แนวทางการออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับการท่องเที่ยวแนวเนิบช้า กรณีศึกษาจังหวัดตรัง
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวแนวเนิบช้า, ตราสัญลักษณ์, จังหวัดตรังบทคัดย่อ
การท่องเที่ยวแนวเนิบช้าเป็นการท่องเที่ยวทางเลือกที่มุ่งเน้นการเพิ่มประสบการณ์มากกว่าปริมาณกิจกรรม เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนในท้องถิ่นและท่องเที่ยวอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนา
การท่องเที่ยวแนวเนิบช้าจำเป็นต้องสร้างอัตลักษณ์ให้กับสถานที่ท่องเที่ยวนั้นๆ การสร้างตราสัญลักษณ์จึงถือเป็นกระบวนการสำคัญและควรที่จะศึกษา งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นเพื่อหาแนวทางการออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับการท่องเที่ยวแนวเนิบช้า กรณีศึกษาจังหวัดตรัง โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาหาอัตลักษณ์ของจังหวัดตรัง
2) เพื่อค้นหาแนวทางการออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับการท่องเที่ยวแนวเนิบช้า กรณีศึกษาจังหวัดตรัง วิธีวิจัยประกอบด้วย การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม (Questionnaires) จากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 9 ท่านแบ่งเป็น 3 ท่านต่อแบบสอบถาม 1 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามที่ 1 การท่องเที่ยวแนวเนิบช้า แบบสอบถามที่ 2 อัตลักษณ์จังหวัดตรัง และแบบสอบถามที่ 3 ลักษณะของการท่องเที่ยวแนวเนิบช้าและอัตลักษณ์จังหวัดตรัง ซึ่งในแบบสอบถามมีการใช้ตราสัญลักษณ์ที่มีแนวปฏิบัติเป็นเลิศ (Best practices) ประกอบ ผลการวิจัยพบว่า 1) จังหวัดตรังมีอัตลักษณ์โดดเด่นทั้งหมด 12 อัตลักษณ์ ได้แก่ ถ้ำมรกต รถตุ๊กตุ๊กหัวกบ หอนาฬิกาเมือง หมูย่างเมืองตรัง ขนมเค้กเมืองตรัง ผ้าทอนาหมื่นศรี ยางพาราต้นแรก สถานีรถไฟกันตัง ประเพณีแลลูกลม ผลิตภัณฑ์ไม้เทพทาโร พะยูน และวัฒนธรรมการรับประทานอาหารเช้า 2) แนวทางการออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับการท่องเที่ยวแนวเนิบช้า กรณีศึกษาจังหวัดตรัง ประกอบไปด้วยผลจากการวิเคราะห์ด้วยเกณฑ์ทางเรขศิลป์ 5 เกณฑ์ ดังนี้ คือ 1) ชนิดของตราสัญลักษณ์ควรเป็นแบบ pictorial name mark 2) ประเภทของสัญญะควรเป็นแบบ icon 3)แนวโน้มของตราสัญลักษณ์ (Logo trend) ควรเป็นแบบ nature-inspired 4) ทฤษฎีเกสตอลท์ (Gestalt) ที่ควรใช้ คือ มีความสมมาตรแบบ reflective มี figure ground แบบ stable และมีการใช้หลักของ proximity ร่วมด้วย และ 5) องค์ประกอบพื้นฐานทางการออกแบบอื่นๆ เช่น เส้นแบบโค้ง ชุดสีแบบเอกรงค์ รูปร่างเรขาคณิต และอักษรแบบไม่มีเชิง โดยคำตอบที่ได้นี้จะเป็นแนวทางในการออกแบบตราสัญลักษณ์ ซึ่งจะสามารถช่วยประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวแนวเนิบช้าในจังหวัดตรังให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวได้ และหวังว่าแนวทางนี้จะเป็นองค์ความรู้สำหรับผู้ที่สนใจ นำไปใช้ในการริเริ่มการออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับแหล่งท่องเที่ยวแนวเนิบช้าที่อื่นๆได้ในอนาคตอีกด้วย
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (2562). "สรุปแผนปฏิบัติการส่งเสริมการท่องเที่ยวประจำปี 2562."
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (2562). "กลยุทธ์กระจายพื้นที่และช่วงเวลาในการท่องเที่ยว." แผนปฏิบัติการของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย: 81.
คล้ายสังข์, ส. (2563). ทฤษฏีสี. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2563, จาก http://www.elfms.ssru.ac.th/somsak_kl/file.php/1/2_2563
ททท.สำนักงานตรัง (2561). ตรัง. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, กองข่าวสารท่องเที่ยว.
ทองสง, ช. (2558). "แนวคิดการพัฒนา Slow Tourism ในประเทศไทย." วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา 12(2).
พิชญ์ดำรง, น. ส. น. (2544). "ทุนวัฒนธรรมของเศรฐกิจสร้างสรรค์." อนุสาร อ.ส.ท 47(4), 13-18.
มณีวรรณ ชาตวนิช, ส. ช. ช. (2561). "อิทธิพลของสัญศาสตร์ต่อภาพความจดจำในแหล่งท่องเที่ยวผ่านทุนทางปัญญาและวัฒนธรรม." Dusit Thani Collge Journal 1(2).
ศรีกัลยาณบุตร, อ. (2541). การออกแบบตราสัญลักษณ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อเนกสุข, บ. ณ. (2560). "การท่องเที่ยวแบบเนิบช้า(Slow travel): นิยามและแนวคิด." วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ 8(1).
Enchev, L. (2021). "Logo Design Trends in 2021." สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2021, จาก https://graphicmama.com/blog/logo-design-trends-2021/.
Dickinson, J. E. (2011). "Slow travel: Issues for tourism and climate change." Journal of Sustainable Tourism(19), 281-300.
Lupton, E. (2017). Graphic Design The New Basics, IDC premier.
Peekung (2540). "เอกลักษณ์สำคัญของท้องถิ่นตรัง". สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2540, จาก http://www.iamtrang.com/content-all.php?m_id=75.
Peirce,Charles S. (1955). “Philosophical Writings of Peirce”. Selected and Edited with an Introduction by Justus Buchler. New York: Dover Publication.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ