การศึกษาสื่อสุขภาพที่เผยแพร่โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่านสื่อออนไลน์

ผู้แต่ง

  • กมลทิพย์ รัตนสุวรรณาชัย สาขาการสื่อสารวิทยาศาสตร์และสุขภาพ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ปรัชญา เปี่ยมการุณ สาขานวัตกรรมการสื่อสาร วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • จารุวัส หนูทอง สาขาภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

สื่อสุขภาพ, การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม, ทฤษฎีการเล่าเรื่อง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท และองค์ประกอบของการเล่าเรื่อง ในการสื่อสารสุขภาพของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผ่านสื่อออนไลน์ ประชากร คือ สื่อออนไลน์ที่ สสส. ใช้เป็นสื่อสุขภาพโดยผ่านทางยูทูป ช่อง SocialMarketingTH ตั้งแต่ พ.ศ. 2555 ถึง ปัจจุบัน จำนวน 102 เรื่อง 1,742 ไฟล์ แบ่งเป็น 15 หมวดหมู่ ตามการจัดหมวดหมู่บนคลังความรู้ของ สสส. กลุ่มตัวอย่าง คือ สื่อออนไลน์ จากช่อง SocialMarketingTH ผ่านทางยูทูป หมวดละ 1 เรื่อง รวมจำนวน 15 เรื่อง โดยคัดเลือกจากสื่อออนไลน์เรื่องที่มีจำนวนผู้เข้าชมสูงที่สุดในแต่ละหมวด จากนั้น วิเคราะห์เนื้อหาสุขภาพ (Content Analysis) ตามมิติการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม 4 มิติ ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ และ การวิเคราะห์องค์ประกอบของการเล่าเรื่อง ตามทฤษฎีการเล่าเรื่อง (Narrative Theory) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเล่าเรื่องที่สอดคล้องกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมทั้ง 4 มิติ และให้ความสำคัญกับองค์ประกอบของการเล่าเรื่อง ซึ่งเป็นตัวละครหลักที่กระทำผิดและผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิดนั้น มีการวิเคราะห์ความขัดแย้ง ทั้งความขัดแย้งภายในจิตใจ ความขัดแย้งระหว่างคนกับคน และความขัดแย้งภายนอก นอกจากนี้ ยังได้ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ตัวละคร ที่เน้นด้านครอบครัว ที่ทำให้เกิดผลที่ตามมาของการกระทำ โดยมีสัญลักษณ์พิเศษที่เป็นรูปภาพ ท่าทาง และการใช้เสียง เข้ามาเล่าเรื่อง ให้เกิดความน่าสนใจ

References

กิตติพงษ์ พรมพลเมือง. (2555). การสื่อสารเพื่อสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2562, จาก https://www.gotoknow.org/posts/476869

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์

นพพร ประชากุล. (2543). บอกอักษรย้อนความคิด เล่ม1 ว่าด้วยวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อ่านและสำนักพิมพ์วิภาษา.

นิพัทธา อินทรักษา. (2561). การเล่าเรื่องประเด็นสังคมผ่านคลิปวีดีโอบนสื่อออนไลน์. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเวศ วะสี. (2544). ภาวะผู้นำพยาธิสภาพสังคมไทยและวิธีแก้ไข (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: พิณเณศพริ้นดิ้ง เซ็นเตอร์.

ปิยะฉัตร วัฒนพานิช. (2558). การเล่าเรื่องในภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดนิยมในบริบทสากล. คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุภา จิตติวสุรัตน์. (2545). การสร้างความหมายทางสังคมและการรับรู้ "ความเป็นจริง" ในภาพยนตร์อิงเรื่องจริง. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

สำนักยุทธศาสตร์. (2562). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562 กรุงเทพมหานคร: สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2563, จาก https://www.etda.or.th/iub

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). แผนหลัก สสส. 2561-2563 กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2562, จาก http://resource.thaihealth.or.th/library/hot/16191

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). ชุดความรู้. [สืบค้นเมื่อ 15 ม.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: http://resource.thaihealth.or.th/knowledges.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2556). 5 สถานการณ์เด่นในรอบศตวรรษในสุขภาพคนไทย 2556 (หน้า. 81-90).นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือนพ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

อุบลวรรณ เปรมสรีรัตน์. (2558). การเล่าเรื่องทางนิเทศศาสตร์ประเภทสารัตถคดี (Non-fiction). คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อิริยาพร อุดทา. (2559). กลยุทธ์การสื่อสารสุขภาพออนไลน์ผ่านสื่อเฟชบุ๊กของโรงพยาบาลพญาไท. ปริญญานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ,.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29