การพัฒนาสื่อดิจิทัลอาหารจากกล้วยเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
คำสำคัญ:
สื่อดิจิทัล, อาหาร, กล้วย, การเรียนรู้ตลอดชีวิตบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมเนื้อหา และพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ผลงานวิจัยและผลงานสร้างสรรค์อาหารจากกล้วย ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย ผู้ให้ข้อมูลหลัก เป็นเจ้าของผลงานวิจัยและผลงานสร้างสรรค์อาหารจากกล้วย 9 คน ผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมกลุ่ม 15 คน รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร แบบสำรวจข้อมูล ร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการชุมชน ที่เคยรับถ่ายทอดเทคโนโลยีในหลักสูตรการทำอาหารจากกล้วย 80 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมของเนื้อหาและสื่อวีดิทัศน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า เนื้อหาและสื่อวีดิทัศน์อาหารจากกล้วย ประกอบด้วย ผลงานวิจัย ได้แก่ แป้งกล้วย ขนมอบและขนมไทยจากแป้งกล้วย 14 รายการ และผลงานสร้างสรรค์อาหารจากกล้วย ได้แก่ อาหารไทย อาหารว่าง ขนมไทย เบเกอรี่ 22 รายการ แปลงเนื้อหาและพัฒนาเป็นสื่อวีดิทัศน์เพื่อเผยแพร่ผ่านระบบออนไลน์ การประเมินความเหมาะสมของเนื้อหาและสื่อวีดิทัศน์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า เนื้อหาและสื่อวีดิทัศน์ที่ได้มีความเหมาะสม เนื่องจากเป็นข้อมูลที่ผ่านการศึกษาและสร้างสรรค์จากบุคลากรในหน่วยงานวิชาการที่เชื่อถือได้ และเห็นว่า ควรมีการเผยแพร่ผ่านออนไลน์เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง และผลการประเมินจากผู้ประกอบการชุมชนผู้ใช้งาน พบว่า เนื้อหาและสื่อวีดิทัศน์ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก โดยด้านเนื้อหามีความเหมาะสมมาก ด้านสื่อวีดิทัศน์มีความเหมาะสมมากที่สุดเช่นเดียวกับด้านการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งประโยชน์ต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และประโยชน์ต่อการประยุกต์ใช้ในอาชีพ รวมทั้งสามารถเลือกเรียนรู้ได้ไม่จำกัดเวลา และจำนวนครั้ง และเสนอแนะให้นำสื่อวีดิทัศน์เผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งเป็นข้อเสนอแนะที่สอดคล้องกับผู้ทรงคุณวุฒิ สื่อวีดิทัศน์ที่ได้จากการวิจัยได้เผยแพร่ผ่านทาง YouTube ในช่องรายการ Banana Thai Cuisine
References
กาญจนา แก้วเทพ และ นิคม ชัยชุมพล. (2555). คู่มือสื่อใหม่ศึกษา. กรุงเทพฯ : โครงการ เมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
กมลพิพัฒน์ ชนะสิทธิ์. (2554). เอกสารประกอบการสอนวิชาอาหารและขนมไทย. กรุงเทพ ฯ : คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
จุฑา พีรพัชระ.(2543). แบบเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่องขนมอบจากแป้งกล้วย. กรุงเทพฯ : บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.
จุฑา พีรพัชระ.(2547). ผลิตภัณฑ์ขนมอบจากแป้งกล้วย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ณนนท์ แดงสังวาลย์. (2554). เอกสารประกอบการสอนวิชาเบเกอรี่. กรุงเทพ ฯ : คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ณรงค์ยศ มหิทธิวาณิชชา. (2563). อัพเดทสถิติการใช้ YouTubeของคนไทย (กันยายน 2563). สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563. จาก https://www.twfdigital.com/blog/2020/09/youtube-stats-thailand-2020/
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่มที่ 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สุริยาสาส์น.
พัชญ์สิตา ฉ่ำมาก. (2551). การออกแบบเว็บเพจเพื่อการส่งเสริมอาหารไทย.กรุงเทพ ฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิชญาภัค จันทร์นิยมาธรณ์. (2559). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตข้าวผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) ของเกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการพัฒนาชนบท) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2534). เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 6-10.พิมพ์ครั้งที่ 10. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วไลภรณ์ สุทธา. (2558). เอกสารประกอบการอบรมเรื่องขนมไทยจากแป้งกล้วย ในโครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการจังหวัด สมุทรสงคราม. กรุงเทพ ฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ศิริสุภา เอมหยวก และสนทยา สาลี.(2559). การพัฒนาฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารในพื้นที่ชุมชนวัดโบสถ์จังหวัด พิษณุโลก.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.10(1) : 35-48.
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ.2561-2580). กรุงเทพ ฯ : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
อภิญญา มานะโรจน์. (2558). เอกสารประกอบการอบรมเรื่องอาหารจากกล้วย ในโครงการการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาอาชีพเดิมและสร้างอาชีพใหม่ของชุมชนจังหวัดอ่างทอง. กรุงเทพ ฯ : มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
Collin, J. (2009). Lifelong Learning in the 21st Century and Beyond. Radiographics. 29(2) : 613- 622.
Cronbach,L.J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5th ed.). New York : Harper & Row.
Krejcie, R.V.& Morgan, D.W.. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ