การสื่อสารประเด็นสังคมของเพจสายดาร์กในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ศึกษาเฉพาะกรณี “เพจอีจัน”

ผู้แต่ง

  • ภัทราพร เจริญรัตน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

กระบวนการสื่อสาร, ประเด็นสังคม, สังคมออนไลน์, เพจสายดาร์ก, เฟซบุ๊กเพจอีจัน

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องการสื่อสารประเด็นสังคมของเพจสายดาร์กในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ศึกษาเฉพาะกรณี เพจอีจัน เป็นงานวิจัยแบบผสม มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการสื่อสาร การนำเสนอข้อมูลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ (2) ศึกษาปัจจัยความสำเร็จซึ่งจะเป็นแนวทางในการจัดทำเฟซบุ๊กเพจที่มีผู้ติดตามจำนวนมากและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยใช้แบบวิเคราะห์เนื้อหา แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถาม ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่าค่าความแตกต่างของตัวแปรเรื่องอายุและระดับการศึกษาของผู้รับสารส่งผลต่อพฤติกรรมการรับรู้ ความพึงพอใจ และความคิดเห็นที่มีต่อประเด็นการสื่อสาร ส่วนระยะเวลาที่ผู้รับสารได้ติดตามเฟซบุ๊กเพจอีจัน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .253 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ คือ ระยะเวลามีผลต่อการรับรู้ ความพึงพอใจ และความคิดเห็นของผู้รับสาร ผลวิจัยเชิงคุณภาพตอบคำถามการวิจัยได้ ดังนี้ (1) กระบวนการสื่อสารของเฟซบุ๊กเพจอีจันใช้หลักทฤษฎีทางนิเทศศาสตร์ โดยมีการวิเคราะห์เนื้อหาสารก่อนส่งสารไปยังผู้รับสารผ่านช่องทางต่าง ๆ และมีการวิเคราะห์ผู้รับสารก่อนและหลังการส่งสาร (2) ปัจจัยที่ทำให้เฟซบุ๊กเพจอีจันประสบความสำเร็จ คือ การนำเสนอที่รวดเร็ว มีนักข่าวลงพื้นที่จริง เลือกเสนอประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อผู้รับสารโดยตรง ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย มีรูปภาพที่ไม่ซ้ำกับเพจอื่น นำเสนอข้อมูลรูปแบบคลิปวิดีโอที่ทีมงานจัดทำขึ้นใหม่ ใช้เครื่องหมายแฮชแท็กเพื่อไม่ให้ตกกระแสนิยมและเพื่อประโยชน์ในการสืบค้น เลือกใช้โลโก้ของเพจที่เข้าใจง่าย ชัดเจน ทำให้เกิดการจดจำได้ดี

References

กฤชอรรณัฐ แสงโชติ. ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กเพจอีจัน. บริษัท ซิกซ์ ฟิงเกอร์ มีเดีย จำกัด. สัมภาษณ์วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562.

กรุงเทพธุรกิจ. (2560). อุตสาหกรรมสื่อเดินหน้าออนไลน์ชิงเค้กโฆษณา. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2561, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/777954

ฐิติกานต์ นิธิอุทัย. (2554). Facebook Marketing. กรุงเทพฯ: ดรีม แอนด์ แพชชั่น. ทัศน์สุมา สมานมิตร. บรรณาธิการและแอดมินเฟซบุ๊กเพจอีจัน. บริษัท ซิกซ์ ฟิงเกอร์ มีเดีย จำกัด. สัมภาษณ์ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562.

ปณิชา นิติพรมงคล. (2555). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพ มหานคร. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2561, จาก https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/997/630/original_20140217221139.pdf?1392649899

รัตติยา อังกุลานนท์. (2560). สื่อดิจิทัล ไตรมาสแรกยังแรง. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2561, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/641059

สมปรารถนา นาวงษ์. ผู้บริหารและเจ้าของบริษัทอีจัน. บริษัท ซิกซ์ ฟิงเกอร์ มีเดีย จำกัด. สัมภาษณ์วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2560). คนไทยใช้เน็ตอย่างไร? ในปี 60. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2561, จาก https://www.etda.or.th/content/thailand-internet-user-profile-2017

อานุรักษ์ เขื่อนแก้ว และ อัจฉรา ปัณฑรานุวงศ์. (2563, พฤษภาคม-สิงหาคม). พื้นที่การแสดงออกต่อข่าว เกี่ยวกับความรุนแรงในเฟซบุ๊กแฟนเพจประเภทข่าว. วารสารศาสตร์. 13(2): 74-129.

Brandbuffet. (2561). สถิติผู้ใช้ดิจิทัลทั่วโลก “ไทย” เสพติดเน็ตมากสุดในโลก-“กรุงเทพ” เมืองผู้ใช้ Facebook สูงสุด. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2561, จาก https://www.brandbuffet. in.th/2018/02/global- and-thailand-digital-report-2018/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-18