เทคนิคความจริงเสริมด้านสุขภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
เทคโนโลยีความจริงเสริม, เทคนิคความจริงเสริม, โปรแกรมประยุกต์, ผู้สูงอายุ, คู่มือบทคัดย่อ
งานวิจัย เรื่อง เทคนิคความจริงเสริมด้านสุขภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อออกแบบและสร้างคู่มือปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุเพื่อสุขภาพจิตและสุขภาพกายดีด้วย AR โดยนำเสนอข้อมูลผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ที่มี AR marker แสดงอยู่ ผ่านโปรแกรมประยุกต์เทคนิคความจริงเสริม (Augmented Reality : AR) บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ เพื่อศึกษาผลการประเมินความพึงพอใจของคู่มือปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุเพื่อสุขภาพจิตและสุขภาพกายดีด้วย AR โดยทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน
จากการออกแบบและสร้างคู่มือปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุเพื่อสุขภาพจิตและสุขภาพกายดีด้วย AR ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ โดยใช้โปรแกรมประยุกต์ AR บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ประกอบไปด้วยบทต่าง ๆ จำนวน 7 บทที่สำคัญต่อการดูและสุขภาพจิตและสุขภาพกายสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ 1. ด้านอาหารที่เหมาะสม 2. ด้านการออกกำลังกาย 3. ด้านการขับถ่าย 4. ด้านการนอน 5. ด้านอารมณ์และความเครียด 6. ด้านการเข้าสังคม และ 7. ด้านสิ่งแวดล้อมและการป้องกันการหกล้ม พร้อมเสียงบรรยาย และจากผลการวิจัยพบว่าความพึงพอใจในภาพรวมของกลุ่มผู้สูงอายุที่ได้ทดลองใช้คู่มือดังกล่าว มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
References
นริสา วงศ์พนารักษ์ และสายสมร เฉลยกิตติ. (2557). คุณภาพชีวิต : การศึกษาในผู้สูงอายุไทย. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3): 64-70.
บ้านเมือง. (2555). BNH Smart AR บริการสุขภาพผ่าน Smart Device. สืบค้น 5 กันยายน 2560, จาก http://www.banmuang.co.th/oldweb/2012/09/bnh-smart-ar/
ดุสิต ขาวเหลือง และอภิชาติ อนุกูลเวช. (2562). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้สามมิติแบบมีปฏิสัมพันธ์เสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยี ความเป็นจริงเสริม Augmented Reality (AR) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักศึกษาอาชีวศึกษาที่มีระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่างกัน(รายงานผลการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พนิดา ตันศิริ. (2556). โลกเสมือนผสานโลกจริง. วารสารนักบริหาร, 30(2): 169-175.
รักษพล ธนานุวงศ์. (2556). สื่อเสริมการเรียนรู้ โลกเสมือนผสมโลกจริง (Augmented Reality) ชุดการจมและ
การลอย. ใน นิตยสาร สสวท. (หน้า 28-31). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ สสวท.
วรลักษณ์ วงศ์โดยหวัง ศิริเจริญ. (2559). ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิศปัตย์ ชัยช่วย. (2560). การใช้ LINE ของผู้สูงอายุ: การศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา. วารสาร Veridian E Journalฯ (สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ), 10(1): 905-918.
ศิริสุข นาคะเสนีย์. (2561). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(1): 39-48.
อเนก พุทธิเดช, กานต์พิชชา แตงอ่อน และวาฤทธิ์ กันแก้ว. (2562). การพัฒนาบทเรียนเรื่องการประยุกต์ปริพันธ์จำกัดเขต โดยประยุกต์ใช้เทคนิคความจริงเสริมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน. (รายงานผลการวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
sanook. (2555). BNH Smart AR ต่อยอดประสบการณ์ดูแลผู้ป่วย ส่งตรงบริการสุขภาพ. สืบค้น
8 กันยายน 2563, จาก https://www.sanook.com/women/13840/
siamvr. (2559). เทคโนโลยี Virtual Reality สามารถเป็นผู้ช่วยให้กับกลุ่มผู้สูงอายุได้. สืบค้น 11 กันยายน 2563, จาก http://www.siamvr.com/reviews/vr-can-help-older-people
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ