เจตคติและแรงจูงใจของผู้เรียนในการใช้แอนิเมชันเพื่อการเรียนรู้
(Attitudes and Motivations of Learners to Use Animation for Learning)
คำสำคัญ:
แอนิเมชันเพื่อการศึกษา, การ์ตูนแอนิเมชัน, สื่อการเรียนรู้, Educational animation, Cartoon animation, Learning mediaบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
แอนิเมชันเป็นสื่อดิจิทัลที่มีความสามารถพิเศษ เช่น จำลองเหตุการณ์ที่ยากและซับซ้อน กระตุ้นความสนใจได้ด้วยภาพและเสียงที่สมจริง เสริมทักษะฟังพูดอ่านและเขียนแก่ผู้เรียนได้ จึงทำให้นักการศึกษานำแอนิเมชันไปใช้เป็นสื่อการเรียน นอกจากนี้ นักวิจัยจำนวนมากศึกษาผลกระทบของการใช้แอนิเมชันในการให้ความรู้แก่นักเรียนนักศึกษา แต่ยังไม่ทราบชัดเจนว่า ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ผู้เรียนเลือกใช้แอนิเมชันเพื่อการเรียนรู้ งานวิจัยนี้จึงศึกษาและเปรียบเทียบระดับเจตคติ (อิทธิพล และเหตุผล) ของผู้เรียนที่มีต่อสื่อแอนิเมชัน และแรงจูงใจของผู้เรียนในการเลือกใช้แอนิเมชันเพื่อการเรียนรู้ของตนเอง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนของโรงเรียนสาธิตฯ และนิสิตของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 205 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากนักเรียนและนิสิตที่มีประสบการณ์การใช้แอนิเมชันเพื่อการศึกษามาแล้ว เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาซเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบที ค่าทดสอบเอฟ และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศหญิง เรียนอยู่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและปริญญาตรี และ 2 อันดับแรกของระดับเจตคติต่อสื่อแอนิเมชัน และแรงจูงใจในการใช้สื่อแอนิเมชันเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน มีดังนี้ (1) ความคิดเห็นต่ออิทธิพลของสื่อแอนิเมชัน ได้แก่ ความสนใจและความชอบส่วนตัว และลักษณะและรูปแบบการถ่ายทอดเนื้อหาของแอนิเมชัน (2) ความคิดเห็นด้านเหตุผลการใช้สื่อแอนิเมชัน ได้แก่ การรับรู้ได้ทั้งตาและหู และการมีสีสันที่สวยงาม ดึงดูดใจ และ (3) ความคิดเห็นด้านแรงจูงใจในการเลือกใช้สื่อแอนิเมชัน ประกอบด้วย การสร้างบรรยากาศการเรียนที่ผ่อนคลายและสนุกสนาน และการสร้างจินตนาการ ความคิดริเริ่ม นอกจากนี้ ผลการเปรียบเทียบ พบว่า เพศต่างกันมีอิทธิพล เหตุผล และแรงจูงใจในการใช้แอนิเมชันไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นมีอิทธิพลและแรงจูงใจแตกต่างจากนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและนักศึกษาปริญญาตรี นอกจากนี้ นักเรียนนักศึกษาที่มีระดับชั้นติดกันมีเหตุผลการใช้แอนิเมชันไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
คำสำคัญ: แอนิเมชันเพื่อการศึกษา / การ์ตูนแอนิเมชัน / สื่อการเรียนรู้
Abstract
Animation is a digital medium with special abilities such as simulating complicated situations, stimulating viewers’ interests with surreal image and sound, and enhancing learners’ listening, speaking, reading, and writing skills. As a result, educators choose to use animation as learning materials. Numerous researchers have studied the effects of animation on learners’ progress. However, it is not clearly known what factors influence learners to use animation in their learning process. This paper studies and compares learners’ attitudes—influences, reasons—towards, and motives for using animation in the self-learning process. A questionnaire was developed and answered by 205 students whom were purposively sampled from Mahasarakham University and the University’s Demonstration Schools. The Cronbach’s alpha of the questionnaire was 0.93. The data was analyzed with frequency, percentage, mean, standard deviation, Student’s t-test, F-test, and paired-sample test.
The analysis showed that majority of the participants were female upper secondary and university students. The two most impactful attitudes and motives were (1: influences) personal preferences, ways that the animation is portraying the content (2: reasons) eye and ear perceivability, colorful and attractive use of colors (3: motives) relaxing and fun learning environment, imagination and initiative promotion. Moreover, the analysis showed that gender difference did not lead to differences in influences, reasons, and motives for using animation. However, students in primary and lower secondary schools had different influences, reasons, and motives than those at the upper secondary and the university levels. In addition, the reasons for using animation from students in the consecutive education levels did not differ significantly at the statistical significance level of 0.05.
Keywords: Educational animation/Cartoon animation /Learning media
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ