พฤติกรรมการเปิดรับและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลการนวดแผนไทย ที่มีต่อความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของประชาชนในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ศุจินธรา อำนาจปลูก สาขาวิชาการสื่อสารวิทยาศาสตร์และสุขภาพ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ปรัชญา เปี่ยมการุณ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • จารุวัส หนูทอง วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

นวดแผนไทย, ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรม, นวดแผนไทยเพื่อสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) การศึกษาเปิดรับข้อมูลเกี่ยวกับการนวดแผนไทย 2) ศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการนวดแผนไทย 3) การใช้ประโยชน์จากสื่อที่ได้รับเกี่ยวกับข้อมูลการนวดแผนไทยของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยทั้งสองกลุ่มตัวอย่างจะต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป และเคยเข้ารับการบริการนวดแผนไทยมาก่อน โดยเก็บแบบสอบถามจำนวน 400 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 10 คน จากผลการวิเคราะห์เบื้องต้น พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีช่วงอายุ 20 - 30 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี สถานะโสดอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือน 20,001 - 30,000 บาท สำหรับพฤติกรรมการเปิดรับ ส่วนใหญ่มีการใช้สื่อในการเปิดรับข้อมูลการนวดแผนไทย มากที่สุดคือ สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) และมีการเปิดรับข้อมูลการนวดแผนไทย 1 - 2 วัน/สัปดาห์  ข้อมูลที่ประชาชนต้องการได้รับมากที่สุดคือ อาการที่สามารถรักษาด้วยการนวดแผนไทย ในส่วนของความต้องการใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมาก พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ สามารถนำความรู้การนวดแผนไทยมาประกอบการตัดสินใจในการเลือกสถานที่ให้บริการนวดแผนไทย รองลงมา คือ สามารถนำความรู้เกี่ยวกับการนวดแผนไทยไปปรับใช้ในการเข้ารับบริการนวดแผนไทยได้อย่างถูกต้อง

References

จุฑานาฏ อ่อนฉ่ำ. (2561). การศึกษาการนวดไทย 4 ภาค : การวิเคราะห์องค์ความรู้และการศึกษาวิธีการปฏิบัติเชิงประจักษ์. วารสารศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต. 11 (ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม พ.ศ. 2561).
วราพร ดำจับ. (2560). การสื่อสารในยุคดิจิทัล. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี. 3 (ฉบับที่ 1 กุมภาพันธ์ –พฤษภาคม พ.ศ. 2560).
อุราเพ็ญ ยิ้มประเสริฐ. (2557). รู้เท่าทันสื่อ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.).
สำนักบริหารและจัดการทรัพย์สินมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย. (2537). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2563, จาก
https://reg2.crru.ac.th/reg/files/20170831095118_dc7491610d3cb374c8d97f14d2454ae9.pdf.
ขวัญชัย วิศิษฐานนท์. (2562). สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางด้านยาไทยในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.crru.ac.th/2021/academic/detail?id=248.
กองยุทธศาสตร์บริหารจัดการ. (2562). สถิติกรุงเทพมหานคร 2562. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2563, จาก
http://www.bangkok.go.th/pipd/page/sub/16647/สถิติกรุงเทพมหานคร-2562.
กองสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ, (2561). สถานประกอบการที่ได้รับใบอนุญาต 2561. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2563, จาก http://spa.hss.moph.go.th.
อุษาวิตรี วงศ์เจริญ. (2564). การนวดไทยแบบราชสำนัก. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.gj.mahidol.ac.th/main/clinic/traditional-thai-clinic/
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2533). การสื่อสารกับสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 1. ed.): กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริวลัยย์ มณีศรีเดช และ สมิทธิ์ บุญชุติมา. (2559). การสำรวจการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพของประชาชนไทย. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา. 9(2): 75-86.
ปัทมา ศิริวรรณ. (2559). ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ และการใช้ยาสมุนไพร ของผู้ให้บริการและผู้รับบริการในโรงพยาบาลแม่ทา อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ถ่ายสำเนา
Taro Yamane. (1973 ). Statistics: An Introductory Analysis (pp.727-728). 3rdEd.New York : Harper and Row Publications.
Cronbach, L. J. (1974). Essential of Psychological Testing. New York: Harper&Row.
Huberman, A. M., & Mile, M. B. (1994). Data management and analysis methods. In N.K. Denzin & Y. S.
Lincoln (Eds.). Handbook of Qualitative Research (pp.413-427). Thousand Oaks, CA: Sage.
West, R.L.,&Turner, L.H. (2007). Introducing Communication Theory: Analysis and Application. New York, NY: McGraw-HillEducation.
Bloom, B. S. et al. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. 1stEd.New York : Mc Graw-Hill Book Company.
Klapper, J.T. (1960). The Effects of Mass Communication. New York: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-28