การสื่อสารในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • ชัชฎา อัครศรีวร นากาโอคะ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กฤชณัท แสนทวี วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, ภาพลักษณ์การท่องเที่ยว, จังหวัดสระแก้ว

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคิดเห็นต่อการสื่อสารการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสระแก้ว 2) ความคิดเห็นต่อการสื่อสารภาพลักษณ์ทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสระแก้ว 3) อิทธิพลของเครื่องมือการสื่อสารการท่องเที่ยวต่อภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดสระแก้ว โดยการวิจัยเชิงปริมาณและใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล จากนักท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว จำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีเทสต์ การทดความความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ สถานภาพสมรส และมีพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศแตกต่างกัน จะมีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของ จังหวัดสระแก้ว โดยรวม แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ยกเว้นกลุ่มตัวอย่างที่เคยและไม่เคยเดินทางไปจังหวัดสระแก้ว ไม่แตกต่างกัน รวมทั้ง  กลุ่มตัวอย่างที่มีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ แตกต่างกัน จะมีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และการใช้เครื่องมือการสื่อสาร แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

            นอกจากนี้ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณอิทธิพลของการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ต่อภาพลักษณ์ แบบจำลองที่ดีที่สุด ประกอบด้วย 1) การท่องเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว สามารถส่งเสริมให้ผู้ท่องเที่ยวและเจ้าของบ้านมีความผูกพันระหว่างกันได้ 2) การท่องเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว สามารถสร้างการจดจำ ความประทับใจประทับใจ และสร้างความเข้าใจให้กับนักท่องเที่ยวได้ 3) การท่องเที่ยวในจังหวัดสระแก้ว ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน/ส่งผ่าน-ส่งต่อประสบการณ์ของคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว ได้ร้อยละ 58 (Adjusted R Square = 0.58) ส่วนแบบจำลองอิทธิพลของเครื่องมือการสื่อสารต่อภาพลักษณ์ ได้ดีที่สุด ประกอบด้วย 1) ควรใช้การบอกต่อกันของนักท่องเที่ยว เป็นวิธีการสื่อสารในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของ จังหวัดสระแก้ว 2) ควรใช้ สื่อสังคมออนไลน์ หรือ Social Media เป็นวิธีการสื่อสารในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของ จังหวัดสระแก้ว 3) ควรใช้การส่งเสริมการตลาด เป็นวิธีการสื่อสารในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของ จังหวัดสระแก้ว ได้ร้อยละ 24 (Adjusted R Square = 0.24)

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2561. สรุปสถานการณ์พักแรม จำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน ม.ค.-ธ.ค. 2561 (15 มี.ค. 2562).

กฤชณัท แสนทวี. (2562). แนวทางการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหารในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 7(2), 59-70.

กฤชณัท แสนทวี. (2560). แนวทางการสร้างภาพลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนเชียงของ. รายงานการวิจัย, วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2554). ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

ญาดา กุลกฤษฎา และ ชำนาญ งามมณีอุดม. (2558). การยอมรับและการใช้สื่อออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2562, จากhttp://www.ex-mba.buu.ac.th/ACADEMIC/Poster2015/poster033.pdf.

ณัฐพงศ์ รักงาม. (2559). แนวคิดอัตลักษณ์ท้องถิ่นภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 5(2), 1-14

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว = Tourism industry. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิชาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ภิเษก ชัยนิรันดร์. (2556). E-Commerce และ Online Marketing. กรุงเทพมหานคร: โปรวิชัน.

ละเอียด ขจรภัย. (2562). รูปแบบการสื่อสารเพื่อการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนแบบร่วมมือทุกภาคส่วนในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(1), 126-140.

สถาบันดำรงราชานุภาพ. (2559). MOI’S 4.0 Grow Up Together. วารสารดำรงราชานุภาพ. 18(56), 1-73.

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคณะ. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2554). การจัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2555-2559). รายงานประจำปี.

สำนักงานสถิติจังหวัดสระแก้ว. (2558). ยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาจังหวัด พ.ศ. 2558-2561. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2561, จาก http://sakaeo.nso.go.th/.

Duncan, T. (2008) Advertising & IMC. McGRAW-HILL. US

Grgona, J. (2007). Significance of Marketing Communication in The Tourism Market. DAAAM International Scienctific Book. Veinna, Austria.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29