การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ และบริการข่าวสารในยุคดิจิทัลของสื่อท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • ปวีณา ชูรัตน์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อริน เจียจันทร์พงษ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

สื่อท้องถิ่น, ธุรกิจสื่อ, สังคมวิทยาวารสารศาสตร์, การรายงานข่าวยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ และบริการข่าวสารในยุคดิจิทัลของสื่อท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ และบริการข่าวสารในยุคดิจิทัลของสื่อท้องถิ่น 2 แห่ง คือ หนังสือพิมพ์โคราชคนอีสาน จังหวัดนครราชสีมา และเดอะอีสานเรคคอร์ด สำนักข่าวออนไลน์ตั้งอยู่ในจังหวัดขอนแก่น ใช้แนวคิดสังคมวิทยาวารสารศาสตร์ และการเสนอข่าวในยุคดิจิทัล วิเคราะห์เนื้อหาข่าวที่สื่อกลุ่มตัวอย่างนำเสนอ ระหว่างวันที่ 5 – 18 ตุลาคม 2563 และสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าของ บรรณาธิการบริหาร และบรรณาธิการข่าว  

ผลการศึกษาพบว่า หนังสือพิมพ์โคราชคนอีสานเป็นสื่อเชิงพาณิชย์ เน้นรายงานเหตุการณ์ทั่วไปทุกประเภทที่ประชาชนสนใจและเรื่องเศรษฐกิจ สาระสำคัญของการนำเสนอเป็นการรายงานตามเหตุการณ์ ส่วนเดอะอีสานเรคคอร์ดเป็นสำนักข่าวออนไลน์ วางตัวเองเป็นสื่อทางเลือกเพื่อคนอีสานที่อยู่ทุกพื้นที่ในโลก เน้นรายงานเฉพาะทาง (การเมือง) สาระสำคัญของการนำเสนอพยายามรายงานเชิงลึก ทั้ง 2 องค์กรปรับตัวเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจ และบริการข่าวสารในยุคดิจิทัล 3 ด้าน คือ 1) ปรับโครงสร้างการทำงานให้รองรับการรายงานบนแพลตฟอร์มออนไลน์ 2) ปรับตัวด้านงานข่าวโดยรายงานข่าวหลากรูปแบบ หลายแพลตฟอร์มอย่างเชื่อโยงกัน และ 3) ปรับตัวด้านธุรกิจ โดยควบคุมต้นทุนและพยายามหารายได้จากแหล่งใหม่  ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตเนื้อหา คือ เป้าหมายและการบริหารขององค์กรที่มีความแตกต่างกันซึ่งสัมพันธ์กับการหารายได้และความเป็นอิสระในการทำงานในฐานะสื่อวารสารศาสตร์ ความไม่มั่นคงทางด้านรายได้ที่สัมพันธ์กับการขยายงานเพื่อรองรับกับพฤติกรรมผู้อ่านในยุคดิจิทัลที่ติดตามข่าวทางสื่อออนไลน์เป็นหลักและมีความต้องการเฉพาะบุคคล และแรงกดดันทางการเมืองและกฎหมาย 

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2564). ฐานข้อมูลบริษัท บัฟฟาโล่ เบิร์ด โปรดักชั่นส์ จำกัด. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2564, จาก https://datawarehouse.dbd.go.th/company/profile/5/0395563000319

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2564). ฐานข้อมูลบริษัท ยืนหยัดชัดเจน จำกัด. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2564, จาก https://datawarehouse.dbd.go.th/company/profile/5/0305552001751

กองบรรณาธิการโคราชคนอีสาน. (2561). โคราชคนอีสาน ๔๔ ปีที่ยังหยัดยืน. นครราชสีมา: โคราชพริ้นติ้ง. (พิมพ์เนื่องในโอกาสหนังสือพิมพ์โคราชคนอีสานครบรอบ 44 ปี 1 กันยายน 2561).

กองบรรณาธิการจุลสารราชดำเนิน. (2562). เมื่อยังอยู่ก็ต้องสู้ต่อไปนสพ.ท้องถิ่น ในยุคถดถอย ขอสู้จนเฮือกสุดท้าย (1). สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2565, จาก https://www.tja.or.th/view/booklet/13964

กองบรรณาธิการนิตยสารอะเดย์. (2563). เดอะอีสานเรคคอร์ด สื่อที่ส่งเสียงความเป็นลาวอีสานให้คนได้รู้จัก. ในนิตยสารอะเดย์, 20(236): 148-149.

กิตติมา สุรสนธิ. (2558). บทที่ 1 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน. ใน ธุรกิจสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 3-32.

ดวงแก้ว เธียรสวัสดิ์กิจ. (2564). ถึงเวลามองปัญหาองค์กรข่าวด้วยกรอบแนวคิด Sociology of Journalism. ในวารสารศาสตร์, 14(2), 10-41.

เดอะอีสานเรคคอร์ด. (2564.) เกี่ยวกับเรา. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2564, จาก https://theisaanrecord.co/thai/

บรรยงค์ สุวรรณผ่อง และคณะ. (2551). รายงานการวิจัยเรื่องสถานภาพและบทบาทของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในประเทศไทย. สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย.

(พันธมิตร จันทร์รังสี. 2563, ธันวาคม) ผู้จัดการโรงพิมพ์และบรรณาธิการเว็บไซต์โคราชเดลี่. สัมภาษณ์โดย ปวีณา ชูรัตน์, มหาวิทยาลัยศิลปกร

พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช. (2542). ปฏิรูปสื่อมวลชนท้องถิ่น : ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมและผลักดันองค์กรปกครองท้องถิ่นให้มีอิสระตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: บริษัทดับเบิ้ลนายน์ พริ้นติ้ง จำกัด.

มติชนออนไลน์. (2564). หอสมุดแห่งชาติสหรัฐ เลือก ‘เดอะ อีสาน เรคคอร์ด’ เข้าคลัง ร่วมบันทึกปวศ.โลก. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2564, จาก https://www.matichon.co.th/politics/news_2705128

มาลี บุญศิริพันธ์. (2556). วารสารศาสตร์เบื้องต้น : ปรัชญาและแนวคิด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

(วิรดา รักษวุธ. 2563, ธันวาคม). บรรณาธิการหนังสือพิมพ์โคราชคนอีสาน. สัมภาษณ์โดย ปวีณา ชูรัตน์, มหาวิทยาลัยศิลปกร

(วีรภัทร์ จูฑะพงษ์. 2563, ธันวาคม) นักข่าวและช่างภาพหนังสือพิมพ์โคราชคนอีสาน. สัมภาษณ์โดย ปวีณา ชูรัตน์, มหาวิทยาลัยศิลปกร

ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. (2556). ปัจจัยแห่งความอยู่รอดของธุรกิจหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น. ใน วารสาร BU Academic Review, 12(1), 58-71.

ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง. (2562). Media Disruption: EP5 'สื่อสิ่งพิมพ์ไทย' ในยุค Disrupt ถึงจุดดิ่งสุดแล้วหรือยัง?. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2564, จาก https://www.tcijthai.com/news/2019/11/scoop/9541

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย. (2554). งานวิจัยแนะ “นสพ.ท้องถิ่น” เสนอข่าวปากท้อง – อาชีพ – เกษตร. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2564, จาก https://www.tja.or.th/view/activities/academic/6950fbclid=IwAR2JJMtKVdEMKw6QU3mEg89YpcWnMBuX3jAeHjFygzPkxzXxDlpkzPCVKeI

สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย. (2554). เปิดผลวิจัยการบริหารจัดการกิจการหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2564, จาก https://www.tja.or.th/view/activities/academic/6931fbclid=IwAR253Bm_xrwSL5Zcso3W_9tW8OohGEkWxNpKLQchFwcsqlLpU64SJEQJ8Bk

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). ETDA เผยผลสำรวจ IUB 63 คนไทยใช้เน็ตปังไม่ไหวเกือบครึ่งวัน โควิด-19 มีส่วน. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2564, จาก https://www.etda.or.th/th/newsevents/pr-news/ETDA-released-IUB-2020.aspx

(สุนทร จันทร์รังสี. 2563, ธันวาคม). ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าบรรณาธิการหนังสือพิมพ์โคราชคนอีสาน. สัมภาษณ์โดย ปวีณา ชูรัตน์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

(หทัยรัตน์ พหลทัพ. 2563, ตุลาคม). บรรณาธิการบริหารเดอะอีสานเรคคอร์ด. สัมภาษณ์โดย ปวีณา ชูรัตน์. มหาวิทยาลัยศิลปากร

(อดิเทพ จันทร์เทศ. 2563 ธันวาคม). ผู้สื่อข่าวเดอะอีสานเรคคอร์ด. สัมภาษณ์โดย ปวีณา ชูรัตน์. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อริน เจียจันทร์พงษ์. (2546). การเข้าถึงสื่อมวลชนกระแสหลักของสำนักข่าวประชาธรรม. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการสื่อสารมวลชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.

อีสานบิซ. (2560). หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรอดหรือไม่รอด. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2564, จาก https://www.esanbiz.com/5643

Bradshaw, P. (2007). A model for the 21st century newsroom: pt1 – the news diamond. Retrieved June 28, 2021, from https://onlinejournalismblog.com/2007/09/17/a-model-for-the-21st-century-newsroom-pt1-the-news-diamond/

Feldman, S. (2018). Where Are the News Deserts in the United States?. Retrieved March 1, 2021, from https://www.statista.com/chart/16103/news-deserts-us/

Franklin, B., and Murphy, D. (1991). What News?: the market, politics and the local press. London: Routledge.

McQuail, D. (2010). Mass Communication Theory. 6th Edition. Los Angeles, London, New Delhi, Singapore and Washington DC: SAGE Publications Ltd.

Shoemaker, P.J., and Reese, S.D. (1996). Mediating the Message: Theories of Influences on Mass Media Content. 2nd Edition. USA: Longman.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28