กลยุทธ์การสื่อสารสุขภาวะสำหรับเยาวชนในจังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • กฤชณัท แสนทวี วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การสื่อสารสุขภาพ, การส่งเสริมสุขภาพ, กลยุทธ์การสื่อสาร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารสุขภาวะและปัจจัยที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การสื่อสารสุขภาวะสำหรับเยาวชนในจังหวัดนครนายก ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างเยาวชน อายุ 15-19 ปี จำนวน 400 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลวิจัย พบว่า แบบจำลองกลยุทธ์การสื่อสารที่ดีที่สุดประกอบด้วย 1) ควรมีการสื่อสารแนวระนาบระหว่างกลุ่มเยาวชน เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน ในประเด็นสุขภาวะและปัญหาสุขภาพ 2) ควรสื่อสารให้เกิดความสามารถหรือศักยภาพในการดูแลสุขภาวะของตนเองให้แข็งแรงได้  โดยสามารถอธิบายประเด็นปัญหาสุขภาวะที่สำคัญของเยาวชน ได้ร้อยละ 21 โดยแบบจำลองที่ดีที่สุดในการพยากรณ์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกลยุทธ์การสื่อสารสุขภาวะสำหรับเยาวชน ประกอบด้วย 1) วัฒนธรรมของชุมชนและสังคมมีความเข้มแข็ง มีวิถีชีวิตที่ดี 2) ความอยู่ดีกินดี กินอาหารครบ 5 หมู่ 3) ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน โดยสามารถอธิบายกลยุทธ์การสื่อสารสุขภาวะสำหรับเยาวชน ได้ร้อยละ 44

References

กรมการปกครอง. (2560). จำนวนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามอายุ เพศ และจังหวัด พ.ศ. 2560. กระทรวงมหาดไทย.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง และนฤมล ตรีเพชรศรีอุไร. (2554). ความฉลาดทางสุขภาพ. กองสุขศึกษา, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กระทรวงสาธารณสุข.

ตรีชฎา หวังพิทักษ์. (2562). การสื่อสารการสร้างเสริมสุขภาวะของเว็บไซต์ไทยเฮลท์ในสื่อสังออนไลน์กับการ เปิดรับและการใช้ประโยชน์ของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ผู้จัดการออนไลน์. (2562). เปิด 10 ปัญหาสุขภาพน่าห่วงที่ต้องจับตาในปี 63. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2564, จาก https://mgronline.com/qol/detail/9620000120180.

ภัทรานิษฐ์ เหมาะทอง, วนิดา ทองโคตร และสุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์. (2560). การกำหนดขนาด ตัวอย่างโดยใช้สูตร Yamane. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2563, จากhttp://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images/Eventpic/60/Seminar/01_9_Yamane.pdf

เมธาวี จำเนียร และเมธี แก้วสนิท. (2561). การสื่อสารสุขภาพเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีของคนในชุมชน. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 4(2): 155-166.

รวีรัฐ รุ่งโรจน์. (2559). การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารระหว่างบุคคลโดยใช้โปรแกรมฝึกอบรมเชิงจิตวิทยา. HROD Journal, 8(1): 60-74.

วาสนา จันทร์สว่าง, นาตยา เกรียงชัยพฤกษ์, ยุทธพงษ์ ขวัญชื้น, วิทยา เทียนจวง, พงศ์พันธ์ อันตะริกานนท์ และนิทัศน์ ศิริโชติรัตน์. (2548). กระบวนการสื่อสารการรณรงค์ด้านสุขภาพ. รายงานการวิจัย, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สมัชชาสุขภาพเชียงใหม่ และสมัชชาพลเมืองเชียงใหม่. (2557). สานงานเสริมพลังปฏิรูปประเทศไทยให้เชียงใหม่เป็นมหานครแห่งสุขภาวะ. สรุปรายงานการประชุม. เชียงใหม่.

กระทรวงสาธารณสุข. (2560) .สถิติการคลอดของแม่วัยรุ่นในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด

Backer, T.E., Rogers, E.M. & Sopory, P. (1992). Designing Health Communication Campaigns: What Works? New York: Praeger Publishers.

Ratzan, S.C. (ed.). (1994). Health Communication, Challenges for the 21st Century: Special Issue. American Behavioral Scientist. 38(2).

United States Department of Health and Human Services. (2002). Prevention and Wellness. Retriered October 8, 2020, From https://en.wikipedia.org/wiki/United_States_Department_of_Health_and_Human_Services

Witte, K., Meyer, G., Bidol, H., Casey, M. (1996). Bringing order to chaos: Communication and health. Communication Studies, 47, 229-242.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29