กลยุทธ์ทางการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของเพศหญิง Gen Z ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ชัยสิทธิ์ การะเกตุ นักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • พรพรหม ชมงาม อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารและสื่อใหม่ คณะนิเทศศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาด, การตัดสินใจซื้อ, ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของเพศหญิง

บทคัดย่อ

        การศึกษาวิจัยเรื่อง กลยุทธ์ทางการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของเพศหญิง Gen Z ในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดของผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของเพศหญิง 2) เพื่อศึกษาถึงกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของเพศหญิง Gen Z ในเขตกรุงเทพมหานคร 3 ) เพื่อศึกษาถึงกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของเพศหญิง Gen Z ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เพศหญิง Gen Z ที่มีอายุ 18-26 ปี และอาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 200 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation)

 

        ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดในรูปแบบการสื่อสารแบบปากต่อปาก โดยเฉพาะจากข้อมูลคำวิจารณ์ของผู้บริโภคบนอินเทอร์เน็ต 2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของเพศหญิงจากพฤติกรรมภายหลังการซื้อ โดยเฉพาะจะไม่ซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าซ้ำหลังพบว่าผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าใช้แล้วไม่เห็นผล 3) กลยุทธ์ทางการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของเพศหญิง Gen Z ในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

ชมพูนุท กิตติดุลยการ. (2558). การศึกษากระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.[การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

ติกาหลัง สุขสกุล และ มนต์ ขอเจริญ. (2560). การสื่อสารภายในการ สื่อสารการตลาดและการตลาดเชิงประสบการณ์เพื่อการสื่อสารแบรนด์และการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุพรรณบุรีและมิวเซียมสยาม.วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 11(2), 457-493.

ปาณิสรา พันธุ์ชาติ. (2559). การศึกษาอิทธิพลทางการตลาดเชิงกิจกรรมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเบเกอรี่สำหรับสุนัของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.[การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].

ผู้จัดการสุดสัปดาห์. (2023). ปรับกลยุทธ์รับเทรนด์ Gen Z กระหน่ำชอปออนไลน์-ไฮบริด “ของมันต้องมี” หนี้ท่วมหัว. https://mgronline.com/daily/detail/9660000044164.

ลี่ซือ อ้าย. (2564).ปัจจัยการตลาดเชิงประสบการณ์ (Experiential Marketing) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ HUAWEI ในกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].

วิภาวรรณ ถาวร. (2562).ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและการบริการลูกค้าสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์อีโคคาร์ในเขตจังหวัดมหาสารคาม. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].

เสรี วงษ์มณฑา. (2547). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพ ฯ: ธรรมสาร.

พภสัสรณ์ แช่มศักดิ์สิทธิ์. (2563). การสื่อสารแบบปากต่อปากอิเล็กทรอนิกส์ส่วนประสมทางการตลาดในมุมมอง ผู้บริโภค และคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมระดับกลางบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด(มหาชน) ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. [บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].

พงศกร งามวิวัฒนสว่าง. (2560). กลยุทธ์ปากต่อปากผ่านสื่อออิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางนําเข้าจากต่างประเทศผ่านร้าน Multi–Brand ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].

สุภาวดี สถาปนิกานนท์ ,จรัญญา ปานเจริญ และจิราพร ชมสวน. (2565). อิทธิพลของการตลาดพันธมิตร การสื่อสารแบบปากต่อปากออนไลน์และ ความไว้วางใจที่มีต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในประเทศไทย. วารสารวิชาการ, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

brandbuffet. (2023). สรุป 10 ประเด็นเทรนด์การตลาด ปี 2023 พร้อมคาถาความสำเร็จ ‘4ร’ เร็ว-รู้-เรื่อง-รัก .https://www.brandbuffet.in.th/2022/11/mat-cmo-council-reported-marketing-trends-2023/.

Cartoon, T. (2565). Hybrid Working เทรนด์การทำงานรูปแบบใหม่ที่หลายบริษัทต้องเริ่มเตรียมความพร้อมไว้ตั้งแต่ตอนนี้. https://thegrowthmaster.com/growthmindset/hybrid-working.

Duncan,T.(2005). Principle of Advertising and IMC. London : McGraw-Hill Irwin.

Hair, J.F., Hult, G.T.M.., Ringle, C.M. and Sarstedt, M. (2017). A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM). 2nd Edition, Sage Publications, Inc.

Klarna. (2022). ทำไมคน GenZ ถึงให้ความสำคัญกับสกินแคร์บำรุงผิว. https://www.lifestyleasia.com/bk-th/beauty-grooming/why-gen-z-think-skincare-more-important/.

Kotler, P. & Keller, K. L. (2006). Marketing Management. 12th ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.Lamb, Hair and McDaniel, 1992,

Lam b,C.N.,Hair, J.E. and McDaiel,C.(1992). Principles of Marketing. South-western Arbitrating Co.,:Mason.

Marketeer. (2023). “คลิปสั้น” มาแรง ดึงดูดนักช้อปออนไลน์ Gen Z มากสุด. https://marketeeronline.co/archives/307336

Thongsuk, W. (2565). พฤติกรรมผู้บริโภคสําคัญอย่างไร? เหตุใดแบรนด์ต้องทําความเข้าใจให้ลึกซึ้ง. https://talkatalka.com/blog/consumer-behavior/

Zhou, Z. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของที่ระลึกของนักท่องเที่ยวชาวจีนแบบอิสระ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-19