การวิจัยและพัฒนาแอปพลิเคชันต้นแบบธุรกิจจัดหางานสำหรับผู้สูงอายุในเขต กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, แอปพลิเคชัน, ธุรกิจจัดหางานบทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอการวิจัยและพัฒนาแอปพลิเคชันต้นแบบธุรกิจจัดหางานสำหรับผู้สูงอายุในเขต กรุงเทพมหานครเพื่อมุ่งหวังให้ผู้สูงอายุได้ใช้จัดหางานและสามารถสร้างรายได้และเป็นช่องทางที่ช่วยให้ผู้สูงอายุ ได้แสดงศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที่และได้ทำในสิ่งที่ตนเองถนัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการ แอปพลิเคชันต้นแบบจัดหางานสำหรับผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันต้นแบบ จัดหางานสำหรับผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 50-65 ปี อาศัยอยู่ในเขต กรุงเทพมหานคร จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แอปพลิเคชันต้นแบบจัดหางานสำหรับผู้สูงอายุ ที่พัฒนาขึ้นโดยได้รับการประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ และการใช้แบบสอบถามความพึงพอใจ ในการสอบถามกลุ่มตัวอย่าง
ผลการประเมินความพึงพอใจในแอปพลิเคชันต้นแบบจัดหางานสำหรับผู้สูงอายุด้านเนื้อหาที่ผู้สูง อายุให้ความสนใจเป็น 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่ 1 มีการใช้ภาษาที่ง่ายต่อความเข้าใจ อันดับที่ 2 มีเนื้อหาเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย อันดับที่ 3 สองหัวข้อ ได้แก่ การแบ่งหมวดหมู่ของข้อมูลสมัครงานชัดเจน และมีความเหมาะสมของปริมาณเนื้อหาในแต่ละหน้า และจากข้อมูลความพึงพอใจด้านการออกแบบ แอปพลิเคชันต้นแบบจัดหางานสำหรับผู้สูงอายุให้ความสนใจเป็น 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับที่ 1 ปุ่มกดสีฟ้า พร้อมข้อความ ทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจได้ง่าย อันดับที่ 2 สองหัวข้อได้แก่ ผู้ใช้งาน กดปุ่มสีฟ้า หรือไอคอนสีส้ม เข้าใจได้ชัดเจนถึงเนื้อหาที่ปรากฏขึ้นมาตรงกับปุ่มหรือไอคอนที่กดโดน และการใช้สีพื้นหลังเป็นสีขาว ง่ายต่อการอ่าน อันดับที่ 3 ไอคอนสีส้มด้านล่าง ชัดเจนและใช้งานง่าย ผลการประเมินประสิทธิภาพด้านสมรรถนะการใช้งานโดยผู้เชี่ยวชาญของแอปพลิเคชันต้นแบบจัดหางานสำหรับผู้สูงอายุชี้ให้เห็นว่าผู้เชี่ยวชาญมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดกับประสิทธิภาพด้านสมรรถนะ การใช้งานและด้านสุนทรียะในการออกแบบของแอปพลิเคชันต้นแบบจัดหางานสำหรับผู้สูงอายุ
References
กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์. (2560). รับมือสังคมผู้สูงอายุ: ตัวอย่างจากต่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2562, จาก https://themomentum.co/happy-life-aging-society/
คำวิชัย พิชชยานิดา. (2560). หลักการในการออกแบบ Ux/Ui. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2563, จาก https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=632
ปิยะ ศักดิ์เจริญ. (2558). ทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่และแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเอง: กระบวนการเรียนรู้เพื่อการส่งเสริมการเรียน รู้ตลอดชีวิต Adult Learning Theory and Self-Directed Learning Concept: Learning Process for Promoting Lifelong Learning. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 16(1): 8-13.
พรทิพย์ เรืองธรรม. (2556). ทฤษฎีการออกแบบ. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักพิมพ์อินทนิล.
พรรัตน์ แสดงหาญ (2558). การจ้างงานผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสาร Journal of intelligence. 10(2).
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2553). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2553. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2562, จาก http://thaitgri.org/?p=36167
รัตนโชติ เทียนมงคล. (2560). การศึกษาลักษณะฟอนต์ที่เหมาะสมต่อประจักษ์ภาพสำหรับผู้สูงวัยในบริบท ตัวอักษรไทยบนหน้าจอแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์. Veridian E-Journal. 10(3): 1066-1082.
วรรณวิภา แสงสารพันธ์. (2561). สังคมผู้สูงวัย & ความท้าทาย. สาร ศวบ. มกราคม 2561: 3-4.
วิชญ์พล เกตุชัยโกศล. (2558). การศึกษาขนาดของปุ่มที่เหมาะสมในโมบายแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้สูงอายุ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย 2560. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2562, จาก http://www.nso.go.th
DobaKung. (2560). ทำไมแอนดรอยด์ถึงมีคนใช้เยอะกว่า Ios. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2562, จาก https://thaiappupdate.com/2018/07/12077/
Joseph Dickerson (2013). Ux101: A Primer on User Experience Design. CreateSpace Independent Publishing Platform. Retrieved January 15, 2020, from http://www.josephdickerson.com/wp-content/uploads/2014/04/UX101_2nd_ed_o.pdf
Mads Soegaard. (2018). The Basics of User Experience Design: A Ux Design Book by the Interaction Design Foundation. Retrieved January 15, 2020, from https://tofasakademi.com/wp-content/uploads/2018/06/the-basics-of-ux-design.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ