การพัฒนารูปแบบบทเรียนออนไลน์ระบบเปิดที่รองรับการเรียนจำนวนมากเพื่อการเรียนรู้แบบยูบิควิตัสที่ส่งเสริมทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ธนะรัตน์ ธนากิจเจริญสุข ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • เกียรติศักดิ์ พันธ์ลำเจียก ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

บทเรียนออนไลน์ระบบเปิดที่รองรับการเรียนจำนวนมาก, การเรียนรู้แบบยูบิควิตัส, ทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบบทเรียนออนไลน์ระบบเปิดที่รองรับการเรียนจำนวนมากเพื่อการเรียนรู้แบบยูบิควิตัสที่ส่งเสริมทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อหาประสิทธิภาพและผลการใช้ของบทเรียนออนไลน์ระบบเปิดที่รองรับการเรียนจำนวนมากที่พัฒนาขึ้นเพื่อการเรียนรู้แบบยูบิควิตัสที่ส่งเสริมทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 จำนวน 72 คน จากนักศึกษาทั้งหมด 593 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนออนไลน์ระบบเปิดที่รองรับการเรียนจำนวนมากเพื่อการเรียนรู้แบบยูบิควิตัสที่ส่งเสริมทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test แบบ dependent ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

1. ผลการพัฒนารูปแบบบทเรียนออนไลน์ระบบเปิดที่รองรับการเรียนจำนวนมากเพื่อการเรียนรู้แบบยูบิควิตัสที่ส่งเสริมทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา พบว่า รูปแบบบทเรียนออนไลน์ระบบเปิดที่รองรับการเรียนจำนวนมากเพื่อการเรียนรู้แบบยูบิควิตัสที่ส่งเสริมทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา มี 3 องค์ประกอบ คือ 1) เทคโนโลยี ได้แก่ สื่อ และเครือข่าย 2) การเรียนรู้แบบยูบิควิตัส ได้แก่ เนื้อหา การนำเสนอเนื้อหา การประเมินผล และ ปฏิสัมพันธ์ 3) แรงจูงใจ ได้แก่ ความตั้งใจ ความเชื่อมั่น ความพึงพอใจ 2. บทเรียนออนไลน์ระบบเปิดที่รองรับการเรียนจำนวนมากเพื่อการเรียนรู้แบบยูบิควิตัสที่ส่งเสริมทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.75/81.85 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนจากบทเรียนออนไลน์ระบบเปิดที่รองรับการเรียนจำนวนมากเพื่อการเรียนรู้แบบยูบิควิตัสที่ส่งเสริมทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา หลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

เกียรติศักดิ์ พันธ์ลำเจียก และธนะรัตน์ ธนากิจเจริญสุข. (2559). การพัฒนารูปแบบคอร์สแวร์เพื่อการเรียนรู้แบบยูบิควิตัสตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี งานวิจัยงบประมาณแผ่นดินปี 2559

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนะรัตน์ ธนากิจเจริญสุข. และเกียรติศักดิ์ พันธ์ลำเจียก. (2560). ผลการใช้คอร์สแวร์แบบการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อการเรียนรู้แบบยูบิควิตัสที่ส่งผลต่อการแก้ปัญหาและผลงานของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 5(2): 61-68.

พิมพิไร สุพัตร. (2560). การพัฒนาการฝึกอบรมออนไลน์ด้วยระบบการจัดการเรียนรู้ระบบเปิดสำหรับมหาชนเรื่อง การออกแบบสื่ออินโฟกราฟิก.

มหาชาติ อินทโชติ. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบยูเลิร์นนิงด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อเสริมสร้างทักษะการสร้างสรรค์ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Stanford University Newsletter. (2001). Speaking of Teaching. Problem-Based Learning. Center for Teaching and Learning. Retrieved January 7, 2020, from http://www.stanford.edu/dept/CTL/Newsletter/problem_based_learning.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29