การดัดแปลงนวนิยายวัยรุ่น เป็นภาพยนตร์สำหรับโทรทัศน์
คำสำคัญ:
นวนิยาย, ภาพยนตร์สำหรับโทรทัศน์, การดัดแปลงบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง “การดัดแปลงนวนิยายวัยรุ่น เป็นภาพยนตร์สำหรับโทรทัศน์” เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ระเบียบวิธีวิจัย การวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) การวิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยสิ่งที่นำมาศึกษาได้แก่ภาพยนตร์เรื่อง Sugar Café เปิดตำรับรักนายหน้าหวาน ซึ่งออกอากาศทาง MONOMAX ในปี พ.ศ. 2561 และภาพยนตร์เรื่อง Touchdown Kiss วัยร้ายคว้าใจพิชิตฝัน ซึ่งออกอากาศทาง MONOMAX เช่นกัน ในปี พ.ศ. 2562 สำหรับวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้แก่ 1 เพื่อศึกษาการเล่าเรื่องในสื่อนวนิยาย และสื่อภาพยนตร์สำหรับโทรทัศน์ 2 เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดัดแปลงนวนิยายไปสู่ภาพยนตร์สำหรับโทรทัศน์ ผลของการศึกษาวิจัยพบว่า การดัดแปลง
นวนิยายทั้งสองเรื่องมีกลวิธีที่สำคัญดังนี้ คือ มีการปรับเปลี่ยนตัวเรื่อง มีการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของ
นวนิยาย และมีการปรับเปลี่ยนการพัฒนาเรื่อง ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการดัดแปลงนวนิยายทั้งสองเรื่องสู่ภาพยนตร์สำหรับโทรทัศน์ ประกอบด้วย ปัจจัยด้านยุคสมัย ปัจจัยด้านเนื้อเรื่อง ปัจจัยด้านความยาวสื่อ และปัจจัยด้านผู้ผลิตที่ส่งผลต่อกระบวนการผลิต
References
กาญจนพิชญ์ ศิริภูมิวณิชย์. (2557). การเล่าเรื่องข้ามสื่อในการ์ตูนไทยของเอกสิทธิ์ ไทยรัตน์. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์].
กาญจนา แก้วเทพ. (2553). แนวพินิจใหม่ในสื่อสารการศึกษา. คณะนิเทศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
จิรมน สังณ์ชัย. (2560). การดัดแปลงนวนิยายชุดผ้า ของ พงศกร เป็นบทละครโทรทัศน์. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย].
นพพร ประชานุกูล. (2542). “การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ที่สัมพันธ์กับวิธีการเล่าเรื่องสื่อมวลชน” ใน อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ และคณะ. จิตทัศน์ทางสังคมในภาษาสื่อสารมวลชน: ศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ มิวสิควิดีโอ ข่าว และโฆษณา. คณะนิเทศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โครงการสื่อสันติภาพ.
บริษัท โมโน เน็กซ์ จำกัด (มหาชน. (2562). รายงานประจำปี. เอกสาร. บริษัท โมโน เน็กซ์ จำกัด (มหาชน). กรุงเทพฯ.
มาโนช ดินลานสกุล. (2547). การอ่านและการเขียนบันเทิงคดี. มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา: สำนักพิมพ์.
วรัทพร ศรีจันทร์. (2551). การเล่าเรื่องและการดัดแปลง เดธโน้ต ฉบับหนังสือการ์ตูน แอนิเมชั่น ภาพยนตร์และนวนิยาย. [วิทยานิพนธ์นิเทศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
ศรุต รัตนวิจิตร. (2555). การดัดแปลงข้ามสื่อ ละครเรื่อง “แม็คเบธ” ของวิลเลียม เชกสเปียร์. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
ศิวว์วิช หงษจินดาเกศ. (2556). จากนวนิยายสูภาพยนตร์ จากภาพยนตร์สู่นวนิยาย : กรณีศึกษาภาพยนตร์เรื่อง “หมานคร” และ “ฟ้าทลายโจร”. [วิทยานิพนธ์ศิลปะมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].
อัมพร เสงี่ยมวิบูล. (2539). จากนวนิยายสู่ภาพยนตร์ : กรณีศึกษาเรื่อง “ฟร็อม เอ็มเพอร์เรอร์ ทู ซิติเซ่น”. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
อุมาพร มะโรณีย์. (2551). สัมพันธบทของการเล่าเรื่องในสื่อการ์ตูน ละครโทรทัศน์ และนวนิยาย. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].