การสื่อสารในภาวะวิกฤตและการฟื้นฟูภาพลักษณ์ของสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ชญา ภมรพล คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เจษฎา ศาลาทอง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การสื่อสาร, การสื่อสารในภาวะวิกฤต, การฟื้นฟูภาพลักษณ์, การปรับภาพลักษณ์, สื่อมวลชน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารในภาวะวิกฤตของสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี และเพื่อ (2) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อฟื้นฟูภาพลักษณ์ของสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาการสื่อสารจากเนชั่นทีวีที่มีการสื่อสารในประเด็นการจัดการภาวะวิกฤตและการสื่อสารเพื่อฟื้นฟูภาพลักษณ์ และการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากรระดับสูงของเนชั่นทีวีในด้านการตัดสินใจเชิงนโยบายและวางแผนการสื่อสาร

ผู้วิจัยเลือกศึกษาภาวะวิกฤตของเนชั่นทีวีที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม ปี 2563 ซึ่งเกิดเหตุการณ์ที่ผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยใช้แฮชแท็ก #แบนเนชั่นทีวี #แบนสปอนเซอร์เนชั่นทีวี ประกอบการโพสต์ข้อความเพื่อต่อต้านเนชั่นทีวี นำไปสู่การเรียกร้องให้ผู้คนในโลกออนไลน์เลิกสนับสนุนสินค้าและบริการของแบรนด์ที่เป็นสปอนเซอร์โฆษณาผ่านรายการของเนชั่นทีวี รวมถึงเรียกร้องให้สปอนเซอร์ที่เป็นสปอนเซอร์ถอนโฆษณาออกจากรายการของสถานี จากกระแสการต่อต้านทำให้เนชั่นทีวีได้รับผลกระทบเชิงลบต่อภาพลักษณ์การดำเนินงานด้านข่าวสาร รวมถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในองค์กร

ข้อค้นพบจากการศึกษาวิจัยพบว่า เนชั่นทีวีมีกลยุทธ์การสื่อสารในภาวะวิกฤตสามกลยุทธ์หลัก คือ การย้ำเตือนถึงจุดยืนขององค์กร การแสดงเป็นผู้เสียหายและการปฏิเสธข้อกล่าวหาที่มีต่อองค์กร และมีการปรับแนวทางการสื่อสารที่เน้นการแก้ไขความผิดพลาดแทนที่การตอบโต้วิกฤตในเชิงลบ ในส่วนการปรังปรุงภาพลักษณ์ พบว่า มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขภาพลักษณ์ที่ไม่พึงประสงค์จากวิกฤต นำเสนอวิสัยทัศน์การกลับมายึดหลักสื่อสารมวลชนที่ดี เน้นการสร้างกลุ่มผู้ชมที่เป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ โดยข้อเสนอแนะจากการศึกษาในครั้งนี้นำเสนอถึงบริบทและการจัดการภาวะวิกฤตในบริบทสมัยใหม่ที่มีการตรวจสอบสื่อจากภาคประชาสังคมเข้มข้น รวมถึงการฟื้นฟูภาพลักษณ์องค์กรและแบรนด์เนชั่นทีวีอย่างยั่งยืน

References

กัญชลี สำลีรัตน์. (2560). เอกสารการสอนวิชาการประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อดิจิทัลและการจัดการภาวะวิกฤต:Crisis management on social media. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

ตรีพล พรมสุวรรณ. (2549). การปรับภาพลักษณ์ตราสินค้าสถานีวิทยุโทรทัศน์ : กรณีศึกษาสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (การบริหารสื่อสารมวลชน). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2550). พลิกโฉมองค์กรด้วยกลยุทธ์การสื่อสารชั้นเซียน กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ฐานการพิมพ์.

ภานุพงษ์ ทินกร. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปัญหาด้านจรรยาบรรณสื่อโทรทัศน์. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34 (109).

มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2559). กลไกการตรวจสอบสื่อภาคประชาชน. กรุงเทพฯ: กสทช.

วรวรรณ องค์ครุฑรักษา. (2561). การบริหารภาพลักษณ์และเอกลักษณ์ที่พึงประสงค์ของสินค้าและองค์กร. กรุงเทพฯ: โครงการตำรา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สกุลศรี ศรีสารคาม. (2560). กระบวนการของสื่อสังคมในการกำหนดวาระข่าวสารเพื่อการขับเคลื่อนประเด็นสังคม สู่การรับรู้และการเปลี่ยนแปลง. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1), 241-245.

Berglez , P., Olausson, U., & Ots, M. (2017). What Is Sustainable Journalism?: Integrating the Environmental, Social, and Economic Challenges of Journalism Switzerland: Peter Lang Inc., International Academic Publishers.

Dennis, L. W. (2000). Public Relations: Strategies and Tactics. 6th Ed. New York: Longman.

Jeffrey, C. A. (2015). The Crisis of Journalism Reconsidered: Cultural Power. Fudan Journal of the Humanities and Social Sciences, 8(1). Retrieved April 9, 2021, from https://ccs.yale.edu/sites/default/files/files/Alexander%20Articles/2015_TheCrisisOfJournalismReconsidered_FudanJournal.pdf

Kreiss, D. (2016). Beyond administrative journalism: Civic skepticism and the crisis in journalism. The Crisis of Journalism Reconsidered: Democratic Culture, Professional Codes, Digital Future. Cambridge: Cambridge University Press. Retrieved April 9, 2021, from https://www.cambridge.org/core/books/crisis-of-journalism-reconsidered/DB77E1F50B2EEE65BB7E373E72A8B0F6

Newsom, D., Vanslyke, J., & Kruckeberg, D. (2012). This is PR: The Realities of Public Relations.11th Ed. United State of America: Wadswoth Publishing Company.

Stephen, R. D. (2021). The crisis of the institutional press. United Kingdom: Polity Press.

Tevi, A., & Otubanjo, O. (2013). Understanding Corporate Rebranding: An Evolution Theory Perspective. International Journal of Marketing Studies, 5(3), Retrieved April 9, 2021, from https://www.researchgate.net/publication/314552469_Understanding_Corporate_Rebranding_An_E volution_Theory_Perspectiv

Timothy, W. C. (2015). Ongoing Crisis Communication:Planning,Managing, and Responding.4th Ed. United States of America: SAGE Publications.

Timothy, W. C. (2007). Protecting Organization Reputations During a Crisis:The Development and Application of situation Crisis Communication Theory. Corporate Reputation Review, 10(3), Retrieved April 9, 2021, from https://www.researchgate.net/publication/247478499_Protecting_Organization_Reputations_During_a_Crisis_The_Development_and_Application_of_Situational_Crisis_Communication_Theory

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28