กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของนักแสดงที่มีผลต่อการรับรู้ ของกลุ่มผู้ชมเพื่อการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ

ผู้แต่ง

  • ภัทรนันท์ ไวทยะสิน วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การสื่อสารการตลาด, นักแสดง, การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของนักแสดงต่อการรับรู้ของผู้ชม 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของนักแสดงกับการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของนักแสดงกับการรับรู้ของผู้ชมและการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ

               ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลการวิจัยแบบผสมผสาน โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจากกลุ่มผู้ชม ด้วยแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และสถิติเชิงอ้างอิง คือ สถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Correlation Analysis) และ นักแสดง-ผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ประกอบการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารการตลาด ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ หรือ Qualitative Data Analysis ซึ่งผลการวิจัยพบว่า

               1) รูปแบบการโพสต์รูปภาพด้วยช่องทาง เรื่องราวขนาดสั้น หรือ Story ของนักแสดงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ มีความสัมพันธ์ทางบวกขนาดมาก กับ รูปแบบการโพสต์ข้อความและคลิปวิดีโอด้วยช่องทาง เรื่องราวขนาดสั้นของนักแสดงผ่านสื่อสังคมออนไลน์

2) การโต้ตอบการโพสต์ข้อมูลของนักแสดง ด้วยการส่งข้อความเป็นสติกเกอร์ที่บอกความรู้สึก (Emotional Icon or Emotional Sticker) มีความสัมพันธ์ทางบวกขนาดมาก กับ การโต้ตอบการโพสต์ข้อมูลของนักแสดง ด้วยการพิมพ์ข้อความแสดงความคิดเห็น มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สำหรับการรับรู้และโต้ตอบของกลุ่มผู้ชม

ซึ่งสอดคล้องกับการสัมภาษณ์เชิงลึกของนักแสดงหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในประเด็นของการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อให้กลุ่มผู้ชม หรือกลุ่มผู้ติดตามสามารถเข้าถึง สร้างความใกล้ชิด และความผูกพัน ตลอดจนการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของนักแสดง รวมทั้งเป็นข้อมูลที่สอดคล้องกับผู้ประกอบการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารการตลาด กล่าวคือ ช่องทางเรื่องราวขนาดสั้นในสื่อสังคมออนไลน์ของนักแสดงมีประสิทธิภาพสูงสุดในการว่าจ้างให้นักแสดงนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับสินค้า ผลิตภัณฑ์และบริการ เนื่องจากรูปแบบของเรื่องราวขนาดสั้นในสื่อสังคมออนไลน์นั้น เป็นเครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบออนไลน์ที่รบกวนพื้นที่ส่วนตัวของนักแสดงน้อยที่สุด แต่มีการเข้าถึงของกลุ่มผู้ชมมาก

References

กนกวรรณ ปิ่นสิรานนท์ และ อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์ (2564). มอง “แฟนคลับ” ผ่านงานวิจัยในประเทศไทย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 9(1), 22-31.

กุลธิดา เชวงวรรณ. (2558). การวางแผนสื่อสำหรับการสื่อสารการตลาดเชิงกิจกรรมในยุคดิจิตอล. ปริญญานิพนธ์. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กิติยา สุริวรรณ , พิชามน พวงสุวรรณ และ อุรพี จุลิมาศาสตร์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ทรงอิทธิพลทางความคิด ผู้บริโภค และตราสินค้า. วารสารการสื่อสารและการจัดการ. 2(3), 79-96.

เกียรติญา สายสนั่น. (2552). การสร้างภาพลักษณ์ของนักแสดงไทย. ปริญญานิพนธ์. วารสารมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน). คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ณัฐกาญจน์ สุวรรณธารา และ ธีระ เตชะมณีสถิตย์. (2557). รูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ที่ส่งผลต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้าระหว่างผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางตราสินค้าไทยกับตราสินค้าต่างประเทศในระบบขายตรง. Suranaree J. Sci. 8 (2),41-59

ณัฐา ฉางชูโต. (2558). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ. พิมพ์ครั้งที่ 8. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ดารา ทีปะปาล และ ธนวัฒน์ ทีปะปาล (2553). การสื่อสารการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

ดวงหทัย ธีรสวัสดิ์. (2559). ทักษะชีวิตและการสื่อสารของศิลปินนักแสดงรวมถึงการบริหารศิลปินเพื่อต่อยอดทางธุรกิจและอาชีพในอนาคต. ปริญญานิพนธ์ นศ.ม. (สาขาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต). กรุงเทพฯ.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นิศาชล รัตนมณี และ ประสพชัย พสุนนท์. (2562). อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามในงานวิจัยเชิงปริมาณ. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University. 13 (3), 181-188.

ปนันดา วงศ์ผู้ดี และ ธีระ เตชะมณีสถิต. (2557). การสร้างภาพลักษณ์ผู้มีชื่อเสียงของธุรกิจบันเทิงในประเทศไทย. การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2557. 3 เมษายน 2557. 249-557.

พิชญาณี ภู่ตระกูล และคณะ (2559). การสร้างแบรนด์บุคคลของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยผ่านเฟซบุ๊ก. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. 8 (2), 57-70.

วศิน อุ่ยเต็กเค่ง. (2558). การศึกษากลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดออนไลน์ของธุรกิจภาพยนตร์ออนไลน์รูปแบบสตรีมมิ่งในประเทศไทย. ปริญญานิพนธ์. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วรรษมน อินทรสกุล และ พรพรรณ ประจักษ์เนตร. (2558). อิทธิพลของอินสตาแกรมบุคคลที่มีชื่อเสียงต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้าแฟชั่นออนไลน์. ประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2558 คณะนิเทศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ.

สโรจ เลาหศิริ. (2561). มองเทรนด์ดิจิทัลไทยวันพรุ่งนี้ เมื่อ ‘ดาต้า’ จะไม่ใช่แค่ลมปากอีกต่อไป. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2560, จาก https://becommon.co/world/tomorrow-trend-marketing-2019/

Kotler, Philip. (2560). การตลาด 4.0 [Marketing 4.0]. (ณงลักษณ์ จารุวัฒน์). พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28