การพัฒนาแบบวัดความเสี่ยงต่อการถูกล่อลวงบนสื่อดิจิทัล โดยใช้แนวคิดด้านการสื่อสารเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • ดำรงศักดิ์ สัตบุตร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • กัญญรัตน์ หงส์วรนันท์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การพัฒนาแบบวัด, การสื่อสาร, ภัยไซเบอร์, ฟิชชิ่ง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างแบบวัดความเสี่ยงต่อการถูกล่อลวงบนสื่อดิจิทัล โดยใช้แนวคิดด้านการสื่อสารเป็นฐาน และ 2) เพื่อทดสอบคุณภาพแบบวัดความเสี่ยงต่อการถูกล่อลวงบนสื่อดิจิทัล
โดยใช้แนวคิดด้านการสื่อสารเป็นฐาน โดยทดสอบความตรงเชิงประจักษ์ ความตรงเชิงเนื้อหา ความตรงเชิงโครงสร้าง และความเชื่อมั่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ผู้รับสารกลุ่มดิจิทัลเนทีฟไทย จำนวน 400 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบวัดความเสี่ยงต่อการถูกล่อลวงบนสื่อดิจิทัล โดยใช้แนวคิดด้านการสื่อสารเป็นฐาน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากกระบวนการสร้างเครื่องมือวิจัย ประกอบไปด้วย 9 หมวด รวมทั้งสิ้น 36 ข้อคำถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .85

            ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาแบบวัดความเสี่ยงต่อการถูกล่อลวงบนสื่อดิจิทัล โดยใช้แนวคิดด้านการสื่อสารเป็นฐาน มีตัวแปรที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 9 ตัวแปร 2) คุณภาพแบบวัด ความตรงของแบบวัด ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .87 ความเชื่อมั่นของแบบวัดเท่ากับ .85 และมีความตรงเชิงโครงสร้าง ซึ่งตรวจสอบโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) สามารถจัดข้อคำถามที่มีความสัมพันธ์อยู่ในปัจจัยเดียวกันได้ 9 ปัจจัย ได้แก่ อ้างเป็นบุคคลสำคัญ การสร้างความน่าเชื่อถือ กระตุ้นความสนใจ กระตุ้นความต้องการ สร้างความคาดหวัง ความกลัว ความโลภ ความอยากรู้อยากเห็น และการตัดสินใจอย่างไม่มีเหตุผล

References

ไทยเซิร์ต (ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย). (2563). สถิติภัยคุกคาม 2563. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2564, จาก https://www.thaicert.or.th/statistics/statistics.html

พงศ์พนธ์ ภาวศุทธิ์. (2561). สาเหตุเชิงลึกของการถูกโจมตีด้วยวิธีการทางวิศวกรรมสังคม ของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2564, จาก

http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านICT/เทคโนโลยีในครัวเรือน/2562/Pocketbook_2562.pdf

สุดารัตน์ แสงแก้ว. (2558). การพัฒนาแบบวัดการเปิดเผยตัวตนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ (เฟสบุ๊ค). วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง. 8(2): 101-111.

Cybersecurity Ventures. (2018). Official Annual Cybercrime Report. Retrieved November 25, 2020, from https://www.herjavecgroup.com/wp-content/uploads/2018/12/CV-HG-2019-Official-Annual-Cybercrime-Report.pdf

Farnsworth, P. R. (1928). The Spearman-Brown prophecy formula and the Seashore tests. Journal of Educational Psychology, 19(8), 586-588.

Inter Telecommunication Union [ITU]. (2013). Measuring the information society. Geneva: . Retrieved November 25, 2020, from https://www.itu.int/en/ITU-D/Statistics/Documents/publications/anapub/Youth_2008.pdf

Jirojanakul, Pragai & Skevington, Suzanne. (2010). Developing a quality of life measure for children aged 5‐8 years. British Journal of Health Psychology. 5. 299-321.

Nunnally, J.C. and Bernstein, I.H. (1994) The Assessment of Reliability. Psychometric Theory, 3, 248-292.

Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1999). Nursing research: Principles and methods (6th ed.). Philadelphia: Lippincott.

The European Computer Security Incident Response Team Network. (2003). WP4 Clearinghouse Policy. Retrieved November 5, 2020, from http://www.ecsirt.net/cec/service/documents/wp4-clearinghouse-policy-v12.html

National statistics office thailand. (2562). The 2019 Household survey on the use of information and communication technology. Retrieved Octorber 8, 2020, from http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านICT/เทคโนโลยีในครัวเรือน/2562/ Pocketbook_2562.pdf

Pongpon Pawasut. (2561). An In-dept of the Social Engineering attarcks of generlation y in Bangkok and Metropolitan. Master of Science Program, Thammasat University.

Sudarat sangkaew. (2558). Scale Development of Self-Disclosure Through Online Social Network (Facebook). Industrial Technology Lampang Rajabhat University Journal. 8(2), 101-111.

Thaicert (Thailand Computer Emergency Response Team). (2563). Threat statistics 2563. Retrieved Octorber 8, 2020, from https://www.thaicert.or.th/statistics/statistics.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29