การวิเคราะห์กลวิธีการแปลชื่อภาพยนตร์ไทยเป็นภาษาเวียดนาม

ผู้แต่ง

  • วาสนา นามพงศกุล คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • เฉิ่น ถิ บิ๊ก ถาว คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ปริญญา ฉิมบรรเลง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการแปลภาพยนตร์ไทยเป็นภาษาเวียดนาม โดยศึกษาจากภาพยนตร์ไทยที่มีการแปลชื่อเป็นภาษาเวียดนาม ตั้งแต่ปี ค.ศ 2010 – 2019 จากเว็บไซด์ bilutvzz.net, tvhays.org และ dongphym.net จำนวนทั้งสิ้น 83 เรื่อง และวิเคราะห์ตามทฤษฎีโคโปส (Skopos Theory) ของ ฮันส์ เจ แฟร์เมียร์ (Hans J. Vermeer) ผลการศึกษาพบว่า กลวิธีการแปลชื่อภาพยนตร์ไทยที่ในประเทศเวียดนาม สามารถแบ่งเป็น 10 กลุ่ม ได้แก่ 1. การทับศัพท์ทั้งหมด 2. การทับศัพท์บางส่วนและเสริมความภาษาเวียดนาม 3. การแปลตรงตัวทั้งข้อความและไม่มีการเสริมความภาษาเวียดนาม 4. การทับศัพท์บางส่วน แปลบางส่วนและเสริมความภาษาเวียดนาม 5. การแปลบางส่วน 6. การแปลบางส่วนและเสริมความภาษาเวียดนาม 7. การแปลบางส่วนและเสริมคำภาษาเวียดนามที่มีความหมายเหมือนกัน 8. การแปลโดยใช้คำภาษาเวียดนามที่มีความหมายเหมือนกัน 9. การตั้งชื่อใหม่โดยไม่เกี่ยวข้องกับชื่อเดิมแต่อิงจากเนื้อหาของเรื่อง 10. การตั้งชื่อใหม่โดยอ้างอิงจากเนื้อเรื่องของภาพยนตร์และเสริมการทับศัพท์คำในภาษาไทย

References

วัลยา ช้างขวัญยืน. (2549). บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 2: คำ การสร้างคำ และการยืนคำ. กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย
วรรณา แสงอร่มเรือง .(2545). ทฤษฎีและหลักการแปล Theories of Translation. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภวรรณ ทองวัน .(2555). กลวิธีการแปลชื่อภาพยนต์ตลกอเมริกันเป็นภาษาไทย. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปกร.
โตน บู่ย ทู เหื่อง. (2560). กลวิธีการแปลคำทางวัฒนธรรมจากภาษาเวียดนามเป็นภาษาไทย ในนวนิยายแปลเรื่อง ขอตั๋วหนึ่งใบกลับไปสู่วัยเด็ก และ ปิดตา เปิดหน้าต่าง. การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยการพัฒนาอาชีพ มหาวิทยาลัยศิลปกร.
สัญฉวี สายบัว. (2560). หลักการแปล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นพดล อินทร์จันทร์. (2554). ภาพยนตร์ไทย: พัฒนาการความคิดด้านศิลปวัฒนธรรมในสังคมไทย. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2563, จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/2491/1941
กุลฤดี นุ่มทอง และ อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2558). อุตสาหกรรมภาพยนตร์ยุคสื่อใหม่ในอาเซียน: ก้าวย่างใหม่สู่โลกออนไลน์และภูมิภาคอุษาคเนย์. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2564, จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcin/article/view/47737/39624
ชลีกาญจน์ จันทจำรัสรัตน์. (2562). กลวิธีการแปลชื่อภาพยนตร์แอ็คชั่นต่างประเทศเป็นภาษาไทย. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2563, จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/169903/129785
จินดาพร พินพงทรัพย์. (2561). กลวิธีการตั้งชื่อภาพยนตร์ไทยเป็นภาษาจีน. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2563, จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/157042/113898

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28