การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัล และทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • พีรวิชญ์ คำเจริญ
  • วีรพงษ์ พลนิกรกิจ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัล, ทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัล, นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น 2) ทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น และ 3) เปรียบเทียบลักษณะทางประชากรศาสตร์กับทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น จำนวน 400 คน จาก 12 โรงเรียนที่สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งมีข้อคำถามรวม 39 ข้อ วัดค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาซได้เท่ากับ 0.80 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์หาความแปรปรวนของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มขึ้นไปที่เป็นอิสระจากกัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายและเพศหญิงมีสัดส่วนใกล้เคียงกัน มีอายุ 8 ปี และมีประสบการณ์การใช้สื่อดิจิทัลไม่ต่ำกว่า 3 ปี โดยมีการใช้โทรศัพท์สมาร์ตโฟนในการเข้าถึงยูทูบเพื่อความบันเทิง เช่น ดูหนังฟังเพลง ชมมิวสิควิดีโอ ดูคลิปวิดีโอและการ์ตูน เป็นต้น ขณะที่การใช้สื่อดิจิทัลในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ส่วนใหญ่ใช้ช่วงเวลาเย็น (16.00-18.00น.) ในวันเสาร์และวันอาทิตย์ส่วนใหญ่ใช้ช่วงเวลาสาย (09.01-12.00น.) มีการใช้สื่อดิจิทัลจำนวน 2-3ชั่วโมงต่อวัน และกำกับการใช้งานด้วยพ่อแม่หรือผู้ปกครอง 2) ทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น พบว่า ภาพรวมทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกเป็นรายทักษะ (1) ทักษะการเข้าถึง อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}= 2.88, S.D. = 1.51) (2) ทักษะการวิเคราะห์ อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 2.91, S.D. = 1.40) (3) ทักษะการประเมิน อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 2.88, S.D. = 1.40) (4) ทักษะการสร้างสรรค์ อยู่ในระดับน้อย (gif.latex?\bar{X} = 2.16, S.D. = 1.57) (5) ทักษะการสื่อสาร อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 2.91, S.D. = 1.35) (6) ทักษะการสะท้อนคิด อยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 2.75, S.D. = 1.38) และ (7) ทักษะการปฎิบัติ อยู่ในระดับน้อย (gif.latex?\bar{X} = 2.27, S.D. = 1.54) นักเรียนเพศชายและเพศหญิงมีทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลไม่แตกต่างกันในทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการเข้าถึง ทักษะการสะท้อนคิด ทักษะการปฎิบัติ และทักษะการสร้างสรรค์ ในขณะที่นักเรียนเพศชายและเพศหญิงมีทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลด้านทักษะการประเมินและทักษะการสื่อสารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักเรียนที่มีอายุต่างกันมีทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลทุกทักษะแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาความแตกต่างของทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลรายคู่อายุแล้ว พบว่า นักเรียนที่มีอายุสูงกว่า มีค่าเฉลี่ยทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลทุกด้านสูงกว่านักเรียนที่มีอายุน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ขนิษฐา จิตแสง. (2560). ทักษะการรู้เท่าทันสื่ออินเทอร์เน็ตของเยาวชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น.วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์. 20(2): 70-88.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์ประสานงานและสนับสนุนการศึกษาทางไกลภาค 14. (2560). ผลการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาทางไกล ภาค 14. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2562, จาก http://sesao31.esdc.go.th/kickrrm-klum-nithes/ykradabkhunphaphkhrudwydlit-3

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 10. นนทบุรี : ไทยเนรมิตกิจอินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.

บุหงา ชัยสุวรรณ และพรพรรณ ประจักษ์เนตร. (2558). พฤติกรรมการใช้สื่อใหม่ของวัยรุ่นอายุระหว่าง 10-19 ปี. วารสารการสื่อสารและการจัดการ. 1(1): 31-57.

พนม คลี่ฉายา. (2559). การใช้งาน ความเสี่ยง การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล และแนวทางการสอนเพื่อการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล สำหรับนักเรียนมัธยมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พิศุทธิภา เมธีกุล และวิชุดา กิจธรธรรม. (2559). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลและพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 10(2): 1-14.

พีระ จิระโสภณ และคณะ. (2559). ความรู้เท่าทันการสื่อสารยุคดิจิทัลกับบทบาทในการกำหนดแนวทางการปฎิรูปการสื่อสารในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

แววตา เตชาทวีวรรณ และอัจศรา ประเสริฐสิน. (2559). การประเมินการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.วารสารสารสนเทศศาสตร์. 34(4): 1-28.

ศศิธร เวียงวะลัย. (2557). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สาริศา จันทรอำพร และมฤษฎ์ แก้วจินดา. (2559). ภาวการณ์ปัจจุบันกับการเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ในวัยรุ่น. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10(1): 83-93.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. (2560). โรงเรียนในสังกัดพื้นที่การศึกษานครราชสีมา. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2562, จาก http://www.obec.go.th

สุภารักษ์ จูตระกูล. (2559). การสื่อสารภายในครอบครัวกับการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของดิจิทัลเนทีฟในกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์. 20(ฉบับพิเศษ): 224-239.

สุรางค์ โคว้ตระกูล. (2556). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Andrew, C. (2004). How children use the internet. Retrieved November 20, 2019, from http://netconsummerc.org

Baranska, P. (2016). The acquisition of media competences in the Poland by preschool children at home. Proceedings of the first Training School of COST Action IS1410 (pp.13-23). University of Minho, Braga, Portugal.

Belshaw, D. (2011). What is digital literacy? a pragmatic investigation. Ed.D. Dissertation, of Department of Education at Durham University.

Burnett, R. and Marshall, D.P. (2003). Web Theory. London: Routlege. California Emerging Technology Fund. (2008). California ICT digital literacy policy framework. Retrieved November 20, 2019, from http://ictliteracy.info/rf.pdf/california%20%20ICTPolicy%20Framework.pd

Dainton, M., & Zelley, E. D. (2011). Applying communication theory for professional life: A practical introduction (2nd ed.). Singapore: Sage

Chang, et al. (2011). Developing and validating a media literacy self- evaluation scale (MLSS) for elementary school student. Retrieved November 20, 2019, from http://www.tojet.net/articles/v10i2/1027.pdf

Ellison, N. B., Steinfield, C., and Lampe, C. (2007). The benefits of Facebook "friends:" Social capital and college students' use of online social network sites. Journal of Computer-Mediated Communication. 12(4): 1143–1168.

Gross, E. F. (2004). Adolescent internet use: What we expect, what teens report. Retrieved November 20, 2019, from http://www.cdmc.ucla.edu/Research_files/sdarticle.pdf

Hartley, S. (2011). Communication, cultural and media studies: the key concepts. Oxford: Routledge.

Hobbs, R. (2010). Digital and media literacy: a plan of action. Washington: The Aspen Institute Communications and Society Program.

Hobbs, R. and Moore, D. C. (2013). Discovering media literacy: teaching digital media and popular culture in elementary school. California: SAGE Publications.

Lister, et al. (2009). New media: A critical introduction. New York: Routledge.

Livingstone, S. (2014). As ever younger kids go online, how are European families responding. Retrieved November 20, 2019, from http.//www.lse.ac.uk/media@lse/research/EUKidsOnline/EU%Kids%0Online%20reports.asp

Media Awareness Network. (2010). Digital and literacy. Retrieved November 20, 2019, from http://mediasmarts.ca/sites/mediasmarts/files/pdfs/publication-report/full/digitalliteracypaper.pdf

Punie, Y. and Redecker, C. (2012). Understanding digital competence in the 21st century: An analysis of current frameworks. Lecture Notes in Computer Science. 7563: 79-92.

Refaeli. (1998). Digital literacy in education. Retrieved November 20, 2019, from http://unesdoc.unesco.org/images/0021/002144/214485e.pdf

Ridings, C.M., Gefen, D. and Arinze, B. (2002). Some antecedents and effects of trust in virtual communities. The Journal of Strategic Information Systems. 11(3S4): 271-295.

Summey, D. C. (2013). Developing digital literacies a framework for professional learning. California: SAGE Publications.

Tuamsuk, K. and Subramaniam, M. (2017). The current state and influential factors in the development of digital literacy in Thailand’s higher education. Information and Learning Science. 118(5/6): 235-251.

United Nations Educational Scientific and Cultural Organization (UNESCO). (2011). Digital literacy in education. Retrieved November 20, 2019, from http://unesdoc.unesco.org/images/0021/002144/214485e.pdf

White, J. (2015). Digital literacy skills for FE teachers. London: SAGE Publications.

Zhang, H. and Zhu, C. (2016). A study of digital media literacy of the 5th and 6th grade primary students in Beijing. Retrieved November 20, 2019, from http://www.researchgate.net/publican

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29