนลาวเวียง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนลาวเวียง จำนวน 20 คน และผู้นำชุมชนในชุมชนลาวเวียง จำนวน 3 คน รวม 23 คน

 

        ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีทัศนะว่าชุมชนลาวเวียงมีนักท่องเที่ยวมากพอสมควร ส่วนใหญ่มาจากบริเวณรอบจังหวัดชัยนาท มาเที่ยวดูวิถีชีวิตของคนในชุมชน 2) กลุ่มตัวอย่างมีทัศนะว่าการพัฒนาและสร้างการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนลาวเวียง ควรพัฒนาโดยเน้นการสื่อสารที่สะท้อน“วิถีชีวิต”ของชาวบ้านในชุมชนให้เพิ่มขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยชุมชนแห่งนี้มีวิถีชีวิต เป็นแบบ“วิถีลาวเวียงเนินขาม”ที่มีเอกลักษณ์คือ ความเป็นคนเชื้อสายลาวจากเวียงจันทน์ที่มีน้ำใจงามกับผู้อื่น ทั้งนี้ควรมีส่วนร่วมกันสื่อสารโดยเน้นไปที่“ภูมิปัญญาหลัก”ของชาวบ้านในชุมชนคือการทอผ้าที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร อย่างไรก็ตาม ควรพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมลาวเวียงด้วยการที่ชาวบ้านในชุมชนร่วมกันสื่อสารในทุกรูปแบบเพื่อสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตแบบชาวลาวเวียงเนินขามที่มีน้ำใจ ใช้ภาษาลาวเวียง ขายความเป็นครอบครัว ความเป็นวิถีชุมชน อากาศบริสุทธิ์ นักท่องเที่ยวชอบสูดอากาศธรรมชาติ รวมทั้งร่วมกันสื่อสารภูมิปัญญาด้านผ้าทอลาวเวียงเนินขามที่มีความงดงามไม่เหมือนใคร

References

กฤษณา วงษาสันต์ และคณะ.(2542). วิถีไทย. กรุงเทพฯ : เธิร์ดเวฟเอดดูเคชัน.

กาญจนา แก้วเทพ.(2552). การวิเคราะห์สื่อ : แนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเวศ วะสี.(2538). การดำรงชีวิตที่มีคุณค่าในสังคมสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.

พวงชมพู ไชยอาลา แสงรุ่งเรืองโรจน์.(2556).การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม: กลไกในขับเคลื่อนแนวคิดสู่การปฏิบัติภายใต้กระบวนทัศน์การพัฒนาแบบทางเลือก. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ,30(2),23-42.

มาลินี หาญยุทธ.(2551). รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว กรณีศึกษาตำบลนาไร่หลวง อำเภอสองแคว จังหวัดน่าน.วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.

ศุภวรรณ เจริญชัยสมบัติ.(2554).การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตชุมชนจาการท่องเที่ยว กรณีศึกษาเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริพงษ์ นวลแก้ว.(2540). การนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่นของ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดแม่ฮ่องสอน.กรุงเทพฯ: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.

สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง, สำนักงานสภาสถาบันราชภัฎ และทบวงมหาวิทยาลัย(2546). การมีส่วนร่วมของประชาชน.เอกสารอัดสำเนา.

อมรา ดอกไม้ และศิริพร อำไพลาภสุข.(2565).การสร้างเส้นทางท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรม OTOP นวัตวิถีอย่างยั่งยืนของชุมชนบ้านเนินขาม ตำบลเนินขาม อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท.วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,10(3),263-272

Ambrox, M. (2008). Attitude of local residents towards the development of tourism in Slovenia: The case of the Primorska, Dolenjska, Gorenjska and Ljubljana regions. Anthropological Notebook, 14(1), 63-79.

Gale, R. (2005). Sustainable Tourism: The Environmental Dimensions of Trade Liberalization in China. D. Shrubsole and N. Watson (Eds.), Sustaining Our Futures: Perspectives on Environment, Economy and SocietyUniversity of Waterloo , Waterloo, Ontario.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-19