มอง "แฟนคลับ” ผ่านงานวิจัยในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ ปิ่นสิรานนท์ สาขาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์ สาขาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนออีกมิติหนึ่งของ “แฟนคลับ” ผ่านมุมมองของงานวิจัยเกี่ยวกับแฟนคลับในประเทศไทยใน 4 ประเด็นต่อไปนี้ 1) ประเด็นการวิจัย 2) แนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในงานวิจัย  3) ระเบียบวิธีวิจัย และ 4) ผลการวิจัย ผลการสังเคราะห์โดยสรุป พบว่า งานวิจัยแฟนคลับตั้งแต่ในช่วงปีพ.ศ. 2549-2561 มี 2 ประเด็นการวิจัยที่ได้รับความสนใจในการศึกษาเกี่ยวกับแฟนคลับ คือ การสื่อสารระหว่างกลุ่มแฟนคลับ และอัตลักษณ์ของกลุ่มแฟนคลับ โดยมีแนวคิดทฤษฎี 3 แนวคิดที่มักจะถูกพบในงานวิจัย     รวมไปถึงมีการเลือกใช้ระเบียบวิธีวิจัย 2 รูปแบบ คือ 1) งานวิจัยเชิงคุณภาพ 2) งานวิจัยเชิงปริมาณ นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงวิธีการเก็บข้อมูลอย่างหลากหลายรูปแบบ อาทิ การสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การใช้แบบสอบถาม เป็นต้น และผลการวิจัยที่สะท้อนให้เห็นความเป็นแฟนคลับใน 3 แง่มุม คือ 1) บทบาทและหน้าที่ของแฟนคลับ 2) การธำรงอยู่ของเครือข่ายแฟนคลับที่เข้มแข็งและยั่งยืน  3) ความสำคัญของแฟนคลับที่มีอิทธิพลต่ออุตสาหกรรมบันเทิง

References

กฤษณ์ เล็กเริงสินธุ์. (2551). แจ็คแฟนคลับ : กรณีศึกษาเมธัสตรีรัตนวารีสิน จากรายการเรียลลิตี้โชว์อะคาเดมี่ แฟนตาเชีย แจ็ค เอเอฟ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา.
กาญจนา แก้วเทพ. (2555). สื่อที่ใช่ ของใครที่ชอบ: การ์ตูน โทรทัศน์ท้องถิ่น แฟนคลับ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
กุลวิชญ์ สำแดงเดช. (2551). การใช้สื่อเพื่อสร้างและธำรงอัตลักษณ์ของแฟนสโมสรฟุตลอลชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์, ภาควิชาการสื่อสารมวลชน.
ชนกานต์ รักชาติ และพัชนี เชยจรรยา. (มกราคม-มิถุนายน 2559). วิธีการสื่อสารและการธำรงอยู่ของกลุ่มแฟนคลับศิลปินนักร้องกลุ่มจากประเทศเกาหลีใต้ในประเทศไทย. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมนิด้า, 3, 163-180.
ณิชชา ยงกิจเจริญ. (2558). การเปิดรับข่าวสารทัศนคติ และแนวโน้มพฤติกรรม ที่มีต่อศลิปินวง EXO ของกลุ่มแฟนคลับ EXO-L. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน.
ปภังกร ป่าสิงห์. (2550). พฤติกรรมการสื่อสาร วิธีการรวมกลุ่ม และการมีส่วนร่วมของกลุ่มแฟนคลับรายการเรียลลิตี้โชว์ ในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษารายการอะคาดามี แฟนเทเชีย ปี 1-3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาสื่อสารมวลชน.
ปรางค์แก้ว ปรางรัตน์. (2561). นุช: เครือข่ายการสื่อสารแฟนคลับผลิตโชค อายนบุตร บนสื่อสังคมออนไลน์ทวิตเตอร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาสื่อสารมวลชน.
ปัณณธร ไม้เจริญ. (2561). เครือข่ายการสื่อสารและการดำรงอยู่ของแฟนฟุตบอลไทย กรณีศึกษา:เครือข่ายแฟนบอลทีมสุพรรณบุรี เอฟซี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาสื่อสารมวลชน.
พัน ฉัตรไชยยันต์. (2561). วัฒนธรรมแฟน : กรณีศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณ เป๊ก ผลิตโชคแฟนคลับ. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, คณะสื่อสารสังคม.
สายชล ปัญญชิต. (2553). ฟุตบอลแฟนคลับในสังคมไทยสมัยใหม่ : ศึกษากรณีสโมสรเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะรัฐศาสตร์, สาขาวิชาสังคมวิทยา.
สิฎาพัณณ์ จงรักษ์. (2549). การสร้างสานสัมพันธ์แฟนคลับของสรยุทธ สุทัศนะจินดาในเว็บไซต์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์, สาขาวิชาวารสารสนเทศ.
สุปรีดา ช่อลำไย. (2549). เครือข่ายการสื่อสารและการดำรงอยู่ของแฟนคลับธงไชย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, สาขาวิชาสื่อสารมวลชน.
สุรกิตติ์ สิงห์แก้ว. (2556). พฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มแฟนคลับ 48 Group ในกระแสวัฒนธรรมย่อย J-pop. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะสังคมวิทยาและมานุษวิทยา.
สุรีย์รัตน์ โกสุมศุภมาลา. (2550). บทบาทของการสื่อสารต่อการธำรงรักษาเครือข่ายแฟนคลับของวงโมเดิร์น ด็อก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์, สาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ.
อนินทยา ประสิทธิมี. (2561). พฤติกรรมและอัตลักษณ์บนสื่อออนไลน์ของแฟนคลับศิลปินเกาหลีวง Wanna One ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะวิทยาลัยนวัตกรรม, สาขาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์.
P. Wanutch. (21 พฤษภาคม 2563). Global Live Fan Meeting ครั้งแรกในไทยผ่าน VLIVE. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2563, จาก https://thethaiger.com/th/news/320351/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28