การสร้างสรรค์สื่อแอนิเมชัน 2 มิติ เพื่อนำเสนอประเพณีผีตาโขนสู่กลุ่มเจเนอเรชันแซด

ผู้แต่ง

  • ศุภัชฌา ใช้สติ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • เสาวลักษณ์ พันธบุตร วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

แอนิเมชัน 2 มิติ, ประเพณีผีตาโขน, เจเนอเรชันแซด

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอประเพณีผีตาโขนสู่กลุ่มเจเนอเรชันแซดผ่านสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ มีความมุ่งหมายให้กลุ่มเจเนอเรชันแซดเกิดทัศนคติที่ดี มีความต้องการท่องเที่ยวในประเพณี และตัดสินใจเดินทางไปเยี่ยมชมประเพณีผีตาโขนในลำดับต่อไป โดยได้สำรวจความคิดเห็นและทัศนคติของเจเนอเรชันแซดที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีอายุระหว่าง 15-22 ปี ที่มีต่อประเพณีผีตาโขน ด้วยแบบสอบถามออนไลน์และใช้วิธีการสุ่มแบบสะดวก จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาสร้างสรรค์สื่อแอนิเมชัน 2 มิติ ในประเด็นสิ่งแวดล้อมเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงและเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างได้เป็นอย่างดี โดยผลงานสำเร็จมีความยาว 3 นาที 23 วินาที และให้ผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มเจเนอเรชันแซดประเมินประสิทธิภาพสื่อ ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการรับชมสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ กลุ่มเจเนอเรชันแซดรู้จักประเพณีผีตาโขน ร้อยละ 93 ไม่ทราบความเป็นมาของประเพณี ร้อยละ 55 ไม่เคยมีประสบการณ์ร่วมในประเพณี ร้อยละ 92 มีทัศนคติเป็นบวกต่อประเพณี ร้อยละ 51 และสนใจเยี่ยมชมประเพณี ร้อยละ 76 หลังการรับชมสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ พบว่า กลุ่มเจเนอเรชันแซดพึงพอใจกับการนำเสนอวัฒนธรรมด้วยสื่อแอนิเมชันที่มีเนื้อหาระยะสั้นกระชับ เข้าใจง่าย ตรงประเด็นและไม่ซับซ้อน การเล่าเนื้อเรื่องด้วยการเปรียบเทียบเป็นโลกคู่ขนาน และดนตรีร่วมสมัยที่ผสมผสานระหว่างดนตรีสมัยนิยมกับเครื่องดนตรีภายในวัฒนธรรม

References

จ๊อบส์ ดีบี. (2559). 6 เคล็ดลับฝึกทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564, จาก https://th.jobsdb.com/th-th/articles/ฝึกทักษะด้านการสื่อสาร/

ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน. (2562). Subtitle จำเป็นแค่ไหน. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.rainmaker.in.th/do-we-need-subtitle/

ทัตพร สกุลรักอรุโณทัย. (2558). พิธีกรรมจากประเพณีผีตาโขนสู่เครื่องประดับร่วมสมัย ภาควิชาการออกแบบเครื่องประดับ. ปริญญาศิลปบัณฑิต (ออกแบบเครื่องประดับ). กรุงเทพฯ: คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิตยสารโพซิชั่นนิ่ง. (2563). 7 แนวทาง’ ซื้อใจ ‘GEN Z’ วัยที่ใช้ Passion ขับเคลื่อน ‘โลก’ และ ‘แบรนด์’. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564, จาก https://positioningmag.com/1267838

พงศทร พินิจวัฒน์. (2548). ศิลปกรรมท้องถิ่น : กรณีศึกษาหน้ากากผีตาโขน อําเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (ศิลปศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พรรษกฤช ศุทธิเวทิน. (2559). กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อประชากรรุ่นแซด ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

รีเสิร์ชเชอร์ ไทยแลนด์. (2563). ความเชื่อมโยงของสีสันกับอารมณ์. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.facebook.com/ResearcherThailand/posts/2678458882420069

วฤตดา วรอาคม. (2557). 5 อินไซต์เจเนอเรชั่นซี. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/591770

ศิริจรรยา เครือวิริยะพันธ์. (2563). รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคกลุ่มเจเนอเรชั่นแซท. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 11(1), 23-43.

ศุภัชฌา ใช้สติ. (2563). The Last Wish - MV Animation.mp4. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564, จาก https://drive.google.com/file/d/1mRnJ6133ArfVsUAleyKM4GbkJkE8o0Xi/view?usp=sharing

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2562. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2563, จาก https://www.etda.or.th/publishing-detail/thailand-internet-user-behavior-2019.html

สุจิรา ถนอมพร และคณะ. (2560). การออกแบบเลขนศิลป์สิ่งแวดล้อมเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ชุมชนหลังวัดปากบ่อ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร. ในเอกสารการประชุมทางวิชาการ นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 13: วิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม. หน้า 1784-1806. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

โสพิส เกษมสหสิน. (2560). กลยุทธ์ด้านการตลาด จับทางผู้บริโภค Gen Z. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/640449

ออฟฟิศเมท. (2561). เพิ่มสีสัน สร้างเทคนิคการจำให้สมอง. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564, จาก

https://www.officemate.co.th/blog/สีสัน-เทคนิคการจำ/

เอสเอ็มอี ไทยแลนด์. (2561). 7 เหตุผล ทำไมวิดีโอต้องมี Subtitle. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.smethailandclub.com/marketing-3337-id.html

Evershed, Megan. (2019). The musical genre is dead, Gen z killed it. Retrieved May 1, 2021, from https://i-d.vice.com/en_uk/article/597z88/gen-z-music-genre-lil-nas-x-billie-eilish-sofia-reyes?utm_campaign=sharebutton&fbclid=IwAR1JZcSOV5TiWTqGmod4emGHZFNX6CmQXMMLctdMzmHf7mIb6b4TDYKuKwU

Jurado, Jose. (2020). Gen Z music: the songs and artists that shape us. Retrieved May 1, 2021, from https://www.carbonmagazine.co.uk/inspire-me/5-songs-that-define-gen-z/

Miraculous Mosquito. (2013). How To Use Line Thickness to Create the Illusion of Distance. Retrieved May 1, 2021, from http://miraculousmosquito.blogspot.com/2013/07/how-to-use-line-thickness-to-create.html

Taylor, Conrad. (2003). Line thickness, a means of expression. Retrieved May 1, 2021, from https://www.conradiator.com/resources/pdf/Linethicknesses.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28