แรงบันดาลใจจากจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์จังหวัดน่าน สู่นวัตกรรมเพื่อให้ความรู้และส่งเสริมการท่องเที่ยว

ผู้แต่ง

  • สุชาติ อิ่มสำราญ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • โสมฉาย บุญญานันต์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, ส่งเสริมการท่องเที่ยว, จิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์จังหวัดน่าน, งานศิลปะสื่อผสม, หนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์จังหวัดน่านเป็นงานศิลป์ที่ทรงคุณค่า นอกจากจะมีอายุที่ยาวนานแล้ว ภาพจิตรกรรมยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจควรค่าแก่การศึกษา วัตถุประสงค์ของการวิจัยจึงเพื่อ (1) ศึกษาเนื้อเรื่องและสิ่งที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์จังหวัดน่าน (2) พัฒนานวัตกรรมที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดน่าน โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามความคิดเห็น กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่จังหวัดน่าน นักท่องเที่ยว ผู้สนใจในเนื้อเรื่องที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ และคนในพื้นที่จังหวัดน่าน ผลการวิจัย พบว่า (1) ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ เริ่มต้นจากผนังด้านทิศเหนือ ทิศตะวันออก ทิศใต้และทิศตะวันตกบางส่วนจะเป็นเรื่อง “คัทธนกุมารชาดก” ที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาเนื่องจากเป็นเรื่องเล่าในท้องถิ่น ส่วนภาพจิตรกรรมมีการจัดองค์ประกอบไม่เรียงตามลำดับตอน แต่จะจัดแบบวกวนไปมา คำนึงเพียงให้ภาพองค์ประกอบรวมของจิตรกรรมดูสวยงามเมื่ออยู่บนผนัง ซึ่งบางตอนอาจไปอยู่ผนังอีกด้านหนึ่ง (2) นวัตกรรมประกอบด้วยงานศิลปะสื่อผสม ขนาด 1.5 x 2 เมตร ที่เล่าเรื่องคัทธนกุมารชาดก และหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง “คัทธนกุมารชาดก” โดยใช้ภาพประกอบจากงานศิลปะสื่อผสมดังกล่าว  (3) ผลการเผยแพร่นวัตกรรม ปรากฏว่าผู้ชมสนใจงานศิลปะสื่อผสมเป็นอันดับแรกเนื่องจากมีขนาดใหญ่ และมีรายละเอียดที่สวยงาม หลังจากนั้นจึงอ่านเนื้อเรื่องในหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถแบ่งปันส่งต่อให้กับผู้อื่นที่สนใจ ทำให้ง่ายต่อการเผยแพร่และเข้าถึง ซึ่งเมื่อทราบเนื้อเรื่องในจิตรกรรมฝาผนังต่างก็สนใจในวัดภูมินทร์เพิ่มมากขึ้น และต้องการเดินทางไปชมสถานที่จริง

References

จังหวัดน่าน. (2563). บรรยายสรุปจังหวัดน่าน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2564, จาก http://www.nan.go.th/about-detail/391/

จิรศักดิ์ เดชวงค์ญา. (2546). จิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน: การศึกษาครั้งล่าสุด. วารสารเมืองโบราณ, 29(4).

ฉัตรสุรางค์ แก้วเป็นทอง. (2556). การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ กับจิตรกรรมฝาผนังวัดหนองบัว จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (ภาควิชาทฤษฎีศิลป์). กรุงเทพ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ถ่ายเอกสาร.

เทิดศักดิ์ อินแสง. เจ้าของพิพิธภัณฑ์ผ้าโบราณฝ้ายเงิน บ้านนาผา ต.กองควาย อ.เมืองน่าน จ.น่าน. สัมภาษณ์วันที่ 22 กันยายน 2561.

ประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน. (2563). น่านเปิดงานมหกรรมหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านเมืองน่าน ไปสู่เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2564, จาก https://www.facebook.com/nanprovince.

พระครูสมุห์พนัส ทิพฺพเมธี. (2555). คัทธนกุมารชาดก ฉบับวัดน้ำลัด อ.ภูเพียง จ.น่าน. เชียงใหม่: แม็กซ์พริ้นติ้ง.

ภาณุพงษ์ ณาภูมิ. (2554). การศึกษาผ้าซิ่นโบราณของล้านนาในจังหวัดน่าน จากภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต (ภาควิชาโบราณคดี). กรุงเทพ: คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. ถ่ายเอกสาร.

วินัย ปราบริปู. (2552). จิตรกรรมฝาผนังเมืองน่าน. กรุงเทพ: หอศิลป์ริมน่าน.

ศศิมา สุขสว่าง. (2563). What is Innovation. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2563, จาก https://www.sasimasuk.com/16521530/นวัตกรรมคืออะไร-what-is-innovation.

สน สีมาตรัง. (2526). โครงสร้างจิตรกรรมฝาผนังลานนา. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2538). พื้นเมืองน่าน ฉบับวัดพระเกิด. เชียงใหม่: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักศิลปากรที่ 7 น่าน. (2555). ผ้าพื้นเมือง งานหัตถศิลป์ถิ่นน่าน. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.

อุดมชัย บุญรอด. (2558). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Book. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2561, จาก https://sites.google.com/site/udomchaiboonrod/system/app/pages/recentChanges.

Kornkanok Nindum. (2021). Innovative Storytelling to Add Value to Homestay Tourism. PSAKU International Journal of Interdisciplinary Research. 10(1), 12-21.

Lee-Yun Pan and Kuan‐Hung Chen. (2019). A Study on the Effect of Storytelling Marketing on Brand Image, Perceived Quality, and Purchase Intention in Ecotourism. Foundation Environmental Protection & Research-FEPR. 28(107), 705-712.

NAN A Day. (2560). จิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน (ปัญญาสชาดก). สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2561, จาก https://www.youtube.com/watch?v=k6 Dn8bAuRSo.

Posttoday. (2564). "เชียงใหม่" อันดับ 1 คนอยากไปเที่ยวช่วงปีใหม่มากสุด. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2564, จาก https://www.posttoday.com/social/general/670391

Shaimaa Nagib. (2021). Using Rumours and Dark Stories to Promote Tourism: Applied to Egyptian dark tourism sites. JAAUTH. 20(1), 27-36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29