การทำข่าวสืบสวนสอบสวนในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • สุนันทา แย้มทัพ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อรัญญา ศิริผล ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ข่าวสืบสวนสอบสวน, วารสารศาสตร์ดิจิทัล, สุนัขเฝ้าบ้าน, ความเป็นมืออาชีพ

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาการทำข่าวสืบสวนสอบสวนในยุคดิจิทัล เป็นงานวิจัยเชิงเอกสารนำข้อมูลมาประมวลวิเคราะห์เพื่อตอบคำถามสำคัญที่ว่า 1) ในยุคเทคโนโลยีการสื่อสารดิจิทัลที่มีทั้ง “โอกาส” และ “ความท้าทาย” การทำข่าวสืบสวนสอบสวนของนักข่าวและองค์กรสื่อแตกต่างไปจากบริบทก่อนหน้าอย่างไร และ 2) วิธีการทำข่าวสืบสวนสอบสวนในยุคดิจิทัลควรเป็นอย่างไร บทความนี้เสนอว่า การทำข่าวสืบสวนสอบสวนยุคสื่อแอนะล็อกกับยุคสื่อดิจิทัลปัจจุบันมีหลักการพื้นฐานร่วมกัน คือ 1) ความเป็นมืออาชีพและธำรงรักษาจุดยืนความเป็น “สุนัขเฝ้าบ้าน” ของวิชาชีพให้แก่สังคม และ2) มีกระบวนการทำงานที่เป็นพื้นฐานร่วมอย่างน้อย 3 กระบวนการหลัก คือ กระบวนการค้นหาประเด็นข่าว การวางแผนลงมือทำงาน และกระบวนการเขียนข่าว ซึ่งสามารถปรับใช้ได้เป็นอย่างดี แต่ในยุคสื่อดิจิทัล นักข่าวและองค์กรข่าวสามารถฉวยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ข้อมูลสารสนเทศและความก้าวหน้าของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้เป็นโอกาสใหม่ ปรับตัวให้เท่าทัน ทำงานในลักษณะ “วารสารศาสตร์เชิงข้อมูล” (Data Journalism) เพื่อช่วยรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์รายงานข่าวและใช้สร้างการปฏิสัมพันธ์กับผู้รับสารได้อย่างเข้มข้น ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเป็นมืออาชีพและสามารถทำงานตอบพันธกิจสำคัญให้แก่สังคมได้อย่างต่อเนื่อง  

References

ณัฏฐ์ชดา วัฒนาชัยผล. (2560). สื่อใหม่กับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสื่อข่าว วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม 7(1): 63-71.
วาทินี ห้วยแสน. (2556). การบริหารงานของหนังสือพิมพ์ภายใต้กระแสการหลอมรวมสื่อ. วารสารอิศราปริทัศน์ 1 (3): 33-43.
อรวรรณ จิตรรัมย์. (2562, 6 กันยายน). ชีวิตคนข่าวยุคดิจิทัล: เมื่อวงการสื่อถูก Disrupt นักข่าวก็ถูก Disrupt. TCIJ. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2562ม จาก https://www.tcijthai.com/news/2019/9/scoop/9369
เอกพล เธียรถาวร. (2559). วารสารศาสตร์ข้อมูลกับการรายงานข่าวของสื่อไทย. วารสารร่มพฤกษ์. มหาวิทยาลัยเกริก 34 (3): 100-115.
Deuze, Mark. (2007). What is Multimedia Journalism?. Journalism Studies. 5(2): 139–152.
Hunter, M. Lee; Hanson, Nils; Sabbagh, Rana; Sengers, Luuk; Sullivan, Drew; and Thordsen, Pia. (2010).
Story-Based Inquiry: A Manual for Investigative Journalists. UNESCO.
Kelly, Sara. 2015. The Entrepreneurial Journalist’s Toolkit: Manage Your Media. Oxford: Focal Press.
Nazakat, Syed (ed). (2010). A Manual for Investigative Journalism. Konrad-Adenauer-Stiftung (KAS), Media Programme Asia.
Sullivan, Drew. 2013. Investigative Reporting in Emerging Democracies: Models, Challenges, and Lessons Learned; A Report to the Center for International Media Assistance. The Center for International Media Assistance (CIMA).
Thienthaworn, Ekapon. (2018). Data Journalism: Principle Development and Knowledge Adaptation in Thailand. Dissertation Ph.D. (Communication Arts and Innovation) National Institute of Development Administration.
Trilling, Damian; Tolochko, Petro; & Burscher, Bjorn. 2016. From Newsworthiness to Shareworthiness: How to Predict News Sharing Based on Article Characteristics. Journalism & Mass Communication Quarterly 94(1) :38-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28